วันพฤหัสบดีที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

วันศุกร์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ปฐมนิเทศน์นักศึกษาใหม่ แนวภาษามลายูและแนวมลายูศึกษา ปีการศึกษา 2553

วันที่ 3 มิถุนายน 2553 นักศึกษาทั้งแนวภาษามลายูและแนวมลายูศึกษาได้เข้าร่วมการปฐมนิเทศน์นักศึกษาใหม่ ในปีการศึกษา 2553 นี้มีนักศึกษาแนวมลายูศึกษาจำนวน 46 คน โดยมีอาจารย์ซาวาวี ปะดาอามีน เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา ส่วนนักศึกษาแนวภาษามลายูมีอาจารย์อับดุลเลาะห์ ขรีดาโอ๊ะเป็นอาจารย์ที่ปรึกษา

อาจารย์ซาวาวี กำลังให้ความรู้แก่นักศึกษาใหม่

นักศึกษาใหม่ได้รับความรู้การเรียนการสอนในมหาวิทยาลัย

อาจารย์ซาวาวี กำลังปฐมนิเทศน์นักศึกษาแนวภาษามลายูและแนวมลายูศึกษา

นักศึกษาแนวภาษามลายูและแนวมลายูศึกษาฟังการปฐมนิเทศน์

อาจารย์อับดุลเลาะห์ กำลังปฐมนิเทศน์นักศึกษาทั้งแนวภาษามลายูและแนวมลายูศึกษา

กำลังฟังด้วยความตั้งใจ

กำลังฟังเกี่ยวกับการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัย

ฟังแล้วเครียด !! ต้องขยันเรียนแล้วหละ ไม่งั้นต้องเก็บเสื้อผ้ากลับบ้านก่อน 4 ปี

ไม่เพียงมาจากสามจังหวัดชายแดนภาคใต้เท่านั้น มีทั้งมาจากจังหวัดสตูล จังหวัดสงขลาด้วย

วันพุธที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

มลายูศึกษา คือ อะไร

มลายูศึกษา คือ อะไร
หลายคนอาจมีข้อสงสัยว่า มลายูศึกษาคืออะไร ในที่นี้ขอนำบทความเกี่ยวกับมลายูศึกษาของภาควิชามลายูศึกษา มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ ประเทศสิงคโปร์ ซึ่งถือเป็นมหาวิทยาลัยแนวหน้าของโลก ที่ได้มีการอธิบายถึงกรอบของคำว่ามลายูศึกษา ซึ่งเผยแพร่อยู่ในเว็บไซต์ของภาควิชาดังกล่าวมาดังนี้

"We are a small but exciting Department with staff members and visiting fellows studying the peoples and cultures of the Malay world. We adopt a broad definition of the Malay world, referring to the Malay-Indonesian Archipelago consisting of Indonesia, Malaysia, Brunei, southern Thailand and the southern Philippines. It also includes areas with Malay minorities such as Singapore, and countries to which the Malay diaspora had spread such as Sri Lanka, Madagascar and South Africa. Our research and teaching programme revolves around three core areas: social development and political economy, literature and history"


และได้อธิบายถึงความเป็นมาของภาควิชามลายูศึกษาในมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ว่ามีความเป็นมาอย่างไร ดังปรากฎในเว็บไซต์ภาควิชามลายูศึกษาของมหาวิทยาลัยดังกล่าว ได้ดังต่อไปนี้

WHAT IS MALAY STUDIES?
"The Department of Malay Studies at the National University of Singapore produces undergraduate and graduate students of high quality with broad knowledge of the developments and problems in the Malay world of Southeast Asia and beyond. The department also actively engages in research on a wide range of issues concerning the Malay world from a multi-disciplinary perspective, promotes exchanges with centres of Malay studies worldwide, and encourages the development of new and alternative approaches to the understanding of Malay history, economy, politics, society and culture.

A department to promote Malay Studies was established at the University of Malaya, Singapore in the 1952/53 session on the recommendation of the Commission for University Education in Malaya. Za'ba (Zainal Abidin Ahmad) was the first head of department, followed later by Dr R. Roolvink. Following the independence of Malaya and the establishment of a separate University in Kuala Lumpur, the Department was transferred to Kuala Lumpur. Meanwhile, on January 1, 1962 the Singapore Division of the University of Malaya was re-established as the University of Singapore (renamed the National University of Singapore in 1980). On March 1, 1967, the Department of Malay Studies was re-established in Singapore with Prof Dr Syed Hussein Alatas as Head of Department.

The Department has always adopted a broad definition of the Malay world. This refers to the Malay-Indonesian Archipelago consisting of Indonesia, Malaysia, Brunei, southern Thailand and the southern Philippines. It also includes areas with Malay minorities such as Singapore, and countries to which the Malay diaspora had spread such as Sri Lanka, Madagascar and South Africa.

Currently, teaching and research in the Department revolves around three core areas: social development and political economy, history and literature/linguistics. In each of these core areas, attention is also paid to Islam in terms of its historical development in the Malay world, its interaction with social and political processes, and its various intellectual and literary expressions.

Students in the Department are exposed to the various aspects of Malay world not only through the teaching programme and the research activities of the academic staff, but also through intensive study tours that take students to the region and beyond.

The Department's program is an integral part of the arts degree offered by the Faculty of Arts and the Social Sciences, where students combine Malay Studies with other programs and subjects of studies according to their choice. In view of this, in general the career prospects of Malay Studies students are equal to other students. Nevertheless, students of Malay Studies enjoy particular advantage in careers requiring an intimate and in depth understanding of the Malay/Muslim world of Southeast Asia, be it in the private or public sector. To boot, students of Malay Studies would also be in a good position to appreciate the dynamics of Muslim societies beyond the region.

Our graduates have gone on to careers in a wide range of areas including the corporate sector, foreign and civil service, journalism, translation, communications and education."


จากข้อความดังต้นจะเห็นได้ว่า ภาควิชามลายูศึกษาจัดตั้งขึ้นครั้งแรกในมหาวิทยาลัยมาลายา วิทยาเขตสิงคโปร์ (มหาวิทยาลัยมาลายามี 2 วิทยาเขต คือสิงคโปร์ และกัวลาลัมเปอร์) เมื่อมีการแยกมหาวิทยาลัยทั้ง 2 วิทยาเขตเป็นอิสระต่อกัน มหาวิทยาลัยมาลายา ในสิงคโปร์จึงเปลี่ยนชื่อเป็นมหาวิทยาลัยสิงคโปร์ ส่วนมหาวิทยาลัยมาลายาในกัวลาลัมเปอร์ คงใช้ชื่อเดิม และภาควิชามลายูศึกษาที่ตั้งอยู่ที่สิงคโปร์จึงโอนย้ายไปยังมหาวิทยาลัยมาลายา กัวลาลัมเปอร์ ต่อมามีการจัดตั้งภาควิชามลายูศึกษาขึ้นมาใหม่ในมหาวิทยาลัยสิงคโปร์ ซึ่งต่อมามหาวิทยาลัยนี้ได้เปลี่ยนชื่อเป็นมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ ความสัมพันธ์ระหว่างมหาวิทยาลัยมาลายากับมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์นั้น มีการร่วมงานที่เป็นความสัมพันธ์ทั้งทางวิชาการ วัฒนธรรม และการกีฬามาตลอด แม้แต่ปัจจุบัน รศ. ดร. ชาฮารุดดิน มาอารุฟ อดีตหัวหน้าภาควิชามลายูศึกษาแห่งมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์เอง ก็ประจำอยู่ที่สถาบันมลายูศึกษาในมหาวิทยาลัยมาลายา สำหรับนักวิชาการมลายูศึกษาในประเทศไทยเอง ส่วนใหญ่ก็ได้รับการศึกษาจากมหาวิทยาลัยมาลายา ประเทศมาเลเซีย

การวิวัฒนาการของมหาวิทยาลัยมาลายา และมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์

วันอาทิตย์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ประเทศมาเลเซีย

ข้อมูลทั่วไปของประเทศมาเลเซีย

ธงชาติของประเทศมาเลเซีย

แผนที่ประเทศมาเลเซีย

ที่ตั้ง ตั้งอยู่ในเขตเส้นศูนย์สูตร ประกอบด้วยดินแดนสองส่วน คือ มาเลเซียตะวันตก ตั้งอยู่บนคาบสมุทรมลายู ประกอบด้วย 11 รัฐ คือ ปะหัง สลังงอร์ เนกรีเซมบิลัน มะละกา ยะโฮร์ เประ กลันตัน ตรังกานู ปีนัง เกดะห์ และปะลิส มาเลเซียตะวันออก ตั้งอยู่บนเกาะบอร์เนียว (กาลิมันตัน) ประกอบด้วย 2 รัฐ คือ ซาบาห์ และ ซาราวัก นอกจากนี้ยังมีเขตการปกครองภายใต้สหพันธรัฐ อีก 3 เขต คือ กรุงกัวลาลัมเปอร์ (เมือหลวง) เมืองปุตราจายา (เมืองราชการ) และเกาะลาบวน

พื้นที่ 329,758 ตารางกิโลเมตร ( ประมาณ 64% ของไทย)

เมืองหลวง กรุงกัวลาลัมเปอร์

ประชากร 28.3 ล้านคน

ภาษาราชการ มาเลย์

ศาสนา อิสลาม (60%) พุทธ (19%) คริสต์ (12%)

การเมืองการปกครอง
ประมุข สมเด็จพระราชาธิบดีอัลวาทิก ตวนกู มิซาน ไซนัล อาบีดีน อิบนี อัลมาร์ฮูม สุลต่านมะห์มูด อัลมุกตาฟี บิลลาห์ ชาห์ สมเด็จพระราชาธิบดีองค์ที่ 13 (His Majesty Al-Wathiqu Billah Tuanku Mizan Zainal Abidin ibni Al-Marhum Sultan Mahmud Al-Muktafi Billah Shah)

ผู้นำรัฐบาล ดาโต๊ะ ซรี มูห์ฮัมหมัด นาจิบ บิน ตุน อับดุล ราซัก (Dato’ Sri Mohd Najib bin Tun Abdul Razak)

รัฐมนตรีต่างประเทศ ดาโต๊ะ ซรี อานิฟาห์ บิน ฮัจญี อามาน (Dato’ Sri Anifah bin Haji Aman)

ระบอบการปกครอง สหพันธรัฐ โดยมีสมเด็จพระราชาธิบดี (Yang di-Pertuan Agong) เป็นประมุข ซึ่งมาจากการเลือกตั้งจากเจ้าผู้ปกครองรัฐ 9 แห่ง (ยะโฮร์ ตรังกานู ปะหัง สลังงอร์ เกดะห์ กลันตัน เนกรีเซมบิลัน เประ และ ปะลิส) และผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันขึ้นดำรงตำแหน่ง วาระละ 5 ปี โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาลสหพันธรัฐ และมุขมนตรีแห่งรัฐ (Menteri Besar ในกรณีที่มีเจ้าผู้ปกครองรัฐ หรือ Chief Minister ในกรณีที่ไม่มีเจ้าผู้ปกครองรัฐ) เป็นหัวหน้ารัฐบาลแห่งรัฐ

เขตการปกครอง มาเลเซียแบ่งเขตการปกครองเป็น 13 รัฐ ได้แก่ ยะโฮร์ ตรังกานู ปะหัง สลังงอร์ เกดะห์ กลันตัน เนกรีเซมบิลัน เประ ปะลิส มะละกา ปีนัง ซาบาห์ และซาราวัก และ 3 ดินแดนสหพันธ์ ได้แก่ กัวลาลัมเปอร์ ปุตราจายา และเกาะลาบวน

วันชาติ 31 สิงหาคม

วันสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับไทย 31 สิงหาคม พ.ศ. 2500


เศรษฐกิจการค้า
หน่วยเงินตรา ริงกิต (1 ริงกิตประมาณ 10.22 บาท )

ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ 196 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณการ ปี 2552)

รายได้ประชาชาติต่อหัว 6,919 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณการ ปี 2552)

การขยายตัวทางเศรษฐกิจ ลดลง ร้อยละ 2.4 (ประมาณการ ปี 2552)

สินค้านำเข้าสำคัญ ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องจักรและอุปกรณ์ เคมีภัณฑ์ อุปกรณ์ด้านการขนส่ง ผลิตภัณฑ์โลหะ

สินค้าส่งออกสำคัญ ผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ น้ำมันปาล์ม เคมีภัณฑ์ ก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) น้ำมันดิบ

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับมาเลเซีย
ความสัมพันธ์ทวิภาคีระหว่างไทยกับมาเลเซีย

ภาพรวมความสัมพันธ์ทั่วไป

ไทยสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับมาเลเซียเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2500 และมีสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ เอกอัครราชทูต ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ คนปัจจุบันคือ นายธนะ ดวงรัตน์ ซึ่งเข้ารับตำแหน่งเมื่อเดือนมิถุนายน 2552 นอกจากนี้ ไทยยังมี สถานกงสุลใหญ่ในมาเลเซีย 2 แห่ง ได้แก่ สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองปีนัง และสถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองโกตาบารู และมีสถานกงสุลกิตติมศักดิ์ไทยประจำเกาะลังกาวี ซึ่งมีดาโต๊ะ ชาซรีล เอสเคย์ บิน อับดุลลาห์ เป็นกงสุลกิตติมศักดิ์ไทยประจำเกาะลังกาวี สำหรับส่วนราชการและหน่วยงานต่าง ๆ ของไทย ซึ่งตั้งสำนักงานในมาเลเซียได้แก่ สำนักงานผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารทั้งสามเหล่าทัพ สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ สำนักงานแรงงาน และสำนักงานประสานงานตำรวจ สำนักงาน การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย บริษัทการบินไทย ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) มาเลเซีย

มาเลเซียมีสถานเอกอัครราชทูตมาเลเซียประจำประเทศไทย เอกอัครราชทูตมาเลเซียคนปัจจุบันคือ ดาโต๊ะ ฮุสนี ไซ บิน ยาโคบ (Dato'Husni Zai bin Yaacob) และมีสถานกงสุลใหญ่มาเลเซียประจำจังหวัดสงขลา

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับมาเลเซียแบ่งออกเป็น 2 ด้านหลัก ได้แก่ (1) การดำเนินความร่วมมือภายใต้กลไกต่าง ๆ ที่มีอยู่ อาทิ คณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีระหว่างไทยกับมาเลเซีย (Joint Commission -JC) คณะกรรมการว่าด้วยยุทธศาสตร์การพัฒนาร่วมสำหรับพื้นที่ชายแดน (Joint Development Strategy -JDS) คณะกรรมการด้านความมั่นคง ได้แก่ คณะกรรมการชายแดนทั่วไป (General Border Committee : GBC) คณะกรรมการระดับสูง (High Level Committee : HLC) และคณะกรรมการชายแดนส่วนภูมิภาค (Regional Border Committee : RBC) ซึ่งทั้ง 3 ระดับเป็นกรอบความร่วมมือของฝ่ายทหารเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารด้านความมั่นคง และความร่วมมือชายแดน คณะกรรมการด้านความมั่นคงกรอบอื่น ๆ เฉพาะเรื่อง อาทิ คณะกรรมการร่วมด้านการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด และความสัมพันธ์ระหว่างประชาชน ผ่านทางสมาคมไทย-มาเลเซียและสมาคมมาเลเซีย- ไทย รวมทั้ง กรอบ Indonesia-Malaysia-Thailand Growth Triangle (IMT-GT) และอาเซียน และ (2) ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งประกอบด้วยการเสริมสร้างความมั่นคงในพื้นที่ชายแดนร่วมกัน การร่วมกันพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ชายแดนของทั้งสองประเทศและการเสริมสร้างมาตรการสร้างความไว้วางใจ (Confidence Building Measures) บนพื้นฐานของกรอบ 3Es ได้แก่ การศึกษา (Education) การจ้างงาน (Employment) และการประกอบกิจการ (Entrepreneurship)

ความสัมพันธ์ด้านการเมือง

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับมาเลเซียมีพลวัตรและได้พัฒนาจากการมีความสัมพันธ์อันดี เป็นการมีความไว้เนื้อเชื่อใจและตั้งอยู่บนผลประโยชน์ร่วมกัน โดยทั้งสองฝ่ายตระหนักถึงการมี "ชะตากรรม" ร่วมกัน ทั้งนี้ ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับมาเลเซียปรับเปลี่ยนตามบริบทของการเปลี่ยนแปลงทางสถานการณ์การเมืองระหว่างประเทศในแต่ละยุคสมัย

กลไกความสัมพันธ์ทวิภาคีที่สำคัญ ได้แก่ (1) การประชุมหารือประจำปี ระหว่างนายกรัฐมนตรีและนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย (Annual Consultation) ล่าสุดไทยเป็นเจ้าภาพการประชุมหารือประจำปี ครั้งที่ 4 เมื่อวันที่ 8 - 9 ธันวาคม 2552 (2) คณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคี (Joint Commission - JC) มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของทั้งสองฝ่ายเป็นประธานร่วม มาเลเซียได้เป็นเจ้าภาพการประชุม JC ครั้งที่ 11 เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2552 ที่เมืองโกตากินาบาลู รัฐซาบาห์ และ (3) คณะกรรมการว่าด้วยยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่ร่วมสำหรับพื้นที่ชายแดน (Joint Development Strategy for border areas - JDS) มาเลเซียเป็นเจ้าภาพการประชุม JDS ระดับรัฐมนตรี ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2552 ที่เมืองโกตากินาบาลู รัฐซาบาห์

ความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจ
การค้า

มาเลเซียเป็นคู้ค้าอันดับที่ 4 ของไทย ในขณะที่ไทยเป็นคู้ค้าอันดับที่ 5 ของมาเลเซีย ในปี 2552 การค้าระหว่างกันมีมูลค่า 16,239 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งลดลงจากปี2551 ร้อยละ 17.3 ไทยส่งออกไปมาเลเซียมูลค่า 7,664 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และนำเข้าจากมาเลเซียมูลค่า 8,575.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไทยเสียเปรียบดุลการค้า 912 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

สินค้าส่งออกของไทยไปมาเลเซีย ได้แก่ คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ยางพารา น้ำมันสำเร็จรูป แผงวงจรไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์ยาง เคมีภัณฑ์ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ มอเตอร์และเครื่องกำเนิดไฟฟ้า สินค้าที่ไทยนำเข้าจากมาเลเซียประกอบด้วย เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ น้ำมันดิบ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ สื่อบันทึกข้อมูล ภาพและเสียง เคมีภัณฑ์แผงวงจรไฟฟ้า เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เครื่องใช้เบ็ดเตล็ด เครื่องมือเครื่องใช้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ น้ำมันสำเร็จรูป

การลงทุน

ในปี 2552 มาเลเซียได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน จำนวน 25 โครงการ จาก 37 โครงการ โดยโครงการที่ยื่นขอส่วนใหญ่เป็นประเภทในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ ภาคบริการ และภาคการเกษตร มูลค่า 6,389 ล้านบาท ในปี 2551 Malaysian Industrial Development Authority - MIDA อนุมัติการส่งเสริมโครงการลงทุนจากไทยในมาเลเซียจำนวน 6 โครงการ ในมูลค่า 144.6 ล้านริงกิต หรือประมาณ 1.4 พันล้านบาท

การท่องเที่ยว

ในปี 2552 มีนักท่องเที่ยวจากมาเลเซียเดินทางมาประเทศไทยมากเป็นอันดับหนึ่ง ในช่วงเดือนมกราคม - พฤศจิกายน 2552 มีนักท่องเที่ยวจากมาเลเซียมาไทย 1.52 ล้านคน ซึ่งลดลงจากปี 2551 ร้อยละ 5.7 %

ในปี 2552 มีนักท่องเที่ยวไทยไปมาเลเซียมากเป็นอันดับสามรองจากนักท่องเที่ยวสิงคโปร์ และอินโดนีเซีย จำนวน 1.45 ล้านคน ลดลงจากปี 2551 ร้อยละ 3%

ความสัมพันธ์ด้านต่างประเทศ

การเยือนที่สำคัญ ฝ่ายไทย

พระราชวงศ์

วันที่ 20 - 27 มิถุนายน 2505
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ เยือนสหพันธ์มลายาอย่างเป็นทางการ

วันที่ 25 เมษายน 2547
สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯ เยือนรัฐ กลันตันอย่างเป็นทางการตามคำกราบบังคมทูลเชิญของสุลต่านแห่งรัฐกลันตัน เพื่อทรงร่วมเสวยพระกระยาหารค่ำในวโรกาสที่สุลต่านแห่งรัฐกลันตันทรงครองราชย์ครบ 25 ปี

วันที่ 15 พฤศจิกายน 2547
สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯ เยือนรัฐกลันตัน เพื่อทรงร่วมงานเลี้ยงพระกระยาหารค่ำ ในวโรกาสพิธีอภิเษกสมรสของมกุฎราชกุมารรัฐกลันตัน กับนางสาวกังสดาล พิพิธภักดี (สตรีไทยซึ่งมีภูมิลำเนาที่ จ.ปัตตานี)

วันที่ 7 - 12 กรกฎาคม 2529
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จฯ เยือนมาเลเซียอย่างเป็นทางการตามคำทูลเชิญของสมเด็จพระราชาธิบดีองค์ที่ 8 แห่งมาเลเซีย

วันที่ 30 สิงหาคม - 1 กันยายน 2550
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จฯ แทนพระองค์ไปทรงร่วมงานฉลองเอกราช 50 ปี ของมาเลเซีย ตามคำกราบบังคมทูลเชิญของสมเด็จพระราชาธิบดีองค์ที่ 13 แห่งมาเลเซีย

วันที่ 6 -12 พฤษภาคม 2526
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยในการประชุมสภากาชาด-สมาชิกวงเดือนแดง กลุ่มประเทศอาเซียน ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ โดยทรงเป็นอาคันตุกะของรัฐบาลมาเลเซีย

วันที่ 11 - 15 เมษายน 2537
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ เยือนมาเลเซียอย่างเป็นทางการ

วันที่ 17 - 19 มีนาคม 2540
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ เยือนมาเลเซียเพื่อทอดพระเนตรโครงการเกษตรในพื้นที่สูง ที่คาเมรอนไฮแลนด์

วันที่ 8 -11 กรกฎาคม 2544
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี

วันที่ 8 กันยายน 2544
สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

รัฐบาล

วันที่ 18 ตุลาคม 2549
พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี เยือนมาเลเซียอย่างเป็นทางการ

วันที่ 23 -24 เมษายน 2551
นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี เยือนมาเลเซียอย่างเป็นทางการ

วันที่ 8 มิถุนายน 2552
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เยือนมาเลเซียอย่างเป็นทางการ

การเยือนที่สำคัญ ฝ่ายมาเลเซีย

พระราชวงศ์

วันที่ 24 กุมภาพันธ์ - 3 มีนาคม 2507
สมเด็จพระราชาธิบดีองค์ที่ 3 และสมเด็จพระราชินี เสด็จฯ เยือนไทย ในฐานะพระราชอาคันตุกะของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ

วันที่ 1 -8 กุมภาพันธ์ 2516
สมเด็จพระราชาธิบดีองค์ที่ 5 และสมเด็จพระราชินี เสด็จฯ เยือนไทย ในฐานะพระราชอาคันตุกะของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ

วันที่ 17 - 21 ธันวาคม 2528
สมเด็จพระราชาธิบดีองค์ที่ 8 และสมเด็จพระราชินี เสด็จฯ เยือนไทย ในฐานะพระราชอาคันตุกะของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ

วันที่ 17 - 21 ธันวาคม 2533
สมเด็จพระราชาธิบดีองค์ที่ 9 และสมเด็จพระราชินี เสด็จฯ เยือนไทยอย่างเป็นทางการ ในฐานะพระราชอาคันตุกะของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ

วันที่ 27 - 30 มีนาคม 2543
สมเด็จพระราชาธิบดีองค์ที่ 11 และสมเด็จพระราชินี เสด็จฯ เยือนไทยอย่างเป็นทางการ ในฐานะพระราชอาคันตุกะของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ

วันที่ 11 - 14 มิถุนายน 2549
สมเด็จพระราชาธิบดีองค์ที่ 12 และสมเด็จพระราชินี เสด็จฯ เยือนไทย เพื่อทรงร่วมงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

วันที่ 9 - 12 มีนาคม 2552
สมเด็จพระราชาธิบดีองค์ที่ 13 และสมเด็จพระราชินี เสด็จฯ เยือนไทยอย่างเป็นทางการ ในฐานะพระราชอาคันตุกะของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ

รัฐบาล

วันที่ 16 มกราคม 2547
ดาโต๊ะ ซรี อับดุลลาห์ อาหมัด บาดาวี นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย เยือนไทยอย่างเป็นทางการในโอกาสเข้ารับตำแหน่ง

วันที่ 13 - 14 ตุลาคม 2547
ดาโต๊ะ ซรี อับดุลลาห์ อาหมัด บาดาวี นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย เยือนไทยเพื่อร่วมการประชุมหารือประจำปี (Annual Consultation) ครั้งที่ 2 ที่จังหวัดภูเก็ต และเป็นประธานร่วมในพิธีวางศิลาฤกษ์โครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำ โก-ลก แห่งที่ 2 ระหว่างบ้านบูเก๊ะตา จังหวัดนราธิวาส กับบูกิตบุหงา รัฐกลันตัน

วันที่ 11 - 13 กุมภาพันธ์ 2550
ดาโต๊ะ ซรี อับดุลลาห์ อาหมัด บาดาวี นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย เดินทางเยือนไทยอย่างเป็นทางการในฐานะแขกของรัฐบาล

วันที่ 7 - 9 ธันวาคม 2552
ดาโต๊ะ ซรี มูห์ฮัมหมัด นาจิบ บิน ตุน อับดุล ราซัก นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย เยือนไทยอย่างเป็นทางการเพื่อเข้าร่วมการประชุมหารือประจำปี (Annual Consultation) ครั้งที่ 4

ข้อมูลจาก กระทรวงต่างประเทศ

ประเทศอินโดเนเซีย

ข้อมูลทั่วไปของประเทศอินโดเนเซีย
ธงชาติประเทศอินโดเนเซีย

แผนที่ประเทศอินโดเนเซีย

ที่ตั้ง ทิศเหนือติดกับทะเลจีนใต้และมหาสมุทรแปซิฟิก ทิศตะวันตกเฉียงใต้ติดกับมหาสมุทรอินเดีย ทิศตะวันออกติดกับติมอร์-เลสเต และปาปัวนิวกินี และทิศใต้ติดกับทะเลติมอร์
พื้นที่ 5,193,250 ตารางกิโลเมตร (ประมาณ 10 เท่าของไทย)
เมืองหลวง กรุงจาการ์ตา
ประชากร 240.3 ล้านคน (2552)
ภาษาราชการ อินโดนีเซีย หรือ Bahasa Indonesia
ศาสนา อิสลามร้อยละ 85.2 คริสต์นิกายโปรแตสแตนร้อยละ 8.9 คริสต์นิกายโรมันคาทอลิกร้อยละ 3 ฮินดูร้อยละ 1.8 พุทธร้อยละ 0.8 และศาสนาอื่น ๆ ร้อยละ 0.3

การเมืองการปกครอง

ประมุข ประธานาธิบดีคนปัจจุบัน คือ ดร. ซูซิโล บัมบัง ยูโดโยโน
ผู้นำรัฐบาล (Dr. Susilo Bambang Yudhoyono) ดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2552
รัฐมนตรีต่างประเทศ ดร. อาร์ เอ็ม มาร์ตี้ มูเลียนา นาตาเลกาวา
(Dr. R. M. Marty Muliana Natalegawa)
ระบอบการปกครอง ระบอบสาธารณรัฐแบบประชาธิปไตย มีประธานาธิบดีเป็นประมุข และหัวหน้าฝ่ายบริหาร (ดำรงตำแหน่งวาระละ 5 ปี การเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งล่าสุดมีขึ้นเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2552
เขตการปกครอง 30 จังหวัด และเขตการปกครองพิเศษ 3 เขต ได้แก่ กรุงจาการ์ตา เมืองยอกยาการ์ตา และจังหวัดอาเจห์
วันชาติ 17 สิงหาคม
วันสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับไทย 7 มีนาคม 2493

เศรษฐกิจการค้า

หน่วยเงินตรา รูเปียห์ (10,000 รูเปียห์ ประมาณ 38 บาท)
ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ 510.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
รายได้ประชาชาติต่อหัว 3,830 ดอลลาร์สหรัฐ
การขยายตัวทางเศรษฐกิจ ร้อยละ 4.5 (2552)
สินค้านำเข้าสำคัญ น้ำมัน เหล็ก ท่อเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก สิ่งทอ
เคมีภัณฑ์
สินค้าส่งออกสำคัญ ก๊าซธรรมชาติ แร่ธาตุ ถ่านหิน ผลิตภัณฑ์จากไม้
สิ่งทอ


ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสาธารณรัฐอินโดนีเซีย
1.ภาพรวมความสัมพันธ์ทั่วไป
ไทยสถาปนาความสัมพันธ์กับอินโดนีเซียเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2493 โดยจะฉลองครบรอบ 60 ปีของการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตในปี 2553
2.ความสัมพันธ์ด้านการเมือง
อินโดนีเซียเป็นพันธมิตรที่สำคัญของไทยทั้งในกรอบอาเซียนและในเวทีระหว่างประเทศอื่น ๆ และการที่อินโดนีเซียเป็นประเทศที่มีจำนวนประชากรมุสลิมมากที่สุดในโลก ท่าทีของอินโดนีเซียเกี่ยวกับปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (จชต.) ย่อมมีผลต่อท่าทีของประเทศมุสลิมโดยเฉพาะในกรอบ OIC ซึ่งที่ผ่านมา อินโดนีเซียให้ความร่วมมือที่ดี นอกจากนี้ มีความร่วมมือในการส่งเสริมด้านการศึกษาและมุสลิมสายกลาง (ระหว่างศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) และ Nadhalatul Ulama (NU) และ Muhammadiyah) ในรูปทุนการศึกษาจำนวนประมาณ 200 ทุน แก่นักศึกษาไทย จชต. ในสาขาต่าง ๆ ที่ไม่ใช่ด้านศาสนา
3.ความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจ
3.1 การค้า
อินโดนีเซียเป็นคู่ค้าอันดับที่ 3 ของไทยในอาเซียน (รองจากมาเลเซียและสิงคโปร์) และเป็นคู่ค้าอันดับที่ 9 ของไทยในโลก ในปี 2552 มูลค่าการค้ารวม 8,468 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 27.84 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2551 โดยไทยได้เปรียบดุลการค้า 867 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สินค้าส่งออกของไทย ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ น้ำตาลทราย เคมีภัณฑ์ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่อง เครื่องยนต์สันดาบภายในแบบลูกสูบ สินค้านำเข้าจากอินโดนีเซีย ได้แก่ ถ่านหิน น้ำมันดิบ สินแร่โลหะอื่น ๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์ เครื่องจักรกล และส่วนประกอบ เคมีภัณฑ์
3.2การลงทุน
มูลค่าการลงทุนของไทยในอินโดนีเซียตั้งแต่ปี 2519 - ปัจจุบันมีมูลค่ากว่า 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ จัดอยู่ในอันดับที่ 10 ของประเทศ ที่เข้าไปลงทุนในอินโดนีเซีย ไทยมีมูลค่าการลงทุนในอินโดนีเซียรวม 328.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (2551 - กุมภาพันธ์ 2552) ทั้งนี้ การลงทุนของไทยส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในอุตสาหกรรมประมง การเลี้ยงไก่ การเพาะเลี้ยงกุ้ง อาหารสัตว์ ผลิตยิปซั่ม กระเบื้อง มุงหลังคา/ปูพื้น ปิโตรเคมี เหมืองแร่ และถ่านหิน โดยบริษัทไทยขนาดใหญ่ที่เข้าไปลงทุน อาทิ เครือเจริญโภคภัณฑ์ เหมืองบ้านปู เครือซิเมนต์ไทย ธนาคารกรุงเทพฯ ลานนาลิกไนต์ และ ปตท. ส่วนอินโดนีเซียมีมูลค่าการลงทุนในไทยในปี 2551 รวม 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
3.3การท่องเที่ยว
ในช่วงเดือนมกราคม – ตุลาคม 2552 มีนักท่องเที่ยวเดินทางมาไทย 187,412 คน ขณะที่นักท่องเที่ยวจากไทยไปอินโดนีเซีย 28,814 คน (2550)
3.4ประมง
อินโดนีเซียเป็นแหล่งประมงสำคัญของไทย แต่การเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบด้านการประมงและนโยบายปกป้องรักษาทรัพยากรธรรมชาติทางทะเล ทำให้ทางการอินโดนีเซียเพิ่มความเข้มงวดในการปราบปรามเรือประมงต่างชาติผิดกฎหมาย และปรับปรุงกฎระเบียบประมงล่าสุด เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2552 กลไกสำคัญสำหรับความร่วมมือด้านประมงไทย-อินโดนีเซีย ได้แก่ คณะอนุกรรมการว่าด้วยความร่วมมือทางการประมงไทย-อินโดนีเซีย (JC Sub-Committee on Fisheries Cooperation) ซึ่งไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมครั้งที่ 7 ในปี 2553 และการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสเพื่อหารือทางเทคนิคด้านประมงระหว่างไทย - อินโดนีเซีย (Senior Technical Consultation Meeting) ซึ่งอินโดนีเซียจะเป็นเจ้าภาพการประชุม ครั้งที่ 2 ในปี 2553 นอกจากนี้ สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงจาการ์ตา ได้จัดตั้งศูนย์แก้ไขปัญหาการประมงผิดกฎหมายของไทยในอินโดนีเซีย เพื่อเป็นการให้ความช่วยเหลือและคุ้มครองกรณีเรือประมง และลูกเรือประมงของไทยถูกจับกุม และเป็นการส่งเสริมการทำการประมงอย่างถูกกฎหมายของอินโดนีเซีย ในขณะเดียวกัน สถานเอกอัครราชทูตอินโดนีเซียประจำประเทศไทยได้ตั้ง Task Force on Fisheries เพื่อเป็นหน่วยงานรวบรวมและเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการทำประมงของไทยในอินโดนีเซีย การแก้ไขปัญหาประมงของภาคเอกชนไทยในอินโดนีเซีย และรับรองเอกสาร (endorse) การแปลงสัญชาติเรือประมงไทยเป็นเรือประมงอินโดนีเซีย โดยการประสานงานกับกรมเจ้าท่า
3.5 พลังงาน
อินโดนีเซียมีทรัพยากรปิโตรเลียมอุดมสมบูรณ์ กระทรวงพลังงานไทยและอินโดนีเซียมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน โดยเฉพาะความร่วมมือด้านน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ และถ่านหิน โดยมีการประชุม Energy Forum เป็นกลไกความร่วมมือที่สำคัญ ซึ่งมีการประชุม ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 11 - 12 กรกฎาคม 2551 ทั้งนี้ อินโดนีเซียเสนอที่จะจัดการประชุมครั้งที่ 2 ในช่วงกลางปี 2553
4. ความสัมพันธ์ด้านต่างประเทศ
4.1 การเยือนที่สำคัญ
การเยือนระดับสูงที่สำคัญในปี 2552 คือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (นายกษิต ภิรมย์) เมื่อวันที่ 10 - 11 กุมภาพันธ์ การเยือนของนายกรัฐมนตรี (นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ) เมื่อวันที่ 20 - 21 กุมภาพันธ์ 2552 นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรีให้เป็นผู้แทนพิเศษเข้าร่วมพิธีสาบานตน เข้ารับตำแหน่งใหม่ของประธานาธิบดีอินโดนีเซีย เมื่อวันที่ 19 - 20 ตุลาคม 2552 สำหรับฝ่ายอินโดนีเซีย ประธานาธิบดีมาเข้าร่วมประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 ที่หัวหิน ชะอำ เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ – 1 มีนาคม 2552 และการประชุมสุดยอดกับคู่เจรจา (+3 และ +6) พัทยา และการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 15 ที่หัวหิน เมื่อวันที่ 23 - 25 ตุลาคม 2552 รวมทั้ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอินโดนีเซียเยือนไทย เพื่อแนะนำตัวในโอกาสเข้ารับตำแหน่งใหม่ เมื่อวันที่ 26 – 27 พฤศจิกายน 2552
4.2การประชุมที่สำคัญ
มีกลไกความร่วมมือ 2 กรอบ ได้แก่ การประชุมคณะกรรมาธิการร่วม (JC) ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นประธานร่วม ซึ่งอินโดนีเซียเป็นเจ้าภาพการประชุม ครั้งที่ 7 ในปี 2553 และการประชุมคณะกรรมการระดับสูง (High Level Committee-HLC) โดยมี ผู้บัญชาการทหารสูงสุดของทั้งสองฝ่ายเป็นประธานร่วม ซึ่งอินโดนีเซียจะเป็นเจ้าภาพการประชุม ครั้งที่ 4 ในปี 2553

ความตกลงระหว่างไทย-อินโดนีเซีย
1.สนธิสัญญาทางไมตรี ลงนามเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2497
2.ความตกลงว่าด้วยการแบ่งเขตไหล่ทวีปในตอนเหนือของช่องแคบมะละกาและในทะเลอันดามัน ลงนามเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2514
3.สนธิสัญญาว่าด้วยการส่งผู้ร้ายข้ามแดน ลงนามเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2519
4.ความตกลงว่าด้วยการยกเว้นการเก็บภาษีซ้อน ลงนามเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2524
5.ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านป่าไม้ ลงนามเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2527
6.บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านถ่านหิน ลงนามเมื่อวันที่ 12 มกราคม 2533
7.บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ การวิจัย และเทคโนโลยี ลงนามเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2533
8.ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการ ลงนามเมื่อวันที่ 18 มกราคม 2535
9.ความตกลงว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุน ลงนามเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2541
10.บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว ลงนามเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2546
11.ความตกลงด้านวัฒนธรรม ลงนามเมื่อวันที่ 17 มกราคม 2545
12.ความตกลงว่าด้วยการบริการทางอากาศ ลงนามเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2510 และปรับปรุงแก้ไขปี 2547
13.บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการลงทุน ลงนามเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2547
14.บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการ เกษตร ลงนามเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2548

4.เรื่องอื่น ๆ
ความสัมพันธ์ด้านสังคมและวัฒนธรรม มีกิจกรรมส่งเสริมความร่วมมือทางวัฒนธรรมระหว่างกันอย่างเป็นรูปธรรมและสม่ำเสมอ อาทิ การอัญเชิญผ้าพระกฐินพระราชทาน ไปถอดถวายยังวัดไทยในอินโดนีเซีย การจัดงาน Wonderful Thailand ของสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงจาการ์ตา การดำเนินโครงการ 100 ปี อังกะลุงสยาม: สานสัมพันธ์ไทย-อินโดนีเซีย การสถาปนาความสัมพันธ์บ้านพี่เมืองน้องระหว่างกัน รวมทั้ง กิจกรรมเฉลิมฉลองครบรอบ 60 ปี การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยกับอินโดนีเซียในปี 2553
นอกจากนี้ ไทยได้ให้ความช่วยเหลือทางด้านมนุษยธรรมในกรณีที่อินโดนีเซียประสบภัยพิบัติในหลายโอกาส ล่าสุด เมื่อวันที่ 30 กันยายน และ 1 ตุลาคม 2552 กรณีเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เกาะสุมาตรา รัฐบาลไทยให้ความช่วยเหลือในรูปยาและเวชภัณฑ์ มูลค่า 5 ล้านบาท และกองทัพไทยและภาคเอกชนบริจาคสิ่งของบรรเทาทุกข์มูลค่า 600,000 บาท รวม 560,000 บาท (ประมาณ 170,000 ดอลลาร์สหรัฐ)
ในส่วนของความร่วมมือด้านวิชาการ ไทยส่งเสริมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในจังหวัดอาเจห์ โดยมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงดำเนินโครงการ ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศ โดยสำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ (สพร.) ให้การสนับสนุนงบประมาณ นอกจากนี้ อินโดนีเซียจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมคณะกรรมการร่วมด้านวิชาการไทย-อินโดนีเซีย ครั้งที่ 3 ในปี 2553

ข้อมูลจาก กระทรวงต่างประเทศ

ประเทศฟิลิปปินส์

ข้อมูลทั่วไปของประเทศฟิลิปปินส์
ธงชาติประเทศฟิลิปปินส์

แผนที่ประเทศฟิลิปปินส์


ที่ตั้ง
ทิศตะวันตกและทิศเหนือติดกับทะเลจีนใต้ ทิศตะวันออกและทิศใต้ติดกับมหาสมุทรแปซิฟิก พื้นที่ ๒๙๘,๑๗๐ ตารางกิโลเมตร (ประมาณ ๓ ใน ๕ ของประเทศไทย) ประกอบด้วย ๗,๑๐๗ เกาะ ชายฝั่งทะเลยาว ๓๔,๖๐๐ กิโลเมตร อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ ๑,๘๐๐ กิโลเมตร
เมืองหลวง
กรุงมะนิลา
ประชากร
๘๘.๗ ล้านคน (๒๕๕๐)
ภูมิอากาศ
อากาศเมืองร้อน
ภาษา
ฟิลิปิโน (Filipino) และอังกฤษเป็นภาษราชการ
ศาสนา
รมันคาธอลิกร้อยละ ๘๓ โปรเตสแตนท์ร้อยละ ๙ มุสลิมร้อยละ ๕ พุทธและอื่น ๆ ร้อยละ ๓
หน่วยเงินตรา
เปโซ (๔๘.๖๔ เปโซ ต่อ ๑ ดอลลาร์สหรัฐ – มีนาคม ๒๕๕๐)
ผลิตภันฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP)
๑๑๖.๔ พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (๒๕๔๙)
รายได้ประชาชาติต่อหัว
๑,๔๒๘ ดอลลาร์สหรัฐ (๒๕๔๙)(GDP per capita)
การขยายตัวทางเศรษฐกิจ
ร้อยละ ๕.๔ (๒๕๔๙)

การเมืองการปกครอง
ระบอบการปกครอง


ประชาธิปไตยแบบประธานาธิบดีเป็นประมุขและหัวหน้าฝ่าย บริหาร (วาระ ๖ ปี) เลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๔๗ ซึ่งอนุญาตให้เลือกตั้งในต่างประเทศได้ เป็นครั้งแรก สถานะวันที่ ๒๑ สิงหาคม ๒๕๕๐
นโยบายของรัฐบาลชุดปัจจุบัน
๑. การเมืองการปกครอง
๑.๑ ฟิลิปปินส์มีการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบมีประธานาธิบดีเป็นประมุขและหัวหน้าฝ่ายบริหาร ประธานาธิบดีคนปัจจุบันคือนางกลอเรีย มาคาปากัล อาร์โรโย (Gloria Macapagal Arroyo) ซึ่งได้รับการรับรองให้เป็นผู้ชนะการเลือกตั้งเมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๔๗ และได้แถลงนโยบายและผลงานประจำปีต่อรัฐสภา (State of the Nation Address) เมื่อวันที่ ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๔๗ สรุปว่า จะดำเนินตามนโยบาย ๑๐ ประการที่ได้ประกาศไว้ในพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่ง ได้แก่

(๑) การปราบปรามการฉ้อราษฎร์บังหลวง
(๒) การสร้างงาน
(๓) การสร้างความยุติธรรมทางสังคมและความต้องการขั้นพื้นฐาน
(๔) การปรับปรุงระบบการศึกษาให้ทันสมัย
(๕) การพึ่งพาและการประหยัดพลังงานภายในประเทศ
(๖) แก้ปัญหาการขาดดุลงบประมาณ
(๗) การลดจำนวนหน่วยงานของรัฐบาล
(๘) การสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ
(๙) การเพิ่มปริมาณการลงทุน
(๑๐) การแก้ไขปัญหาอาชญากรรมและยาเสพติด



๑.๒ ประธานาธิบดีอาร์โรโยมีแนวคิดจะแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อเปลี่ยนรูปแบบการปกครองเป็น แบบรัฐสภา และได้แต่งตั้งคณะกรรมาธิการที่ปรึกษาในการแก้ไขรัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๔๘ อย่างไรก็ตาม การแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อปฏิรูปการปกครองยังไม่ได้ข้อยุติเนื่องจากหลายฝ่ายยังมีความเห็นที่แตกต่างกัน แต่รัฐบาลฟิลิปปินส์ยืนยันจะคงผลักดันให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญต่อไปหลังจากการเลือกตั้งในเดือนพฤษภาคม ๒๕๕๐ ๑.๓ ฟิลิปปินส์ประสบปัญหากลุ่มก่อความไม่สงบในหมู่เกาะมินดาเนา แบ่งได้เป็น ๓ กลุ่มหลักได้แก่

(๑) กลุ่มที่ต้องการแบ่งแยกดินแดน (secessionist movement) เช่น Moro Islamic Liberation Front (MILF) และ Moro National Liberation Front- Misuari Group (MNLF-MG)
(๒) กลุ่มก่อการร้าย (terrorist group) เช่น Abu Sayyaf Group (ASG) และ Jemaah Islamiya (JI) และ Foreign Militant Jihadist
(๓) กลุ่มคอมมิวนิสต์ (communist insurgency) เช่น Communist Party of the Philippines (CPP), New People’s Army (NPA) และ National Democratic Front (NDF) รัฐบาลฟิลิปปินส์มีนโยบายใช้การเจรจาไกล่เกลี่ยเพื่อแก้ปัญหา โดยคำนึงถึงความต้องการของ ทุกฝ่าย และเร่งพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่และความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประชาชนในพื้นที่ ขณะเดียวกันก็เปิดโอกาสให้มิตรประเทศสนับสนุนกระบวนการเจรจาสันติภาพ เช่น รัฐบาลมาเลเซียได้ช่วยประสานงานการเจรจาสันติภาพระหว่างรัฐบาลฟิลิปปินส์กับกลุ่ม MILF สำหรับกลุ่มก่อการร้าย เช่น JI รัฐบาลใช้นโยบายปราบปรามและโดดเดี่ยวกลุ่มผู้ก่อการร้ายมุสลิมไม่ให้ได้รับความช่วยเหลือจากต่างประเทศ

เศรษฐกิจการค้า

๒. เศรษฐกิจและสังคม
๒.๑ รัฐบาลจะลงทุนอย่างต่อเนื่องในโครงสร้างพื้นฐาน การศึกษา สาธารณสุข การสร้างงาน รวมทั้งมีเป้าหมายที่จะให้มีงบประมาณสมดุลในปี ๒๕๕๑ ในปี ๒๕๔๙ เศรษฐกิจฟิลิปปินส์ขยายตัวร้อยละ ๕.๔ และมีแนวโน้มที่ดีทั้งในตลาดหุ้น การส่งออก การลงทุน การจ้างงาน และความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจ โดยรัฐบาลยืนยัน

๒.๒ แผนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจใหม่ของฟิลิปปินส์ตามถ้อยแถลงของประธานาธิบดีอาร์โรโย เมื่อ ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๔๙ จะเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจด้วยการแบ่งเขตที่จะพัฒนาออกเป็น ๕ เขต (Mega Regions) คือ ลูซอนเหนือ เมโทรมะนิลา ฟิลิปปินส์กลาง มินดาเนา และไซเบอร์ คอร์ริดอร์ เพื่อให้สามารถทุ่มงบประมาณเข้าไปพัฒนาพื้นที่หลักทางเศรษฐกิจตรงเป้าหมายและครอบคลุม รวมทั้งเป็นการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นให้มีส่วนร่วมในการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจมากขึ้น นอกจากนี้ รัฐบาลฟิลิปปินส์พยายามลดเงื่อนไขที่จะเป็นอุปสรรคต่อการทำธุรกิจในฟิลิปปินส์ เพื่อกระตุ้นการลงทุนและการค้า โดยเฉพาะด้าน การท่องเที่ยวและการส่งออก

๒.๓ ปัจจัยสนับสนุนเศรษฐกิจฟิลิปปินส์คือ แรงงานฟิลิปปินส์ในต่างประเทศส่งเงินกลับประเทศเพิ่มขึ้น เงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศและเงินทุนสำรองต่างประเทศเพิ่มขึ้น การส่งออกและธุรกิจภาคบริการขยายตัว และอัตราเงินเฟ้อลดลง ส่วนปัจจัยด้านลบ ได้แก่ ปัญหาจากภัยก่อการร้าย ซึ่งกดดันบรรยากาศการลงทุนของประเทศ การชะลอตัวทางเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าสำคัญอย่างสหรัฐฯ และจีน ที่คาดว่าจะส่งผลให้สินค้าส่งออกของฟิลิปปินส์ไปประเทศเหล่านี้ชะลอตัว ราคาน้ำมันในตลาดโลกที่อยู่ในระดับสูง และมาตรการกีดกันการค้าที่มิใช่ภาษี (Non-Tariff Barriers : NTBs) ในรูปแบบต่างๆ

๒.๔ ปัญหาเศรษฐกิจและสังคมของฟิลิปปินส์ ได้แก่ ปัญหาการว่างงาน ปัญหาความยากจน ปัญหาความไม่มั่นคงทางการเมือง และอุปสรรคจากความล่าช้าของขั้นตอนการดำเนินงานภาครัฐ ซึ่งส่งผลกระทบต่อบรรยากาศด้านการลงทุนและเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้ ยังมีปัญหาการกระจายรายได้และการปฏิรูปที่ดินที่ล่าช้า ทำให้พื้นที่การเกษตรโดยเฉลี่ยลดลง

๓. นโยบายต่างประเทศ
ในด้านความมั่นคง รัฐบาลฟิลิปปินส์ให้ความสำคัญต่อการเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีกับประเทศต่าง ๆ ในทุกภูมิภาค โดยมีการแลกเปลี่ยนการเยือนระหว่างกัน การหารือทางการเมือง การประชุมคณะกรรมาธิการร่วมในด้านต่าง ๆ การลงนามความตกลงทวิภาคี รวมทั้งส่งเสริมความสัมพันธ์ทางทหารและความมั่นคงกับประเทศต่าง ๆ อาทิ สหรัฐฯ และประเทศสมาชิกอาเซียน โดยการแลกเปลี่ยนการฝึกร่วมทางทหารทั้งในระดับทวิภาคี (กับสหรัฐฯ) อาทิ Balikatan และระดับพหุภาคี (กับสหรัฐฯ ไทย และประเทศสมาชิกอาเซียนบางประเทศ) อาทิ Cooperation Afloat Readiness and Training (CARAT) Cobra Gold และ Team Challenge

ฟิลิปปินส์ส่งเสริมความร่วมมือในระดับภูมิภาคและพหุภาคี โดยการเข้าไปมีส่วนร่วมอย่าง แข็งขันในกรอบความร่วมมือและเวทีระหว่างประเทศต่าง ๆ อาทิ อาเซียน กรอบความร่วมมือของเอเชียตะวันออก-ละตินอเมริกา (Forum for East Asia-Latin America Cooperation – FEALAC ซึ่งฟิลิปปินส์ ได้เป็นเจ้าภาพจัดประชุมระดับรัฐมนตรี FEALAC เมื่อวันที่ ๓๐ – ๓๑ มกราคม ๒๕๔๗) การประชุม Pacific Islands Forum และการประชุมต่าง ๆ ขององค์การสหประชาชาติ ฟิลิปปินส์มีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นและมีลักษณะพิเศษกับสหรัฐฯ เนื่องจากความเกี่ยวพัน ทางประวัติศาสตร์ แม้ว่าในปัจจุบันฟิลิปปินส์จะดำเนินนโยบายต่างประเทศกับสหรัฐฯ ในลักษณะสองทิศทาง คือ พยายามเป็นอิสระ (โดยยกเลิกการให้สหรัฐฯ ใช้ฐานทัพเรือที่อ่าวซูบิก (Subic) และฐานทัพอากาศคลาร์ก (Clark) แต่ก็ยังคงเป็นพันธมิตรด้านความมั่นคงภายใต้ความตกลงว่าด้วยการใช้ฐานทัพฟิลิปปินส์ของกองทัพสหรัฐฯ (Visiting Force Agreement – VFA) เมื่อปี ๒๕๔๑

ในระหว่างการเยือนสหรัฐฯ อย่างเป็นทางการของประธานาธิบดีฟิลิปปินส์เมื่อวันที่ ๑๗ – ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๔๖ รัฐบาลฟิลิปปินส์ได้แสดงจุดยืนที่ชัดเจนในการสนับสนุนการปฏิบัติการ ตอบโต้การก่อการร้ายและสงครามในอิรักของสหรัฐฯ ซึ่งสหรัฐฯ ได้ตอบแทนด้วยการให้ความช่วยเหลือ ทั้งด้านการทหารและเศรษฐกิจ เช่น สนับสนุนเจ้าหน้าที่ฝึกอบรมทางทหารแก่ฟิลิปปินส์ ภายใต้งบประมาณจำนวน ๙๕ ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อต่อต้านกลุ่มก่อการร้ายในฟิลิปปินส์ ลดอัตราค่าธรรมเนียมการส่งเงินจากสหรัฐฯ ไปฟิลิปปินส์ เพื่อช่วยให้ชาวฟิลิปปินส์ในสหรัฐฯ เสียค่าใช้จ่ายในการส่งเงินกลับประเทศน้อยลง นอกจากนี้ สหรัฐฯ ยังประกาศยกเว้นภาษีศุลกากรนำเข้าสินค้าบางประเภทจากฟิลิปปินส์ และเพิ่มสวัสดิการความช่วยเหลือแก่ทหารผ่านศึกในสงครามโลก ครั้งที่ ๒ ซึ่งเป็นชาวฟิลิปปินส์ที่อาศัยอยู่ในสหรัฐฯ

ในส่วนของการทูตเพื่อการพัฒนาประเทศนั้น รัฐบาลฟิลิปปินส์ได้ดำเนินการโดย
(๑) การส่งเสริมความสัมพันธ์ทางการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว ทั้งในระดับทวิภาคี ภูมิภาค และพหุภาคี อาทิ ในกรอบเขตการค้าเสรีอาเซียน กรอบความร่วมมือ Brunei-Indonesia-Malaysia-Philippines-East ASEAN Growth Area (BIMP-EAGA) กรอบ Asia-Pacific Economic Cooperation (APEC) การประชุมเอเชีย-ยุโรป (ASEM) องค์การการค้าโลก และสหประชาชาติ
(๒) การส่งเสริมโครงการความร่วมมือเพื่อการพัฒนากับประเทศต่าง ๆ อาทิ ญี่ปุ่น สวีเดน เยอรมนี สาธารณรัฐเช็ก และคณะกรรมาธิการยุโรป


ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสาธารณรัฐฟิลิปปินส์

๑. ความสัมพันธ์ทั่วไป

๑.๑ การทูต
ไทยสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับฟิลิปปินส์เมื่อวันที่ ๑๒ กันยายน ๒๔๙๒ เอกอัครราชทูต ณ กรุงมะนิลาคนปัจจุบันคือ นางอัชฌา ทวีติยานนท์ และมีหน่วยงานในสถานเอกอัครราชทูตฯ ได้แก่ สำนักงานผู้ช่วยทูตฝ่ายทหาร และสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ

๑.๒ การเมือง
ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับฟิลิปปินส์ดำเนินไปอย่างราบรื่นและใกล้ชิดมานาน ฟิลิปปินส์เป็นประเทศแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ไทยสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตด้วย และเป็นประเทศผู้ก่อตั้งอาเซียนเช่นเดียวกับไทย และเป็นแนวร่วมของไทยในเวทีระหว่างประเทศ เนื่องจากมีทัศนคติและแนวคิดคล้ายคลึงกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน ทั้งสองฝ่ายมีกลไกส่งเสริมความสัมพันธ์ทวิภาคี ได้แก่ คณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือ (Joint Commission – JC) ตั้งเมื่อปี ๒๕๓๖ โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของ

ทั้งสองฝ่ายเป็นประธานร่วม (ประชุมครั้งที่ ๑ ที่กรุงมะนิลา เมื่อวันที่ ๑ - ๔ มีนาคม ๒๕๓๗ ครั้งที่ ๒ ที่ภูเก็ต เมื่อวันที่ ๒๗ - ๒๙ เมษายน ๒๕๔๐ ครั้งที่ ๓ ที่กรุงมะนิลา เมื่อวันที่ ๑๐ - ๑๓ มิถุนายน ๒๕๔๒ และไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม JC ครั้งที่ ๔ ในวันที่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๕๐)

สำหรับท่าทีของฝ่ายฟิลิปปินส์ต่อสถานการณ์การเมืองของไทยนั้น ประธานาธิบดีอาร์โรโยกล่าวว่า ฟิลิปปินส์ร่วมกับประชาคมโลกเรียกร้องให้มีการปฏิบัติตามหลักนิติรัฐ (the rule of law) และกลับคืนสู่ประชาธิปไตยโดยเร็วที่สุด และในฐานะเพื่อนบ้านและพันธมิตรอาเซียน ฟิลิปปินส์อยู่เคียงข้าง ประชาชนชาวไทยในการแสวงหาและนำมาซึ่งสันติภาพและความเป็นเอกภาพภายในประเทศ และมองว่าเป็นการดีที่เหตุการณ์ทางการเมืองในไทยที่ผ่านมาไม่ก่อให้เกิดการสูญเสียเลือดเนื้อของประชาชน และโฆษกทำเนียบประธานาธิบดีได้ออกแถลงการณ์ว่า ฟิลิปปินส์รู้สึกคลายความกังวลที่สถานการณ์ทาง การเมืองในไทยได้คลี่คลายลง และสถานที่ราชการและธุรกิจต่างๆ ได้เปิดทำการดังเดิม ทั้งนี้ ฟิลิปปินส์ปรารถนาที่จะเห็นสันติภาพและความสามัคคีเกิดขึ้นในสังคมไทย ในขณะที่คาดว่าจะมีการฟื้นฟูกระบวนการประชาธิปไตยโดยสมบูรณ์ขึ้นโดยเร็วที่สุด โดยไทยยังเป็นพันธมิตรที่สำคัญของฟิลิปปินส์ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ ความมั่นคง การต่อต้านการก่อการร้าย และการแก้ไขปัญหาความยากจน หลังจากนั้น เมื่อวันที่ ๒๓ ตุลาคม ๒๕๔๙ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ได้เดินทางเยือนฟิลิปปินส์อย่างเป็นทางการ

๑.๓ ความมั่นคง
ไทยกับฟิลิปปินส์มีความร่วมมือด้านการทหารอย่างใกล้ชิด อาทิ การจัดส่งนักเรียนนายร้อย ของไทยเข้าศึกษาในโรงเรียนนายร้อยฟิลิปปินส์ การแลกเปลี่ยนนายทหารเข้าอบรมในหลักสูตรเสนาธิการ ทหาร การแลกเปลี่ยนการดูงานของนักศึกษาในหลักสูตรวิชาทหารต่าง ๆ การสัมมนาแลกเปลี่ยนข่าวกรองทางทหารระหว่างกัน และการแลกเปลี่ยนการเยือนระหว่างผู้นำเหล่าทัพ โดยฟิลิปปินส์ได้เข้าร่วมสังเกตการณ์การฝึกคอบร้าโกลด์ และได้เข้าร่วมการฝึก Command Post Exercise (CPX) ในปี ๒๕๔๗ ด้วย นอกจากนั้น รัฐบาลไทยได้มอบเครื่องบินโจมตีแบบ OV-๑๐ ซึ่งปลดประจำการแล้วของกองทัพอากาศตามคำขอของรัฐบาลฟิลิปปินส์ด้วย จำนวน ๘ ลำ ในปี ๒๕๔๖-๔๗

๑.๔ เศรษฐกิจ

๑.๔.๑ การค้า
การค้าระหว่างไทยกับฟิลิปปินส์ในปี ๒๕๔๙ มีมูลค่า ๔,๖๘๔.๔ ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปี ๒๕๔๘ ร้อยละ ๑๘.๘ ไทยส่งออกไปฟิลิปปินส์ ๒,๕๘๐.๓ ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ ๒๕.๒ และนำเข้าจากฟิลิปปินส์ ๒,๑๐๔.๑ ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ ๑๔.๕ ไทยได้เปรียบดุลการค้า ๔๗๖.๒ ล้านดอลลาร์สหรัฐ

การส่งออกสินค้าไปฟิลิปปินส์ในปี ๒๕๔๙ คิดเป็นร้อยละ ๒ ของมูลค่าการส่งออกรวมของไทย สินค้าไทยมีส่วนแบ่งตลาดในฟิลิปปินส์ประมาณร้อยละ ๓.๕ สินค้าออกรายการสำคัญที่มีมูลค่าการส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ แผงวงจรไฟฟ้า รถยนต์อุปกรณ์และส่วนประกอบ น้ำมันสำเร็จรูป รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ เม็ดพลาสติก เครื่องสำอาง เหล็กกล้า เคมีภัณฑ์ เครื่องจักรกล ผลิตภัณฑ์ยาง ผลิตภัณฑ์พลาสติก เครื่องรับโทรทัศน์ และกระดาษ

สินค้าสำคัญที่ไทยนำเข้าจากฟิลิปปินส์ ประกอบด้วย เครื่องคอมพิวเตอร์ แผงวงจรไฟฟ้า ส่วนประกอบอุปกรณ์ยานพาหนะ รถยนต์นั่ง เครื่องจักรกล สินแร่โลหะและเศษโลหะ เครื่องมือทางการแพทย์ ยาสูบ สัตว์น้ำ เครื่องใช้ไฟฟ้า เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์จากพลาสติก เป็นต้น แนวโน้มการส่งออกของไทยไปฟิลิปปินส์ในปี ๒๕๕๐ คาดว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ ๑๘ มีมูลค่า ๓,๐๔๔.๕ ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้การส่งออกของไทยไปฟิลิปปินส์ขยายตัว คือ การขยายตัวทางเศรษฐกิจของฟิลิปปินส์อย่างต่อเนื่อง การขยายตัวของการบริโภคภาคเอกชน เงินรายได้จากแรงงานฟิลิปปินส์ในต่างประเทศ การลงทุนภาครัฐบาลในโครงการระบบสาธารณูปโภค สินค้าที่มีแนวโน้มการส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยานยนต์อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องรับวิทยุและโทรทัศน์ ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูป เคื่องสำอาง เภสัชภัณฑ์ สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม เป็นต้น

ไทยกับฟิลิปปินส์ได้ลงนามความตกลงทางการค้าเมื่อปี ๒๕๔๒ และได้จัดตั้งคณะกรรมาธิการร่วมทางด้านการค้า (Joint Trade Commission – JTC) ภายใต้ความตกลงดังกล่าว และทั้งจะพิจารณาจัดการประชุม JTC ครั้งที่ ๑ ต่อไป ภายในปี ๒๕๕๐

รัฐบาลฟิลิปปินส์ปัจจุบันให้ความสนใจกับนโยบายด้านเศรษฐกิจของไทย ดังจะเห็นได้จากการประกาศโครงการ “One Town, One Product, One Million Pesos” ซึ่งคล้ายคลึงกับโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์และกองทุนหมู่บ้านของไทย นอกจากนั้น ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ยังประกาศใช้นโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรมขนาดกลางและย่อมโดยดูตัวอย่างจากไทยอีกด้วย

๑.๔.๒ การลงทุน
บริษัทไทยที่ไปลงทุนในฟิลิปปินส์ ได้แก่ บมจ.ปตท. บมจ.ปูนซีเมนต์ไทย และเครือเจริญโภคภัณฑ์ ส่วนฟิลิปปินส์มาลงทุนในไทยในระดับน่าพอใจ บริษัทฟิลิปปินส์ที่ลงทุนในไทย เช่น บริษัท Universal Robina บริษัท San Miguel และ Liwayway Food Industries

๑.๔.๓ การท่องเที่ยว
ไทยและฟิลิปปินส์มีความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว ลงนามเมื่อวันที่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๓๖ ในปี ๒๕๔๙ มีนักท่องเที่ยวชาวฟิลิปปินส์มาไทย ๑๙๘,๔๔๓ คน ในการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีไทย-ฟิลิปปินส์ ครั้งที่ ๔ เมื่อวันที่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๕๐ ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะกระชับความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว โดยให้มีการแลกเปลี่ยนการเยือนของผู้บริหารระดับสูง การจัด Business Matching และการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านการท่องเที่ยว โดยเฉพาะในสาขาที่ไทยมีศักยภาพ อาทิ การส่งเสริมการท่องเที่ยวแบบยั่งยืนที่สนับสนุนการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและการมีส่วนร่วมของประชาชนในท้องถิ่น นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบที่จะขยายความร่วมมือทางการบินระหว่างกันและจะให้มีการเจรจาการบินภายในปี ๒๕๕๐

๑.๕ สังคมและวัฒนธรรม
ไทยกับฟิลิปปินส์ได้ลงนามในความตกลงทางวัฒนธรรมเมื่อวันที่ ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๑๘ และ เมื่อปี ๒๕๓๙ สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงมะนิลาได้จัดกิจกรรมเพื่อร่วมเฉลิมฉลองพระราชพิธีกาญจนาภิเษก โดยได้เลี้ยงอาหารกลางวันแก่เด็กกำพร้าและเด็กพิการ และสร้างศาลาเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ มหาวิทยาลัยฟิลิปปินส์ด้วย

นอกจากนี้ เมื่อปี ๒๕๔๒ เนื่องในโอกาสการฉลองครบรอบ ๕๐ ปีของการสถาปนา ความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกัน ฟิลิปปินส์ได้มีการจัดพิมพ์แสตมป์ที่ระลึก ใช้ชื่อประเทศไทยเป็นชื่อ ถนน Rada (Thailand) Street ในกรุงมะนิลาและตั้งวงเวียนมิตรภาพฟิลิปปินส์-ไทยที่กรุงมะนิลา ส่วนประเทศไทยได้เปลี่ยนชื่อซอยข้างสถานเอกอัครราชทูตฟิลิปปินส์ในกรุงเทพฯ (ซอยสุขุมวิท ๓๐/๑) เป็น “ซอยฟิลิปปินส์”

สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงมะนิลาได้ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ของไทยจัดงานเทศกาลอาหารไทยต่อเนื่องมาหลายปี จนเป็นที่รู้จักในหมู่ประชาชนในกรุงมะนิลามากขึ้นและมีการพูดถึงในสื่อมวลชนฟิลิปปินส์ ซึ่งในงานมีร้านอาหารไทยในกรุงมะนิลาและผู้นำเข้าสินค้าไทยร่วมออกร้าน มีการสาธิตการทำอาหารไทย การแสดงศิลปวัฒนธรรมไทย มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยว โดยการจัดงานประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี

ในปี ๒๕๔๙ เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองเนื่องในโอกาสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครอง สิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้จัดกิจกรรม ดังนี้

๑. มอบรายได้จากการจัดงานเทศกาลอาหารไทยส่วนหนึ่งแก่ Early Childhood Education Division, Social Service Department ของเมือง Muntinlupa สำหรับก่อสร้างอาคารเรียนหลังใหม่ให้แก่ Sucat Day Care Center รวมทั้งมอบให้มูลนิธิ Munting Kalinga เพื่อเป็นทุนการศึกษาแก่นักเรียนที่ยากไร้ในพื้นที่ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล

๒. คณะวงดนตรี Bangkok Symphony Orchestra (BSO) นำโดย ม.ล.อัศนี ปราโมช องคมนตรี ได้เดินทางไปแสดงดนตรีคอนเสิร์ตเพลงพระราชนิพนธ์ที่กรุงมะนิลา ด้วยความร่วมมือของ Cultural Center of the Philippines เมื่อวันที่ ๑๑ ตุลาคม ๒๕๔๙ โดยประธานาธิบดีอาร์โรโย และอดีต ประธานาธิบดีรามอส ได้ไปร่วมชมการแสดงด้วย

คณะสื่อมวลชนชั้นนำของฟิลิปปินส์ได้เดินทางเยือนไทยอย่างสม่ำเสมอ โดยฝ่ายไทยได้ จัดให้เยี่ยมชมสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมไทย โดยมีวัตถุประสงค์ให้บุคคลเหล่านี้นำข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับประเทศไทยกลับไปเผยแพร่ในฟิลิปปินส์ และในแต่ละปีได้มีการประกวดเรียงความเกี่ยวกับประเทศไทยสำหรับนักเรียนและนักศึกษาในฟิลิปปินส์ เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนของฟิลิปปินส์มีความเข้าใจเกี่ยวกับประเทศไทยมากขึ้น

ไทยมีความร่วมมือทางวิชาการกับฟิลิปปินส์ โดยจัดสรรทุนฝึกอบรมประจำปีให้แก่บุคลากรฟิลิปปินส์ในสาขาต่าง ๆ อาทิ การเกษตร ประมง สิ่งแวดล้อม สุขอนามัย การพัฒนาชุมชน และไทยได้มอบเงินช่วยเหลือมูลค่ากว่า ๓๐ ล้านบาทแก่รัฐบาลฟิลิปปินส์สำหรับเป็นเงินทุนสร้างศูนย์เก็บรักษาและแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรภายหลังการเก็บเกี่ยวที่มหาวิทยาลัยปังกาสินัน รวมทั้งได้จัดสรรทุนฝึกอบรมแก่ผู้เชี่ยวชาญฟิลิปปินส์ซึ่งจะปฏิบัติงานที่ศูนย์แห่งนี้ด้วย

ในปี ๒๕๔๙ ไทยได้ให้ความช่วยเหลือแก่ฟิลิปปินส์เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ เช่น มอบเงิน ๑๐๐,๐๐๐ ดอลลาร์สหรัฐ เพื่อช่วยผู้ประสบภัยแผ่นดินถล่มที่จังหวัด Southern Leyte เมื่อวันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙ และบริจาคข้าวสารจำนวน ๑,๐๐๐ ตัน ให้ผู้ประสบภัยจากไต้ฝุ่นทุเรียน ซึ่งเป็นพายุที่สร้างความเสียหายมากที่สุดที่เข้าถล่มฟิลิปปินส์เมื่อวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๔๙ โดยนายกรัฐมนตรีได้ส่งสารแสดงความเสียใจถึงประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ด้วย

๑.๖ แนวโน้มความสัมพันธ์
ไทยและฟิลิปปินส์จะฉลองครบ ๖๐ ปีความสัมพันธ์ทางการทูตในปี ๒๕๕๒ ทั้งสองประเทศมีความสัมพันธ์ที่ดีและไม่เคยมีปัญหาความขัดแย้งรุนแรง เป็นพัธมิตรทางยุทธศาสตร์ทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ และความมั่นคง ฟิลิปปินส์สามารถเป็นแนวร่วมของไทยในเวทีระหว่างประเทศเพราะมีทัศนคติคล้ายคลึงกัน โดยเฉพาะเรื่องประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน จากการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีไทยและฟิลิปปินส์ ครั้งที่ ๔ เมื่อวันที่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๕๐ ทั้งสองฝ่ายได้พิจารณาเห็นชอบโครงการและกิจกรรมที่จะส่งเสริมและขยายความร่วมมือระหว่างกันในด้านต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ร่วมกัน ทั้งทางด้านการค้าการลงทุน การเกษตร ท่องเที่ยว พลังงาน การศึกษาและวัฒนธรรม และความมั่นคง

๒. ความตกลงที่สำคัญ ๆ กับไทย
๒.๑ ความตกลงว่าด้วยความช่วยเหลือทางทหาร (ลงนามเมื่อวันที่ ๑๔ มีนาคม ๒๔๙๐)
๒.๒ ความตกลงว่าด้วยไมตรี การพาณิชย์ และการเดินเรือ (ลงนามเมื่อวันที่ ๑๔ มิถุนายน ๒๔๙๒)
๒.๓ ความตกลงว่าด้วยบริการเดินทางอากาศ (ลงนามเมื่อวันที่ ๒๗ เมษายน ๒๔๙๖)
๒.๔ ความตกลงว่าด้วยการยกเว้นการตรวจลงตราหนังสือเดินทางทูตและราชการ (ลงนามเมื่อวันที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๐๕)
๒.๕ ความตกลงว่าด้วยที่ดิน (ลงนามเมื่อวันที่ ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๐๖)
๒.๖ ความตกลงทางวัฒนธรรม (ลงนามเมื่อวันที่ ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๑๘)
๒.๗ ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางการเกษตร (ลงนามเมื่อวันที่ ๒๙ สิงหาคม ๒๕๒๒)
๒.๘ ความตกลงว่าด้วยการส่งผู้ร้ายข้ามแดน (ลงนามเมื่อวันที่ ๑๖ มีนาคม ๒๕๒๔)
๒.๙ ความตกลงว่าด้วยการยกเว้นการเก็บภาษีซ้อน (ลงนามเมื่อวันที่ ๑๔ กรกฎาคม ๒๕๒๕)
๒.๑๐ ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์และวิชาการ (ลงนามเมื่อวันที่ ๑๑ เมษายน ๒๕๒๖)
๒.๑๑ ความตกลงจัดตั้งคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีไทย-ฟิลิปปินส์ (ลงนาม เมื่อวันที่ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๓๕)
๒.๑๒ ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว (ลงนามเมื่อวันที่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๓๖)
๒.๑๓ ความตกลงส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุน (ลงนามเมื่อวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๓๘)
๒.๑๔ บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในการวิจัยและพัฒนาการเกษตร (ลงนามเมื่อวันที่ ๓๐ มกราคม ๒๕๔๐)
๒.๑๕ บันทึกความเข้าใจด้านความร่วมมือทางทหาร (ลงนามเมื่อวันที่ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๔๐)
๒.๑๖ ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม (ลงนามเมื่อวันที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๔๑)
๒.๑๗ บันทึกความเข้าใจการขจัดคราบน้ำมัน (ลงนามเมื่อวันที่ ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๔๒)
๒.๑๘ ความตกลงทางการค้า (ลงนามเมื่อวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๔๒)
๒.๑๙ สนธิสัญญาการโอนตัวนักโทษ (ลงนามเมื่อวันที่ ๑๒ ธันวาคม ๒๕๔๔)
๒.๒๐ ความตกลงแลกเปลี่ยนข้อสนเทศ และจัดตั้งวิธีการดำเนินการในการสื่อสาร (ลงนามเมื่อวันที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๕๔๕)
๒.๒๑ บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการเกษตร (ลงนามเมื่อวันที่ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๔๖)
๒.๒๒ บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในกิจกรรมเกี่ยวกับน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ (ลงนามเมื่อวันที่ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๔๖)

๓. การเยือนที่สำคัญ

๓.๑ ฝ่ายไทย
พระราชวงศ์
- วันที่ ๙ – ๑๔ กรกฎาคม ๒๕๐๖ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯ เยือนฟิลิปปินส์อย่างเป็นทางการในโอกาสดังกล่าว นางกลอเรีย มาคาปากัล อาร์โรโย ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์คนปัจจุบัน ซึ่งเป็นบุตรีของนายดิออสดาโด มาคาปากัล (Diosdado Macapagal) ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ขณะนั้น ได้ทูลเกล้าฯ ถวายของที่ระลึกแด่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ

- เมื่อวันที่ ๒๗ สิงหาคม ถึง ๒ กันยายน ๒๕๓๔ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ ไปทรงรับรางวัลรามอน แม็กไซไซ สาขาบริการชุมชน

รัฐบาล
- วันที่ ๑๒ – ๑๓ ตุลาคม ๒๕๔๔ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เยือนอย่างเป็น ทางการ
- วันที่ ๓๑ สิงหาคม ถึงวันที่ ๔ กันยายน ๒๕๔๖ นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานสภาผู้แทนราษฎรและประธานรัฐสภา เข้าร่วมการประชุม General Assembly of the Association of Asian Parliaments for Peace ครั้งที่ ๔
- วันที่ ๗ – ๘ กันยายน ๒๕๔๖ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เยือนตามคำเชิญ ของประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ เพื่อกล่าวสุนทรพจน์เรื่อง “Thaksinomics” ต่อ Philippine Chamber of Commerce and Industry (PCCI) และ Philippine-Thailand Business Council (PTBC) และเพื่อร่วมในพิธีส่งมอบเครื่องบินโจมตีแบบ OV-๑๐ ซึ่งกองทัพอากาศไทยปลดประจำการแล้วให้แก่กองทัพอากาศฟิลิปปินส์ ตามคำขอของฟิลิปปินส์เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะของกองทัพอากาศฟิลิปปินส์
- วันที่ ๓๐ – ๓๑ มกราคม ๒๕๔๗ นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวง การต่างประเทศ เข้าร่วมการประชุมระดับรัฐมนตรีกรอบความร่วมมือของเอเชียตะวันออก-ละตินอเมริกา (Forum for East Asia-Latin America Cooperation – FEALAC)
- วันที่ ๒๙ มิถุนายน ถึงวันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๔๗ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี (ร้อยเอก สุชาติ เชาว์วิศิษฐ์) เข้าร่วมพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ ในฐานะผู้แทนรัฐบาลไทย
- วันที่ ๑๐ - ๑๒ เมษายน ๒๕๔๘ นายกันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวง การต่างประเทศได้เข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ ที่เมืองเซบูและเยือนฟิลิปปินส์อย่างเป็นทางการ - วันที่ ๒๖ - ๒๘ มกราคม ๒๕๔๙ นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย รองนายกรัฐมนตรี เข้าร่วมพิธีเปิดสำนักงานภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกของ Centrist Democrat International และกล่าวถ้อยแถลงต่อที่ประชุม Global Christian Muslim and Interfaith Dialogue
- วันที่ ๒๓ ตุลาคม ๒๕๔๙ พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี เยือนอย่างเป็นทางการ
- วันที่ ๑๐ – ๑๔ ธันวาคม ๒๕๔๙ นายนิตย์ พิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวง การต่างประเทศได้เข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอาเซียน ที่เมืองเซบู
- วันที่ ๑๓-๑๕ มกราคม ๒๕๕๐ พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี เข้าร่วมประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ ๑๒ และการประชุมสุดยอดอื่นๆ ณ เมืองเซบู
- วันที่ ๒-๓ สิงหาคม 2550 นายนิตย์ พิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเยือนฟิลิปปินส์อย่างเป็นทางการ

๓.๒ ฝ่ายฟิลิปปินส์
- วันที่ ๑๘ – ๒๒ เมษายน ๒๕๔๔ นายริซาลลิโน นาวาร์โร ผู้แทนพิเศษของประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ประจำประเทศไทย หารือข้อราชการกับบุคคลสำคัญในภาครัฐและภาคเอกชนของไทย
- วันที่ ๗ – ๑๐ มิถุนายน ๒๕๔๔ นายโฮเซ เด เวเนเชีย จูเนียร์ ประธานสภาผู้แทนราษฎรฟิลิปปินส์ เยือนเพื่อกล่าวสุนทรพจน์ในการประชุม International Leadership Seminar ซึ่งจัดโดย Inter-Religious and International Federation for World Peace และเมื่อวันที่ ๒ – ๕ กันยายน ๒๕๔๔ เพื่อเข้าร่วมประชุม ASEAN Inter-Parliamentary ครั้งที่ ๒๒
- วันที่ ๗ – ๘ พฤษภาคม ๒๕๔๕ นางกลอเรีย มาคาปากัล อาร์โรโย ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ เยือนอย่างเป็นทางการในฐานะแขกของรัฐบาล และเมื่อวันที่ ๒๙ เมษายน ๒๕๔๖ ได้เข้าร่วมการประชุมผู้นำอาเซียนและผู้นำอาเซียน-จีนสมัยพิเศษว่าด้วยโรค SARS ที่กรุงเทพฯ
- วันที่ ๒๑ – ๒๒ มิถุนายน ๒๕๔๖ นายบลาส เอฟ อ๊อบ-เล่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง การต่างประเทศฟิลิปปินส์ เข้าร่วมการประชุม Asia Cooperation Dialogue ที่จังหวัดเชียงใหม่
- วันที่ ๒๐ – ๒๑ ตุลาคม ๒๕๔๖ นางกลอเรีย มาคาปากัล อาร์โรโย ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ เข้าร่วมการประชุมผู้นำเศรษฐกิจเอเปค ที่กรุงเทพฯ
- วันที่ ๒๘ ตุลาคม ถึงวันที่ ๒ พฤศจิกายน ๒๕๔๖ นายโรมูโล เอล เนริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวางแผนสังคมและเศรษฐกิจฟิลิปปินส์ เยือนเพื่อติดตามผลการเยือนฟิลิปปินส์ของนายกรัฐมนตรี และศึกษานโยบายและโครงการเศรษฐกิจและสังคมของไทย
- วันที่ ๔-๕ มีนาคม ๒๕๔๘ นายอัลเบอร์โต กัตไมตัน โรมูโล รัฐมนตรีว่าการกระทรวง การต่างประเทศฟิลิปปินส์ เยือนอย่างเป็นทางการในโอกาสเข้ารับตำแหน่งใหม่ในฐานะแขกของกระทรวง การต่างประเทศ - วันที่ ๑๐-๑๕ กรกฎาคม ๒๕๔๘ นายฟิเดล รามอส อดีตประธานาธิบดีฟิลิปปินส์เยือนเพื่อร่วมการประชุม The International Association of University Presidents (IAUP) ครั้งที่ ๑๔
- วันที่ ๑๒ – ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙ นายฟิเดล รามอส อดีตประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ เยือนเพื่อเข้าร่วมการประชุมคณะผู้ทรงคุณวุฒิในเรื่องกฎบัตรอาเซียน ครั้งที่ ๒ ที่กรุงเทพฯ - วันที่ ๑๖ และ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๔๙ นางกลอเรีย มาคาปากัล อาร์โรโย ประธานาธิบดี ฟิลิปปินส์แวะพักที่ห้องรับรองพิเศษ สนามบินดอนเมือง ก่อนและหลังการเยือนลิเบียอย่างเป็นทางการ โดยนายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และนายกันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ให้การต้อนรับและหารือตามลำดับ
- วันที่ ๑๓ สิงหาคม ๒๕๔๙ นายอัลเบอร์โต กัตไมตัน โรมูโล รัฐมนตรีว่าการกระทรวง การต่างประเทศฟิลิปปินส์ แวะพักที่ห้องรับรองพิเศษ สนามบินดอนเมือง หลังการเยือนพม่าอย่างเป็นทางการ ก่อนเดินทางกลับฟิลิปปินส์ โดยได้หารือกับนายกันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวง การต่างประเทศ
- วันที่ ๒๔-๒๗ มีนาคม ๒๕๕๐ นายอัลเบอร์โต กัตไมตัน โรมูโล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศฟิลิปปินส์ เยือนเพื่อเข้าร่วมประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีไทย-ฟิลิปปินส์ ครั้งที่ ๔

ข้อมูลจาก กระทรวงต่างประเทศ

ประเทศสิงคโปร์

ข้อมูลทั่วไปของประเทศสิงคโปร์
ธงชาติประเทศสิงคโปร์

แผนที่ประเทศสิงคโปร์

เมืองหลวง สิงคโปร์

พื้นที่ ประกอบด้วยเกาะสิงคโปร์และเกาะใหญ่น้อยบริเวณใกล้เคียง 63 เกาะ มีพื้นที่ รวมทั้งสิ้น 682.7 ตารางกิโลเมตร (ประมาณเกาะภูเก็ต) เกาะสิงคโปร์เป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดมีความยาวจากทิศตะวันตกไปตะวันออกประมาณ 42 กิโลเมตร และความกว้างจากทิศเหนือไปยังทิศใต้ประมาณ 23 กิโลเมตร

ประชากร 4.35 ล้านคน (2548)

ศาสนา พุทธ (42.5%) อิสลาม (14.9%) คริสต์ (14.5%) ฮินดู (4%) ไม่นับถือศาสนา (25%)

เชื้อชาติ ประกอบด้วยชาวจีน (76.5%) ชาวมาเลย์ (13.8%) ชาวอินเดีย (8.1%) และอื่น ๆ (1.6%)

ภาษา อังกฤษ มาลายู จีนกลาง ทมิฬ (มาลายูเป็นภาษาประจำชาติ อังกฤษเป็นภาษาราชการ)

รูปแบบการปกครอง สาธารณรัฐ (ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา มีสภาเดียว) โดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุข และนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร
-ประธานาธิบดี นายเอส อาร์ นาธาน (S R Nathan) (ดำรงตำแหน่งสองสมัยตั้งแต่ 1 กันยายน 2542 -ปัจจุบัน)
- นายกรัฐมนตรี นายลี เซียน ลุง (Lee Hsien Loong) (12 สิงหาคม 2547)
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นายจอร์จ เยียว (George Yeo) (12 สิงหาคม 2547)

วันชาติ 9 สิงหาคม (แยกตัวจากสหพันธรัฐมาเลเซีย เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2508)


เข้าเป็นสมาชิกอาเซียน 8 สิงหาคม 2510

เงินตรา ดอลลาร์สิงคโปร์

อัตราแลกเปลี่ยน 24.30 บาท/1 ดอลลาร์สิงคโปร์ (มิถุนายน 2549) 1 ดอลลาร์สิงคโปร์/1.64 ดอลลาร์สหรัฐ (มิถุนายน 2549)

GDP 117,083 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (2547)

GDP Growth ร้อยละ 6.4 (2548) ร้อยละ 5-7 (ประมาณการของปี 2549)

GDP per capita 26,907.2 ดอลลาร์สหรัฐ (2548)

อัตราเงินเฟ้อ ร้อยละ 0.5 (2548)

อัตราว่างงาน ร้อยละ 3.4 (2548)

ทุนสำรองเงินตราต่างประเทศ 116,627 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (2548)

ภาคการผลิต อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เคมีภัณฑ์ ชีวศาสตร์การแพทย์วิศวกรรมเครื่องมือวัด (precision engineering) วิศวกรรมขนส่ง (transport engineering) และ อุตสาหกรรมผลิตสินค้าทั่วไป (general manufacturing industries)

ภาคบริการ อุตสาหกรรมบริการทางสายอาชีพและการบริการสำนักงานในส่วนภูมิภาค การบริการข้อมูลและการสื่อสาร logistics การบริการทางวิศวกรรมและสิ่งแวดล้อม การธนาคาร การศึกษาและการบริการทางชีวศาสตร์การแพทย์

การค้าระหว่างประเทศ มีมูลค่าการค้ารวม 429.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2548)

ประเทศคู่ค้าที่สำคัญ มาเลเซีย สหรัฐ ฯ สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น จีน ฮ่องกง ไต้หวัน ไทย เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย อินเดีย

สินค้าส่งออก เคมีภัณฑ์ แผงวงจรไฟฟ้า เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องจักรใช้ในอุตสาหกรรม ผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องใช้ไฟฟ้า น้ำมันสำเร็จรูป ผลิตภัณฑ์พลาสติก กระดาษ กระดาษแข็ง

สินค้านำเข้า เครื่องคอมพิวเตอร์ สินค้าเกษตรและอาหาร น้ำมันสำเร็จรูป เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่น ๆ อุปกรณ์และส่วนประกอบ รถยนต์ เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์
การเมืองการปกครอง


สิงคโปร์มีเสถียรภาพและความต่อเนื่องทางการเมืองโดยมีรัฐบาลภายใต้การนำของพรรค People’s Action Party (PAP) มาโดยตลอดนับตั้งแต่แยกตัวออกจากมาเลเซียเมื่อปี 2508 เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2547 นายลี เซียน ลุง รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและประธานธนาคารกลาง (บุตรของนายลี กวน ยู อดีตนายกรัฐมนตรีสิงคโปร์)ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่สามของสิงคโปร์ สืบแทนนายโก๊ะ จ๊ก ตง (ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีอาวุโส)


การเลือกตั้งประธานาธิบดีสิงคโปร์
เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2548 นายเอส อาร์ นาธาน ครบวาระดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสิงคโปร์สมัยแรก (นายนาธานอายุ 81 ปี เป็นประธานาธิบดีคนที่ 6 ของสิงคโปร์ แต่เป็นประธานาธิบดีคนที่ 2 ที่มาจากการเลือกตั้ง) เข้าพิธีสาบานตนรับตำแหน่งสมัยที่สองเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2548 [ เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2548 คณะกรรมการเลือกตั้งประธานาธิบดี (Presidential Elections Committee) ได้ประกาศว่า นายนาธานได้เป็นประธานาธิบดี โดยอัตโนมัตเนื่องจากผู้สมัครแข่งขันคนอื่นขาดคุณสมบัติ ]

การเลือกตั้งทั่วไป

เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2549 สิงคโปร์ได้จัดการเลือกตั้งทั่วไป ก่อนสภาผู้แทนราษฎรจะครบวาระในเดือนพฤศจิกายนปี 2550 และเป็นการเลือกตั้งครั้งแรกนับตั้งแต่นายลี เซียน ลุง เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และเป็นครั้งที่ 13 นับตั้งแต่สิงคโปร์แยกตัวออกจากสหพันธ์รัฐมาลายาเมื่อปี 2508 ซึ่งพรรคกิจประชาชน (People’s Action Party – PAP) ภายใต้การนำของนายลี เซียน ลุง ได้รับชัยชนะอย่างท่วมท้น โดยมีสมาชิกของพรรค PAP ได้รับเลือกตั้งจำนวน 82 ที่นั่งจากทั้งหมด 84 ที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎร (ด้วยจำนวนคะแนนเสียงสนับสนุนจากผู้ลงคะแนนเสียงทั้งหมด ร้อยละ 66.6) สำหรับอีก 2 ที่นั่งเป็นของพรรค Worker’s Party (WP) และ Singapore Democratic Alliance (SDA)

ในการเลือกตั้งครั้งนี้ มีพรรคการเมืองรวม 4 พรรคส่งผู้สมัครลงแข่งขัน ได้แก่ พรรค People’s Action Party ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายรัฐบาล และพรรคฝ่ายค้านอีก 3 พรรค ประกอบด้วย (1) พรรค Worker’s Party (WP) ก่อตั้งเมื่อปี 2500 ภายใต้การนำของนาย Low Thia Kiang (2) พรรค Singapore Democratic Alliance (SDA) ก่อตั้งเมื่อปี 2544 และเป็นการรวมตัวของหลายพรรคการเมืองได้แก่ National Solidarity Party (NSP), Singapore Malay National Organization (PKMS), Singapore People’s Party (SPP) และ Singapore Justice Party ภายใต้การนำของนาย Chiam See Tong (3) พรรค Singapore Democratic Party (SDP) ก่อตั้งเมื่อปี 2523 โดยมีนาย Chee Soo Juan เป็นเลขาธิการ

การเลือกตั้งของสิงคโปร์ประกอบด้วยเขตเลือกตั้งผู้แทนเดียว (Single Member Constituency – SMC) จำนวน 9 เขต และเขตเลือกตั้งกลุ่มผู้แทน (Group Representation Constituency – GRC) จำนวน 14 เขต ซึ่งพรรค PAP ได้ส่งผู้ลงสมัครในทุกเขต ขณะที่พรรคฝ่ายค้านได้ส่งผู้สมัครในเขต SMC จำนวน 9 เขต และเขต GRC จำนวน 7 เขต รวม 47 ที่นั่ง ซึ่งเป็นจำนวนมากกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมด

มีชาวสิงคโปร์ที่มีสิทธิเลือกตั้ง 1.2 ล้านคนจากจำนวนประชากรทั้งหมด 4 ล้านคน โดยมีผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งร้อยละ 94.01 ทั้งนี้ ร้อยละ 40 เป็นผู้ที่เกิดหลังปี 2508 ซึ่งเป็นปีที่สิงคโปร์ได้ประกาศเอกราช นอกจากนี้ เป็นครั้งแรกที่สิงคโปร์ได้จัดให้มีการเลือกตั้งนอกประเทศในสถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลใหญ่จำนวน 8 แห่ง (กรุงวอชิงตัน นครซานฟรานซิสโก กรุงโตเกียว กรุงปักกิ่ง นครเซี่ยงไฮ้ เมืองฮ่องกง กรุงแคนเบอร์รา และกรุงลอนดอน)


การจัดตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่

เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2549 นายลี เซียน ลุง นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ได้ประกาศแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ ซึ่งจะเข้าพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งต่อประธานาธิบดีสิงคโปร์ในวันที่ 30 พฤษภาคม 2549

คณะรัฐมนตรีชุดนี้ประกอบด้วยรัฐมนตรีจากคณะรัฐมนตรีชุดก่อนและยังคงดำรงตำแหน่งเดิมเป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะตำแหน่งหลัก อาทิ นายโก๊ะ จ๊ก ตง เป็นรัฐมนตรีอาวุโส นายลี กวน ยู เป็นรัฐมนตรีที่ปรึกษา ศาสตราจารย์ เอส จายากูมาร์ เป็นรองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกฎหมาย และรัฐมนตรีประสานงานกิจการด้านความมั่นคงแห่งชาติ นายจอร์จ เยียว เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และนายเตียว ชี เฮียน เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม

รัฐมนตรีในคณะรัฐมนตรีชุดเดิมที่ไม่ได้กลับมาดำรงตำแหน่งอีก ได้แก่ นายเยียว เชียว ตง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม

นโยบาย

เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2548 นายลี เซียน ลุงได้กล่าวถ้อยแถลงต่อประชาชนในโอกาสวันชาติสิงคโปร์ (National Day Rally Speech) โดยได้ระบุถึงทิศทางในการพัฒนาประเทศและการดำเนินนโยบายต่างประเทศ โดยในด้านการต่างประเทศนั้น สิงคโปร์จะให้ความสำคัญในการส่งเสริมความสัมพันธ์กับประเทศอาเซียน (โดยเฉพาะมาเลเซียและอินโดนีเซีย) รวมทั้งกับประเทศมหาอำนาจสำคัญๆ ได้แก่ สหรัฐฯ จีน ญี่ปุ่น อินเดีย สหภาพยุโรปและออสเตรเลีย นอกจากนั้น จะให้ความสำคัญกับการรวมตัวทางเศรษฐกิจของอาเซียน และการแก้ไขปัญหาการก่อการร้าย สำหรับนโยบายภายในประเทศ สิงคโปร์จะมุ่งเน้นเรื่องการปรับตัวทางเศรษฐกิจเพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก (remake Singapore) โดยให้ความสำคัญกับการส่งเสริมนวัตกรรม การประกอบการ การวิจัยและการพัฒนา (innovation, enterprise and R&D) สำหรับด้านสังคม จะให้ความสำคัญกับการขยายโอกาสทางการศึกษาให้กับประชาชน การดูแลคนชราและผู้ที่มีรายได้ต่ำ รวมทั้งการส่งเสริมวัฒนธรรมด้านบริการเพื่อให้สิงคโปร์มีลักษณะของเมืองที่มีความเป็นสากล


การเปิดกว้างทางสังคม

นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ได้ย้ำในหลายโอกาสว่าประสงค์ที่จะพัฒนาสิงคโปร์ให้เป็นสังคมที่โปร่งใสและเปิดกว้างมากขึ้น (a more transparent and open society) โดยจะดำเนินการอย่างค่อยเป็นค่อยไป ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงค่านิยมที่เป็นคุณลักษณะเฉพาะของประเทศ (อาทิ การเป็นพหุสังคมที่มีความแตกต่างด้านเชื้อชาติและศาสนา) มากกว่าการนำระบบเสรีนิยมประชาธิปไตยของตะวันตกมาปรับใช้ อย่างไรก็ดี ผู้เชี่ยวชาญด้านการเมืองสิงคโปร์เห็นว่าประเด็นเรื่องศาสนาและความแตกต่างทางเชื้อชาติเป็นเรื่องที่มีความละเอียดอ่อนในสังคมสิงคโปร์

เศรษฐกิจการค้า

นโยบายด้านเศรษฐกิจ


สิงคโปร์ต้องเผชิญกับประเด็นท้าทายสำคัญสามประการ ได้แก่ การแข่งขันจากประเทศในภูมิภาค การมีประชากรสูงอายุในจำนวนเพิ่มขึ้นขณะที่อัตราการเกิดของประชากรลดลง และการปรับโครงสร้างในภาคการผลิต ซึ่งเน้นการผลิตเพื่อการส่งออก

เมื่อเดือนตุลาคม 2548 นายลิม อึง เคียง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมสิงคโปร์ได้แถลงต่อรัฐสภาเกี่ยวกับแนวทางยุทธศาสตร์เพื่อเพิ่มผลผลิตในภาคอุตสาหกรรม (manufacturing) (ซึ่งมีสัดส่วนเป็นร้อยละ 27.7 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ) ใน 15 ปีข้างหน้า ได้แก่ (1) เพิ่มงบประมาณด้านการวิจัยและการพัฒนาจากร้อยละ 2.1 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศเป็นร้อยละ 3 โดยเน้น 3 สาขา ได้แก่ วิทยาศาสตร์ชีวภาพ (biomedical sciences) เทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมและน้ำ (environmental and water technologies) และสื่อดิจิตัล (interactive and digital media) (2) ส่งเสริมการจัดทำความตกลงทางเศรษฐกิจกับประเทศต่าง ๆ ทั้งในรูปแบบของความตกลงการค้าเสรีทวิภาคี ความตกลงเพื่อส่งเสริมการลงทุน ความตกลงว่าด้วยการยกเว้นภาษีซ้อนและความตกลงการรับรองมาตรฐานร่วม เพื่อขยายช่องทางทางการค้าและการลงทุนให้กับภาคเอกชนสิงคโปร์ (3) ขยายการผลิตในสาขาอุตสาหกรรมสำคัญ ๆ อาทิ อิเล็กทรอนิกส์ เคมีภัณฑ์และวิทยาศาสตร์ชีวภาพ และพัฒนาสาขาอุตสาหกรรมใหม่ ๆ อาทิ นาโนเทคโนโลยี สื่อดิจิตัล เทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมและพลังงานทดแทน และ (4) ขยายการค้าและการลงทุนไปยังตลาดใหม่ๆ อาทิ จีน อินเดีย ตะวันออกกลาง ซึ่งมีบริษัท Government Investment Corporation (GIC) และ Temasek Holdings ซึ่งรัฐบาลเป็นผู้ถือหุ้นมีบทบาทสำคัญในการขยายตลาดดังกล่าว


สถานะการแข่งขันทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ

ในปี 2548 ธนาคารโลกได้จัดให้สิงคโปร์อยู่ในลำดับหนึ่งของประเทศในภูมิภาคเอเชียและลำดับ 2 ของโลกที่มีสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการลงทุนและจัดตั้งธุรกิจสูงที่สุด ปัจจัยที่สนับสนุนสภาพแวดล้อมดังกล่าว ได้แก่ อัตราภาษีศุลกากรที่ต่ำ ระบบราชการอิเล็กทรอนิกส์ที่มีประสิทธิภาพ และความโปร่งใสของระบบราชการ (ปัจจุบัน สิงคโปร์เป็นที่ตั้งของบรรษัทข้ามชาติประมาณ 7,000 แห่งจากสหรัฐ ฯ ยุโรปและญี่ปุ่น วิสาหกิจจำนวน 4,000 แห่งจากจีน อินเดีย ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ และวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมประมาณ 100,000 แห่ง)

ในปี 2548 สถาบัน International Institute for Management Development (IMD) ซึ่งตั้งอยู่ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ได้จัดให้สิงคโปร์เป็นประเทศที่มีศักยภาพการแข่งทางเศรษฐกิจสูงสุดเป็นลำดับ 3 ของโลกรองจากสหรัฐ ฯ และฮ่องกงตามลำดับ โดยประเมินจากปัจจัย 4 ด้านได้แก่ ประสิทธิภาพของภาครัฐบาล ประสิทธิภาพของภาคเอกชน สภาวะทางเศรษฐกิจและโครงสร้างพื้นฐาน

เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2548 องค์การทรัพย์สินทางปัญญาของโลกได้เปิดสำนักงานภูมิภาคในเอเชียเป็นแห่งแรกที่สิงคโปร์ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อมั่นในกฎระเบียบการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาที่มีต่อสิงคโปร์


สถานะเสรีภาพของสื่อมวลชน

ในรายงานประจำปี 2548 ขององค์กรเอกชน Reporters Without Borders เกี่ยวกับดัชนีเสรีภาพของสื่อมวลชน (Press Freedom Index) ของ 167 ประเทศทั่วโลกได้จัดให้สิงคโปร์อยู่ในลำดับที่ 140 ซึ่งต่ำกว่าประเทศสมาชิกก่อตั้งอาเซียนอีก 4 ประเทศได้แก่ อินโดนีเซีย (ลำดับ 102) ไทย (ลำดับ 107) และมาเลเซีย (ลำดับ 113)


สถานะความโปร่งใสของรัฐบาล

ในปี 2548 สถาบัน Transparency International ได้จัดให้สิงคโปร์อยู่ในลำดับที่ 5 จาก 158 ประเทศทั่วโลกที่มีการฉ้อราษฎร์บังหลวงน้อยที่สุด (นายโก๊ะ จ๊ก ตง รัฐมนตรีอาวุโสได้ให้ความเห็นว่าแม้สิงคโปร์จะมีระดับเสรีภาพของสื่อมวลชนต่ำ แต่รัฐบาลมีความโปร่งใสมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ดังนั้น การมีเสรีภาพทางสื่อไม่ได้ช่วยส่งผลให้รัฐบาลของประเทศนั้นๆ มีระบบการปกครองที่มีประสิทธิภาพและโปร่งใสเสมอไป)


สภาวะเศรษฐกิจในปี 2548

ในปี 2548 เศรษฐกิจของสิงคโปร์ขยายตัวในอัตราร้อยละ 6.4 [อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจสิงคโปร์ในปี 2545 ร้อยละ 2.2 ปี 2546 ร้อยละ 1.1 และ ปี 2547 ร้อยละ 8.4 ตามลำดับ] ทั้งนี้ เป็นผลมาจากการขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐ ฯ ญี่ปุ่นและสหภาพยุโรป รวมทั้งอุปสงค์สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในตลาดโลก แม้น้ำมันโลกมีราคาสูงขึ้น แต่กระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมสิงคโปร์ประเมินว่าจะไม่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ เพราะเศรษฐกิจของสหรัฐ ฯ และจีน ซึ่งเป็นตลาดส่งออกที่สำคัญของสิงคโปร์ยังคงมีการขยายตัวอันส่งผลให้อุปสงค์ในสินค้าของสิงคโปร์ยังมีอย่างต่อเนื่อง สำหรับปี 2549 เป็นที่คาดว่า เศรษฐกิจสิงคโปร์จะสามารถขยายตัวในร้อยละ 5-7


การค้าระหว่างประเทศ

ในปี 2548 การค้าระหว่างประเทศของสิงคโปร์ขยายตัวในอัตราร้อยละ 15.5 มีมูลค่ารวม 429.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ประเทศคู่ค้าสำคัญๆ ของสิงคโปร์ ได้แก่ มาเลเซีย สหรัฐ ฯ ญี่ปุ่น จีน ฮ่องกง ไต้หวัน และไทย ตามลำดับ

สิงคโปร์ได้ลงนามความตกลงการค้าเสรีทวิภาคีกับ 11 ประเทศ ได้แก่ อาเซียน(ในกรอบเขตการค้าเสรีอาเซียน) นิวซีแลนด์เมื่อปี 2543 สมาคมเขตการค้าเสรียุโรปเมื่อปี 2545 ญี่ปุ่นเมื่อปี 2545 ออสเตรเลียและสหรัฐ ฯ เมื่อปี 2546 จอร์แดนเมื่อปี 2547 Trans-Pacific Strategic Economic Partnership Agreement (บรูไน ดารุสซาลาม นิวซีแลนด์ ชิลีและสิงคโปร์) เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2548 อินเดียเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2548 เกาหลีใต้เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2548 และปานามาเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2549 ปัจจุบันอยู่ระหว่างการเจรจา กับอีก 16 ประเทศ ได้แก่ กรอบอาเซียนกับจีน อาเซียนกับออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ อาเซียนกับอินเดีย อาเซียนกับญี่ปุ่น อาเซียนกับเกาหลีใต้ แคนาดา เม็กซิโก ศรีลังกา ปากีสถาน ปานามา เปรู คูเวต อียิปต์ บาห์เรน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์และกาตาร์ [ข้อมูลจากกระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมสิงคโปร์]


การพัฒนาเป็นศูนย์กลางของภูมิภาค

เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันกับประเทศในภูมิภาคที่มีต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่า อาทิ เวียดนาม จีนและอินเดีย รัฐบาลสิงคโปร์ให้ความสำคัญกับการพัฒนาประเทศสู่เศรษฐกิจที่มีพื้นฐานแห่งการเรียนรู้ (knowledge - based economy) และดำเนินนโยบายต่างๆ เพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันทางเศรษฐกิจและพัฒนาให้ประเทศเป็นศูนย์กลางธุรกิจบริการที่มีมูลค่าเพิ่มสูงได้แก่ (1) ด้านการบริการทางการแพทย์ สิงคโปร์มีโครงการ SingaporeMedicine ส่งเสริมให้ชาวต่างชาติเดินทางมารักษาพยาบาลที่สิงคโปร์ ซึ่งมุ่งเน้นตลาดในจีน อินเดีย และตะวันออกกลาง (2) ด้านการบิน สิงคโปร์มีเป้าหมายจะรักษาสถานะการเป็นศูนย์กลางทางการบินในภูมิภาคโดยอยู่ในระหว่างการก่อสร้างอาคารหลังที่สาม (Terminal 3) ของท่าอากาศยานชางงีในมูลค่า 1.75 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์ ให้เสร็จสิ้นภายในปี 2551 และอาคารสำหรับสายการบินต้นทุนต่ำในมูลค่า 45 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ ได้เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2549 ซึ่งคาดว่าจะรองรับนักท่องเที่ยวได้จำนวน 2.7 ล้านคนต่อปี (3) ด้านการท่องเที่ยว รัฐบาลสิงคโปร์ได้จัดสรรงบประมาณในมูลค่า 2 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์เพื่อสนับสนุนแผนแม่บทด้านการท่องเที่ยวของสิงคโปร์ใน 10 ปีข้างหน้า (Tourism Master Plan 2015) เพื่อเสริมสร้างให้สิงคโปร์เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญในภูมิภาคและเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวจาก 8 ล้านคน ในปี 2547 เป็น 17 ล้านคนในปี 2558 และรายได้จาก 10 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์เป็น 30 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์ และเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2548 นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ได้แถลงต่อรัฐสภาเกี่ยวกับการตัดสินใจที่จะสร้างบ่อนการพนันในรูปแบบของ Integrated Resort - IR จำนวน 2 แห่งที่บริเวณอ่าว Marina ซึ่งใกล้กับย่านธุรกิจของสิงคโปร์ และบนเกาะ Sentosa ให้เสร็จสิ้นภายในปี 2552 (รายงานการศึกษาของบริษัท Merrill Lynch ระบุว่าบ่อนการพนัน 2 แห่งดังกล่าวจะสร้างรายได้ให้สิงคโปร์ประมาณ 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี และมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ประเมินว่าจะช่วยเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวในอัตราร้อยละ 10) การรณรงค์การท่องเที่ยวโดยเน้นจุดเด่นของสิงคโปร์ในการเป็นสังคมที่มีความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรม “Uniquely Singapore” (4) ด้านการศึกษา สิงคโปร์มีเป้าหมายที่จะพัฒนาให้ประเทศเป็นศูนย์กลางด้านการศึกษา (global schoolhouse) ตั้งแต่ปี 2541 Economic Development Board (EDB) ได้จัดทำโครงการ World Class University (WCU) เพื่อเชิญชวนและดึงดูดให้สถาบันที่มีชื่อเสียงระดับโลกในสาขาต่าง ๆ อาทิ บริหารธุรกิจ วิทยาศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์มาจัดตั้งสาขาในสิงคโปร์ สิงคโปร์ได้ร่วมมือกับสถาบันทางการศึกษาที่มีชื่อเสียงระดับโลกมากกว่า 10 แห่ง อาทิ Massachusetts Institute of Technology, University of Pennsylvania, University of Chicago และ INSEAD เปิดสาขาที่สิงคโปร์ ในหลักสูตรด้านการบริหารธุรกิจ วิทยาศาสตร์การแพทย์และวิศวกรรมศาสตร์ (5) ด้านอุตสาหกรรมที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์ (creative industries) รัฐบาลจะใช้งบประมาณจำนวน 200 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ ระหว่างปี 2547 –2552 เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมเชิงสร้างสรรค์ตามยุทธศาสตร์พัฒนาอุตสาหกรรมเชิงสร้างสรรค์ ซึ่งมีกระทรวงข่าวสาร สารสนเทศและศิลปะเป็นหน่วยงานหลักดูแลเรื่องนี้

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสาธารณรัฐสิงคโปร์


ด้านการทูต


ไทยและสิงคโปร์ได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2508 ความสัมพันธ์ได้ดำเนินมาอย่างราบรื่นมาตลอด 40 ปี และได้พัฒนาไปเป็นลักษณะ "หุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์" ในการดำเนินการเชิงรุกในภูมิภาคและระดับระหว่างประเทศ อาทิ การเร่งรัดรวมตัวทางเศรษฐกิจของอาเซียนตามแนวทาง 2+X และความร่วมมือเพื่อลดช่องว่างทางการพัฒนาแก่ประเทศสมาชิกใหม่อาเซียน (กัมพูชา ลาว เวียดนามและพม่า)

ไทยและสิงคโปร์มีจุดแข็งและมีศักยภาพที่เอื้อประโยชน์ต่อกันเป็นอย่างดี ไทยมีทรัพยากรธรรมชาติ มีแรงงานจำนวนมากและมีพื้นที่กว้างใหญ่ ส่วนสิงคโปร์ไม่มีทรัพยากรธรรมชาติและพื้นที่น้อย แต่มีความก้าวหน้าทางด้านทรัพยากรมนุษย์ เทคโนโลยีและอุตสาหกรรมระดับสูง จึงได้มีการนำจุดแข็งของทั้งสองประเทศมาใช้ร่วมกันจนนำไปสู่การส่งเสริมความสัมพันธ์และการพัฒนาร่วมกันที่ยั่งยืน

ปัจจุบัน นายเฉลิมพล ทันจิตต์ ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตไทยประจำสาธารณรัฐสิงคโปร์และนายปีเตอร์ ชาน เจ่อ ฮิง (Peter Chan Jer Hing) เป็นเอกอัครราชทูตสิงคโปร์ประจำประเทศไทยคนใหม่แทนนายชาน เฮง วิง (Chan Heng Wing) [ นายเฉลิมพล ทันจิตต์ รับตำแหน่งเอกอัครราชทูต ณ สิงคโปร์เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2548 ขณะที่นายปีเตอร์ ชานได้เดินทางมารับตำแหน่งเอกอัครราชทูตสิงคโปร์ประจำประเทศไทยเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2548 ]


ด้านการเมืองและความมั่นคง

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ระหว่างไทยกับสิงคโปร์ได้เพิ่มขึ้นตามลำดับ โดยมีปัจจัยเกื้อหนุนหลายประการ อาทิ ความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดในระดับผู้นำของทั้งสองประเทศ (เนื่องจากมีวิสัยทัศน์เกี่ยวกับการพัฒนาประเทศ การรวมตัวทางเศรษฐกิจของอาเซียนและประเด็นระหว่างประเทศที่คล้ายกัน) เสถียรภาพทางการเมืองของทั้งสองประเทศซึ่งมีส่วนช่วยสร้างความต่อเนื่องทางนโยบายและความร่วมมือระหว่างกัน

ไทยกับสิงคโปร์มีกลไกความร่วมมือทวิภาคี ได้แก่

(1) การประชุมอย่างไม่เป็นทางการระหว่างนายกรัฐมนตรีไทยกับสิงคโปร์(Prime Ministerial Retreat) เป็นผลจากการหารือระหว่างนายกรัฐมนตรีไทยกับสิงคโปร์ในระหว่างการเยือนไทยของนายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ (นายโก๊ะ จ๊ก ตง) เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2546 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความคุ้นเคยระดับผู้นำและรัฐมนตรีของไทยกับสิงคโปร์ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นด้านทวิภาคี ภูมิภาคและระหว่างประเทศที่ทั้งสองฝ่ายสนใจ/เป็นห่วงร่วมกันอย่างตรงไปตรงมา การประชุม Prime Ministerial Retreat ได้ประชุมไปแล้ว 3 ครั้ง เมื่อวันที่ 10-12 มกราคม 2546 ที่จังหวัดภูเก็ต วันที่ 5-7 กันยายน 2546 ที่เกาะ Sentosa สิงคโปร์ และล่าสุดเมื่อวันที่ 2-3 กันยายน 2548 ที่จังหวัดเชียงใหม่

(2) คณะกรรมาธิการบริหารร่วมด้านอุตสาหกรรมป้องกันประเทศระหว่างกองทัพไทย-สิงคโปร์ เพื่อติดตามความก้าวหน้าและแก้ไขปัญหาข้อขัดข้องต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ด้านความมั่นคงของทั้งสองประเทศ รวมทั้งมีการแลกเปลี่ยนการเยือนระหว่างผู้บังคับบัญชาระดับสูงของกองทัพทั้งสองประเทศอย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี้ ยังมีการจัดตั้งคณะทำงานร่วมกองทัพเรือไทย-สิงคโปร์ เพื่อพัฒนาขีดความสามารถและความสัมพันธ์ระหว่างกองทัพเรือของทั้งสองประเทศ ทั้งสองฝ่ายมีการแลกเปลี่ยนความร่วมมือด้านการฝึกและการซ้อมรบร่วมกัน โดยไทยอนุญาตให้สิงคโปร์ใช้พื้นที่ในการฝึกและมีการฝึกบุคลากรทหารร่วมกัน อาทิ การฝึกร่วมผสม (Cobra Gold) รวมทั้งมีการแลกเปลี่ยนการเยือนระหว่างเจ้าหน้าที่ระดับสูงด้านความมั่นคงอย่างสม่ำเสมอ อาทิ พล.อ.วินัย ภัททิยะกุล เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติได้รับเชิญให้ไปร่วมสังเกตการณ์ปฏิบัติการการรับมือกับเหตุการณ์การก่อการร้ายที่สถานีรถไฟใต้ดินของสิงคโปร์ภายใต้รหัส Exercise Northstar เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2549 ซึ่งเป็นการจำลองเหตุการณ์จากการก่อวินาศกรรมที่กรุงลอนดอนเมื่อเดือนมิถุนายน 2548 และศาสตราจารย์ เอส จายากูมาร์ รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการกฎหมายและรัฐมนตรีประสานงานด้านกิจการความมั่นคงเยือนไทยเพื่อแนะนำตัวเมื่อวันที่ 13-16 กุมภาพันธ์ 2549


ด้านเศรษฐกิจ

ด้านการค้า สิงคโปร์เป็นคู่ค้าสำคัญอันดับ 4 ของไทย (รองจากสหรัฐ ฯ ญี่ปุ่น และจีน) ไทยเป็นคู่ค้าสำคัญอันดับ 7 ของสิงคโปร์ ในปี 2548 การค้ารวมระหว่างไทยกับสิงคโปร์มีมูลค่า 12,881 ล้านดอลลาร์สหรัฐ การส่งออกของไทยไปยังสิงคโปร์มีมูลค่า 7,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และนำเข้ามูลค่า 5379.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไทยได้เปรียบดุลการค้ามูลค่า 2,120.8 ล้านดอลลร์สหรัฐ ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา (2545-2548) มูลค่าการส่งออกของไทยไปยังสิงคโปร์ขยายตัวในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 10 ต่อปี สินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ (ปี 2546-2547 มูลค่าลดลงร้อยละ 16.5) น้ำมันสำเร็จรูป (เพิ่มขึ้นร้อยละ 114.7) แผงวงจรไฟฟ้า (เพิ่มขึ้นร้อยละ 35.7) และส่วนประกอบอากาศยานและอุปกรณ์การบิน (เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.3) ตามลำดับ[ข้อมูลจากกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์]

ด้านการลงทุน สิงคโปร์เป็นประเทศที่เข้ามาลงทุนในไทยมากเป็นอันดับที่ 6 (รองจากญี่ปุ่น มาเลเซีย ไต้หวัน สวิตเซอร์แลนด์และเนเธอร์แลนด์) ในปี 2548 สิงคโปร์ได้ยื่นโครงการขอรับการส่งเสริมการลงทุนจำนวน 82 โครงการแก่คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ซึ่งได้รับการอนุมัติ 69 โครงการในมูลค่า 14,421.5 ล้านบาท (ปี 2547 มีมูลค่า 18,238.6 ล้านบาท) ส่วนใหญ่อยู่ในสาขาสาขาอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า การบริการ การโรงแรม การขนส่ง การให้บริการทางการเงินและธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ สาขาผลิตภัณฑ์โลหะและเครื่องจักร พร้อมทั้ง มีความสนใจที่จะลงทุนในสาขาอุตสาหกรรมปิโตรเคมี อุตสาหกรรมการผลิตยา และอุตสาหกรรมไบโอเทคโนโลยี ทั้งนี้ หากพิจารณาจากมุมมองของสิงคโปร์ การลงทุนของสิงคโปร์ในไทยยังมีสัดส่วนไม่มากนักเมื่อเทียบกับการลงทุนรวมของสิงคโปร์ในต่างประเทศ ประเทศที่สิงคโปร์ไปลงทุนมากที่สุด ได้แก่ จีน มาเลเซีย อินโดนีเซีย สหรัฐฯ และสหราชอาณาจักร

ด้านการท่องเที่ยว ชาวสิงคโปร์มีทัศนคติที่ดีต่อประเทศไทยและคนไทย ในเดือนมกราคม-กันยายนปี 2548 มีนักท่องเที่ยวสิงคโปร์เดินทางมาประเทศไทยจำนวน 450,836 (มีสัดส่วนร้อยละ 5.48 ของตลาดการท่องเที่ยวไทย) เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2547 ในจำนวน 398,438 คน ขณะที่นักท่องเที่ยวจากไทยเดินทางไปสิงคโปร์จำนวน 379,000 คน (ปี 2548) (ในปี 2548 สิงคโปร์รับนักท่องเที่ยวจำนวน 8.9 ล้านคน ซึ่งได้นำรายได้เข้าประเทศประมาณ 10.8 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์)[ข้อมูลจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และการท่องเที่ยวแห่งสิงคโปร์ ]

กลไกความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ได้แก่

Singapore-Thailand Enhanced Economic Relations (STEER) ซึ่งจัดตั้งขึ้นเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2545 เพื่อผลักดันความร่วมมือด้านเศรษฐกิจในอุตสาหกรรม 5 สาขา ได้แก่ การเกษตรและอาหาร การท่องเที่ยว การบริการทางการเงิน อิเล็กทรอนิกส์และชิ้นส่วนประกอบยานยนต์และการขนส่ง และเป็นการนำร่องการรวมตัวทางเศรษฐกิจในกรอบอาเซียนตามแนวทาง 2+X สิงคโปร์ได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม STEER ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 25-27 สิงหาคม 2546

ไทยได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม STEER ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 22-23 พฤศจิกายน 2548 ซึ่ง เห็นชอบให้เพิ่มปริมาณการค้า การลงทุนระหว่างกัน รวมทั้งจำนวนนักท่องเที่ยวจากประเทศที่สามเป็น 2 เท่าของตัวเลขในปัจจุบันภายในปี 2553 และส่งเสริมความร่วมมือด้านสินค้าอาหารและเกษตร การขนส่งและโลจิสติกส์ และอสังหาริมทรัพย์ ทั้งภาครัฐบาลและเอกชนของทั้งสองฝ่ายได้มีการลงนามในบันทึกความเข้าใจจำนวน 12 ฉบับ อาทิ ความตกลงเพื่อการคุ้มครองด้านการลงทุนระหว่างไทยกับสิงคโปร์


ด้านสังคม วัฒนธรรมและการศึกษา

กลไกความร่วมมือ ได้แก่

(1) โครงการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานข้าราชการพลเรือนไทย-สิงคโปร์ (Thailand-Singapore Civil Service Exchange Programme-CSEP)ซึ่งตั้งเมื่อปี 2541 มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้หน่วยราชการไทยและสิงคโปร์มีโอกาสพบปะอย่างใกล้ชิดและสร้างความคุ้นเคยระหว่างกัน ซึ่งจะช่วยส่งเสริมความใกล้ชิดและความเป็น “หุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์” ระหว่างกันมากขึ้นจนนำไปสู่การขยายความร่วมมือที่ดีต่อไป รูปแบบของการประชุมคือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของทั้งสองประเทศเป็นประธานร่วมกล่าวเปิดการประชุมและปลัดกระทรวงการต่างประเทศของทั้งสองฝ่ายเป็นประธานการประชุมเต็มคณะ ในปัจจุบันไทยกับสิงคโปร์มี 12 สาขาความร่วมมือภายใต้ CSEP อาทิ การศึกษา แรงงาน วิชาการ สาธารณสุข และวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี CSEP ได้มีการประชุมไปแล้ว 7 ครั้ง ล่าสุดที่สิงคโปร์เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม -2 สิงหาคม 2548


ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม

สิงคโปร์ได้เป็นประเทศแรกๆ ที่ให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศไทยต่อกรณีพิบัติภัยที่ภาคใต้ของประเทศไทยเมื่อเดือนธันวาคม 2547 โดยได้ส่งเครื่องบิน C -130 พร้อมคณะเจ้าหน้าที่ค้นหาและกู้ภัยจำนวน 23 คนจาก Singapore Civil Service Defence Force และยาเวชภัณฑ์ ผ้าห่ม อาหารแห้ง รวม 13 ตัน รวมทั้ง ส่งเฮลิคอปเตอร์ 4 ลำ (Super Pumas 2 ลำ Chinooks 2 ลำ) เพื่อช่วยค้นหาและกู้ภัย รวมทั้งได้ส่งผู้เชี่ยวชาญด้านชันสูตรศพจำนวน 4 คน ไปยังจังหวัดภูเก็ต เพื่อพิสูจน์ศพผู้เสียชีวิต นอกจากนี้ เมื่อเดือนพฤษภาคม 2549 สิงคโปร์ได้ให้ความช่วยเหลือในรูปสิ่งของแก่ผู้ประสบอุทกภัยในภาคเหนือ รวมมูลค่า 50,000 ดอลลาร์สหรัฐ และได้ส่งเฮลิคอปเตอร์ Chinook ของกองทัพอากาศสิงคโปร์ซึ่งฝึกบินในประเทศไทยให้ความช่วยเหลือในภารกิจกู้ภัยที่จังหวัดพิษณุโลก


การเยือนระดับสูง

ฝ่ายไทย

(1) พระบรมวงศานุวงศ์

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
- เสด็จ ฯ เยือนสาธารณรัฐสิงคโปร์อย่างเป็นทางการเมื่อปี 2493 2494 และ 2505

สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร
- เสด็จ ฯ เยือนสาธารณรัฐสิงคโปร์อย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ 2-4 กรกฎาคม 2542
- เสด็จ ฯ เยือนสาธารณรัฐสิงคโปร์เพื่อทรงทำการบิน เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2548

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
- เสด็จ ฯ เยือนสาธารณรัฐสิงคโปร์อย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ 12-14 พฤษภาคม 2547
- เสด็จฯ เยือนสาธารณรัฐสิงคโปร์เป็นการส่วนพระองค์ ระหว่างวันที่ 10-12 กันยายน 2547

สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี
- เสด็จฯ เยือนสาธารณรัฐสิงคโปร์อย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ 12-17 เมษายน 2543 และวันที่ 22-25 มิถุนายน 2543

พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์
- เสด็จ ฯ เยือนสาธารณรัฐสิงคโปร์เพื่อทรงเข้าร่วมการแข่งขันแบดมินตัน Cheers Asian Satellite Badminton Championships 2005 ระหว่างวันที่ 5-11 กันยายน 2548


(2) รัฐบาล

นายกรัฐมนตรี (พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร)
- เยือนอย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ 20-23 สิงหาคม 2544
- เข้าร่วมการประชุมอย่างไม่เป็นทางการระหว่างนายกรัฐมนตรีไทยกับสิงคโปร์ ครั้งที่ 2 (Prime Ministerial Retreat) ระหว่างวันที่ 5-7 กันยายน 2546 และร่วมพิธีเปิดสำนักงานเลขาธิการเอเปค

รองนายกรัฐมนตรี (นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย) ขณะดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
- เยือนอย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ 2-3 สิงหาคม 2545
- เป็นประธานร่วมกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสิงคโปร์ในพิธีเปิดการประชุมระหว่างหน่วยงานข้าราชการพลเรือนไทย-สิงคโปร์ ครั้งที่ 5 (Civil Service Exchange Programme – CSEP) ระหว่างวันที่ 27-28 พฤศจิกายน 2545
- เยือน เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2546

รองนายกรัฐมนตรี (นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย)
- เยือนในภารกิจการสมัครชิงตำแหน่งเลขาธิการสหประชาชาติ ระหว่างวันที่ 10-11 มิถุนายน 2548

รองนายกรัฐมนตรี (นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์)
- เยือนเพื่อร่วมประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจไทย-สิงคโปร์ภายใต้กรอบ Singapore-Thailand Enhanced Economic Relations (STEER) ครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 25-27 สิงหาคม 2546

ประธานสภาผู้แทนราษฎร (นายโภคิน พลกุล)
- เยือนอย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ 16-18 มิถุนายน 2548

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (นายกันตธีร์ ศุภมงคล)
- เยือนอย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ 17-18 พฤษภาคม 2548
- เข้าร่วมการประชุมระหว่างภูมิภาคเอเชีย-ตะวันออกกลาง (Asia-Middle East Dialogue - AMED) ระหว่างวันที่ 20-22 มิถุนายน 2548
- เป็นประธานร่วมกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสิงคโปร์ในพิธีเปิดการประชุมระหว่างหน่วยงานข้าราชการพลเรือนไทย-สิงคโปร์ ครั้งที่ 7 ระหว่างวันที่ 31 กรกฎาคม-1 สิงหาคม 2548

รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม (พล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิตย์)
- เยือนเพื่อหารือข้อราชการกับศาสตราจรย์ เอส จายากูมาร์ รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีกระทรวงว่าการกระทรวงการกฎหมายและรัฐมนตรีประสานงานด้านกิจการความมั่นคงสิงคโปร์ เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2548

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นายจาตุรนต์ ฉายแสง)
- เยือนเพื่อเจรจาความร่วมมือด้านการศึกษาตามคำเชิญชองรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการสิงคโปร์ ระหว่างวันที่ 10-11 กุมภาพันธ์ 2549



ฝ่ายสิงคโปร์

ประธานาธิบดี (นาย เอส อาร์ นาธาน)
- เยือนอย่างเป็นทางการในฐานะพระราชอาคันตุกะของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ ระหว่างวันที่ 17-21 มกราคม 2548

นายกรัฐมนตรี (นายลี เซียน ลุง)
- เยือนอย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ 11-12 พฤศจิกายน 2547
- เข้าร่วมการประชุมอย่างไม่เป็นทางการระหว่างนายกรัฐมนตรีไทยกับสิงคโปร์ ครั้งที่ 3 ระหว่างวันที่ 2-3 กันยายน 2548 ที่จังหวัดเชียงใหม่

รัฐมนตรีที่ปรึกษา (นายลี กวน ยู) ขณะดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีอาวุโส
- เยือนอย่างเป็นทางการในโอกาสกล่าวปาฐกถาพิเศษในงาน Thammasat Business School International Forum 2003 ระหว่างวันที่ 14-17 ธันวาคม 2546

รัฐมนตรีที่ปรึกษา (นายลี กวน ยู)
- เยือนอย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ 1-2 ธันวาคม 2547

รัฐมนตรีอาวุโส (นายโก๊ะ จ๊ก ตง) ขณะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
- เข้าร่วมการประชุมอย่างไม่เป็นทางการระหว่างนายกรัฐมนตรีไทยกับสิงคโปร์ ครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 10-12 มกราคม 2546
- เข้าร่วมการประชุมผู้นำอาเซียนและผู้นำอาเซียน-จีนสมัยพิเศษว่าด้วยโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2546
- เข้าร่วมการประชุมผู้นำเอเปค ครั้งที่ 11

รัฐมนตรีอาวุโส (นายโก๊ะ จ๊ก ตง)
- เข้าร่วมการประชุม Asian Corporate Conference ครั้งที่ 15 เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2548

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (นายจอรจ์ เยียว)
- เยือนอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2547

รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการกฎหมายและรัฐมนตรีประสานงานด้านกิจการความมั่นคง (ศาสตราจารย์ เอส จายากูมาร์)
- เยือนเพื่อเข้าร่วมการประชุม 2nd ASEAN Charter Meeting และเพื่อแนะนำตัว ระหว่างวันที่ 13-16 กุมภาพันธ์ 2549