วันอังคารที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551
นักศึกษามลายูศึกษาจัดรายการวิทยุ มอ. ปัตตานี
ครั้งแรกในชีวิตของการจัดรายการวิทยุ สู้ สู้ สู้ พอเป็นดีเจอาชีพได้มั้ง ช่วยกันพูด ช่วยกันอ่าน ช่วยกันปล่อยทองเหลือง ทองแดง สนั่นห้องส่ง วันหน้า เราสองคนขอโอกาสอย่างนี้อีกครั้ง นางสาวมัสตอนี ปาลาเร่ กับนางสาวอัสมะ ลาเต๊ะ นักศึกษาวิชาเอกมลายูศึกษา ชั้นปีที่ 4 จัดรายการวิทยุ ในหัวข้อว่า "มลายูกับโลกมลายู" เป็นรายการวิทยุของสถานีวิทยุ มอ. ปัตตานี โดยใช้ชื่อรายการว่า "มาลัยสลับสี" สำหรับนักศึกษาทั้งสองเคยผ่านการเข้าร่วมโครงการศึกษาวิถีชีวิตชาวมาเลเซีย เป็นเวลา หนึ่งเดือน โดยเดินทางและใช้ชีวิตร่วมกับครอบครัวอุปถัมภ์ในรัฐกลันตัน รัฐปาหัง รัฐมะละกา และรัฐปรัค ซึ่งก่อนการเดินทางเข้าร่วมโครงการดังกล่าว ทั้งสองคนยังเคยเข้าร่วมโครงการครอบครัวอุปถัมภ์เป็นเวลา หนึ่งสัปดาห์ ที่รัฐมะละกา ซึ่งจัดโดยองค์กรที่ชื่อว่า DMDI นอกจากนั้นทั้งสองคนยังเป็น นักศึกษาปฏิบัติงานของหน่วยวิจัยภูมิภาคมลายูอีกด้วย
ประธานาธิบดีและระบบรัฐสภาสาธารณรัฐอินโดเนเซีย
โดย Nik Abdul Rakib Bin Nik Hassan
ประเทศอินโดเนเซียนั้นมีระบบการปกครองที่ประกอบด้วยประธานาธิบดี และรัฐสภาหรือ Majelis Permusyuwaratan Rakyat ซึ่งรัฐสภานั้นประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎร หรือ Dewan Perwakilan Rakyat และวุฒิสภาหรือ Dewan Perwakilan Daerah
ในที่นี้ขออธิบายระบบการปกครองของสาธารณรัฐอินโดเนเซียดังนั้น
ประธานาธิบดีสาธารณรัฐอินโดเนเซีย
ประธานาธิบดีเป็นผู้นำของประเทศและผู้นำฝ่ายบริหารของประเทศ ตามรัฐธรรมนูญปี 1945 ฉบับแก้ไข ว่าด้วยมาตรา 6 A ประธานาธิบดี(Presiden)และรองประธานาธิบดี(Wakil Presiden)ได้รับการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน ซึ่งก่อนหน้านี้ประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดีได้รับการเลือกตั้งจากMajelis Permusyawaratan Rakyat ดังนั้นการเลือกตั้งจึงไม่ใช่หน้าที่ของ Majelis Permusyawaratan Rakyat อีกต่อไป และประธานาธิบดีกับMajelis Permusyawaratan Rakyat มีสถานะที่เท่าเทียมกัน ประธานาธิบดีมีวาระ 5 ปี อยู่ในวาระได้เพียง 2 สมัย
อำนาจหน้าที่ของประธานาธิบดี
-เป็นผู้บริหารประเทศตามอำนาจในรัฐธรรมรัฐ
-เป็นผู้บัญชาการสูงสุดของกองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ
-เป็นผู้เสนอร่างกฎหมายต่อ DPR
-เป็นผู้ออกกฎข้อบังคับในการบริหารประเทศ
-เป็นผู้แต่งตั้งและปลดคณะรัฐมนตรี
-เป็นผู้แต่งตั้งกงสุลและทูต สำหรับการแต่งตั้งทูตนั้นต้องได้รับความเห็นชอบจาก DPR
-อื่นๆ
ในฐานะที่เป็น “ผู้นำประเทศ” ประธานาธิบดีจึงมีสัญลักษณ์เป็นตัวแทนของประเทศในระดับสากล และในฐานะเป็น “ผู้นำฝ่ายบริหาร” ประธานาธิบดีจึงต้องบริหารประเทศโดยมีคณะรัฐมนตรีเป็นผู้ช่วยในการบริหารประเทศ
การเลือกตั้งประธานาธิบดี
ประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดีได้รับการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน โดยผู้สมัครเป็นประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดีต้องได้รับสนับสนุนจากพรรคการเมืองหรือกลุ่มพรรคการเมืองการเลือกตั้งประธานาธิบดีเกิดขึ้นโดยตรงครั้งแรกในปี 2004 กรณีผู้สมัครเป็นประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดีมีคะแนนมากกว่า 50% จากผู้ลงคะแนนไม่น้อยกว่า 20% ของทุกจังหวัดจากครึ่งหนึ่งของจำนวนจังหวัดทั้งหมด ผู้นั้นได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดี ในกรณีที่มีคะแนนเพียงไม่ถึงก็จะไม่มีผู้ใดได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดี ดังนั้นจึงต้องคัดเลือกผู้สมัครเป็นประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดีที่ได้คะแนนเป็นอันดับหนึ่งและอันดับสองเข้าทำการแข่งขันเป็นประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดีในรอบที่สอง เพื่อนำผู้ที่ได้คะแนนสูงสุดเป็นผู้สมัครเป็นประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดี
ระยะเวลาของประธานาธิบดีอินโดเนเซีย
Ahmad Sukarno 17 สิงหาคม 1945 ถึง 12มีนาคม 1967 จากพรรค Partai Nasionalis Indonesia
Muhammad Suharto 12 มีนาคม 1967 ถึง 21 พฤษภาคม 1998 จากพรรค Golkar
Baharuddin Jusuf Habibie 21 พฤษภาคม 1998 ถึง 20 ตุลาคม 1999 จากพรรค Golkar
Abdurrahman Wahid 20 ตุลาคม 1999 ถึง 23 กรกฎาคม 2001 จากพรรค Partai Kebangkitan Bangsa
Megawati 23 กรกฎาคม 2001 ถึง 20 ตุลาคม 2004 จากพรรค Partai Demokrasi Indonesia - Perjuangan
Susilo Bambang Yudhoyono 20 ตุลาคม 2004 ถึง 2009 จากพรรค Partai Demokrat
Majelis Permusyawaratan Rakyat (MPR)
เป็นองค์กรทางนิติบัญญัติ ที่ประกอบด้วยสมาชิกจาก Dewan Perwakilan Rakyat และ สมาชิกจาก Dewan Perwakilan Daerah. สมาชิกของ MPR ในปัจจุบันมีจำนวน 678 คน ซึ่งมาจาก DPR จำนวน 550 คน และมาจาก DPD จำนวน 128 คน สมาชิกมีวาระ 5 ปี ประธาน MPR คือ Hidayat Nur Wahid MPR
มีอำนาจหน้าที่ :
-แก้ไขรัฐธรรมนูญปี 1945
-แต่งตั้งประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดีตามที่ได้รับเลือกจากประชาชน
-แต่งตั้งรองประธานาธิบดีเป็นประธานาธิบดี เมื่อประธานาธิบดีเสียชีวิต ลาออก ถูกปลด หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้
ในขณะอยู่ในวาระ
-เลือกรองประธานาธิบดีจาก 2 รายชื่อที่ได้ถูกเสนอโดยประธานาธิบดีในกรณีรองประธานาธิบดีว่างลง
-เลือกประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดีในกรณีที่ผู้ดำรงตำแหน่งทั้งสองลาออกพร้อมกัน
การประชุม MPR ต้องอย่างน้อย 1 ครั้งในวาระ 5 ปี
Dewan Perwakilan Rakyat (DPR)
เป็นองค์กรในระบบการปกครองที่มีสถานะเป็นสภาผู้แทนราษฎร มีอำนาจในการออกกฎหมาย
สมาชิกของ DPR ประกอบด้วยสมาชิกของพรรคการเมืองที่เข้าร่วมในการเลือกตั้ง ปัจจุบันมีสมาชิก 550 คน มีวาระ 5 ปี ประธานของ DPR คือ Agung Laksono DPR
มีอำนาจหน้าที่ :
-ร่วมร่างกฎหมายกับประธานาธิบดีเพื่อความเห็นชอบร่วมกัน
-เห็นชอบการออกกฎระเบียบในการบริหารการปกครอง
-รับร่างกฎหมายที่เสนอโดย DPD
-เห็นชอบในการแต่งตั้งประธานศาลฎีกา
-เห็นชอบในการแต่งตั้งสมาชิกศาลรัฐธรรมนูญ
-เห็นชอบการแต่งตั้งทูต ทูตจากต่างประเทศ
-อื่นๆ
สมาชิก DPR ประกอบด้วยผู้ที่ได้รับการเลือกตั้งปี 2004
กลุ่ม Partai Golongan Karya (F-PG) จำนวน 129 คน ผู้นำชื่อ Priyo Budi Santoso
กลุ่มFraksi Partai Demokrasi Indonesia Perjuangan (F-PDIP) จำนวน 109 คน ผู้นำชื่อ Tjahjo Kumolo
กลุ่มFraksi Partai Persatuan Pembangunan (F-PPP) จำนวน 58 คน ผู้นำชื่อ Endin J Soefihara
กลุ่มFraksi Partai Demokrat (F-PD) จำนวน 57คน ผู้นำชื่อ Sukartono Hadiwarsito
กลุ่มFraksi Partai Amanat Nasional (F-PAN) จำนวน 53 คน ผู้นำชื่อ Abdillah Toha
กลุ่มFraksi Partai Kebangkitan Bangsa (F-PKB)จำนวน52 คน ผู้นำชื่อ Ida Fauziyah
กลุ่มFraksi Partai Keadilan Sejahtera (F-PKS) จำนวน 45 คน ผู้นำชื่อ Mahfud Sidik
กลุ่มFraksi Partai Bintang Reformasi (F-PBR) จำนวน 14คน
กลุ่มFraksi Partai Damai Sejahtera (F-PDS) จำนวน 13 คน
กลุ่มFraksi Bintang Pelopor Demokrasi (F-BPD) จำนวน 20คน
หมายเหตุ กลุ่ม F-PD ประกอบด้วยสมาชิก 56 คนจากพรรค Partai Demokrat และสมาชิก 1 คนจาก Partai Keadilan dan Persatuan Indonesia.
กลุ่ม F-BPD ประกอบด้วยสมาชิก 11 คนจากพรรค Partai Bulan Bintang สมาชิก 4 คนจากพรรค Partai Persatuan Demokrasi Kebangsaan สมาชิก 3 คนจากพรรค Partai Pelopor สมาชิก 1 คนจากพรรค Partai Penegak Demokrasi Indonesia และสมาชิก 1 คนจากพรรค Partai Nasionalis Indonesia Marhaen
Dewan Perwakilan Daerah (DPD)
เป็นองค์กรในระบบการปกครองที่สมาชิกประกอบด้วยตัวแทนมาจากแต่ละจังหวัด โดยได้รับการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน สมาชิกของ DPD มาจากจังหวัดละ 4 คน ในปัจจุบันสมาชิกของ DPD มีจำนวน 128คน มีวาระ 5 ปี
มีอำนาจหน้าที่ :
-ควบคุมดูแลการออกกฎหมายบางฉบับ
-ร่วมในการอภิปราย พิจารณาในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
-ร่วมเสนอกฎหมายต่อ DPR เกี่ยวกับการปกครองอิสระของท้องถิ่น ความสัมพันธ์ระหว่างศูนย์กลางกับท้องถิ่น การ
แยกและรวมดินแดนในท้องถิ่น การใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ทรัพยากรทางเศรษฐกิจ การเงินของศูนย์กลางและท้องถิ่น
-อื่นๆ
ผู้นำของ DPD ประกอบด้วยประธาน คือ Ginandjar Kartasasmitaและรองประธานอีก 2 คน
Dewan Perwakilan Rakyat Daerah (DPRD)
เป็นองค์กรทางการนิติบัญญัตในระดับท้องถิ่น สมาชิกประกอบด้วยสมาชิกพรรคการเมืองที่เข้าลงรับเลือกตั้งจากประชาชน DPRD ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ
-DPRD ระดับจังหวัด (Provinsi) มีทุกจังหวัด สมาชิกอยู่ระหว่าง 35-100 คน
-DPRD ระดับอำเภอและเมือง (DPRD Kabupaten/Kota) สมาชิกอยู่ระหว่าง 20-45 คน
DPRD มีสถานะเป็นองค์กรทางนิติบัญญัติ เดิมผู้นำฝ่ายบริหารมาจากการเลือกของ DPRD แต่ในปัจจุบันผู้นำท้องถิ่นมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน
ประเทศอินโดเนเซียนั้นมีระบบการปกครองที่ประกอบด้วยประธานาธิบดี และรัฐสภาหรือ Majelis Permusyuwaratan Rakyat ซึ่งรัฐสภานั้นประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎร หรือ Dewan Perwakilan Rakyat และวุฒิสภาหรือ Dewan Perwakilan Daerah
ในที่นี้ขออธิบายระบบการปกครองของสาธารณรัฐอินโดเนเซียดังนั้น
ประธานาธิบดีสาธารณรัฐอินโดเนเซีย
ประธานาธิบดีเป็นผู้นำของประเทศและผู้นำฝ่ายบริหารของประเทศ ตามรัฐธรรมนูญปี 1945 ฉบับแก้ไข ว่าด้วยมาตรา 6 A ประธานาธิบดี(Presiden)และรองประธานาธิบดี(Wakil Presiden)ได้รับการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน ซึ่งก่อนหน้านี้ประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดีได้รับการเลือกตั้งจากMajelis Permusyawaratan Rakyat ดังนั้นการเลือกตั้งจึงไม่ใช่หน้าที่ของ Majelis Permusyawaratan Rakyat อีกต่อไป และประธานาธิบดีกับMajelis Permusyawaratan Rakyat มีสถานะที่เท่าเทียมกัน ประธานาธิบดีมีวาระ 5 ปี อยู่ในวาระได้เพียง 2 สมัย
อำนาจหน้าที่ของประธานาธิบดี
-เป็นผู้บริหารประเทศตามอำนาจในรัฐธรรมรัฐ
-เป็นผู้บัญชาการสูงสุดของกองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ
-เป็นผู้เสนอร่างกฎหมายต่อ DPR
-เป็นผู้ออกกฎข้อบังคับในการบริหารประเทศ
-เป็นผู้แต่งตั้งและปลดคณะรัฐมนตรี
-เป็นผู้แต่งตั้งกงสุลและทูต สำหรับการแต่งตั้งทูตนั้นต้องได้รับความเห็นชอบจาก DPR
-อื่นๆ
ในฐานะที่เป็น “ผู้นำประเทศ” ประธานาธิบดีจึงมีสัญลักษณ์เป็นตัวแทนของประเทศในระดับสากล และในฐานะเป็น “ผู้นำฝ่ายบริหาร” ประธานาธิบดีจึงต้องบริหารประเทศโดยมีคณะรัฐมนตรีเป็นผู้ช่วยในการบริหารประเทศ
การเลือกตั้งประธานาธิบดี
ประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดีได้รับการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน โดยผู้สมัครเป็นประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดีต้องได้รับสนับสนุนจากพรรคการเมืองหรือกลุ่มพรรคการเมืองการเลือกตั้งประธานาธิบดีเกิดขึ้นโดยตรงครั้งแรกในปี 2004 กรณีผู้สมัครเป็นประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดีมีคะแนนมากกว่า 50% จากผู้ลงคะแนนไม่น้อยกว่า 20% ของทุกจังหวัดจากครึ่งหนึ่งของจำนวนจังหวัดทั้งหมด ผู้นั้นได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดี ในกรณีที่มีคะแนนเพียงไม่ถึงก็จะไม่มีผู้ใดได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดี ดังนั้นจึงต้องคัดเลือกผู้สมัครเป็นประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดีที่ได้คะแนนเป็นอันดับหนึ่งและอันดับสองเข้าทำการแข่งขันเป็นประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดีในรอบที่สอง เพื่อนำผู้ที่ได้คะแนนสูงสุดเป็นผู้สมัครเป็นประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดี
ระยะเวลาของประธานาธิบดีอินโดเนเซีย
Ahmad Sukarno 17 สิงหาคม 1945 ถึง 12มีนาคม 1967 จากพรรค Partai Nasionalis Indonesia
Muhammad Suharto 12 มีนาคม 1967 ถึง 21 พฤษภาคม 1998 จากพรรค Golkar
Baharuddin Jusuf Habibie 21 พฤษภาคม 1998 ถึง 20 ตุลาคม 1999 จากพรรค Golkar
Abdurrahman Wahid 20 ตุลาคม 1999 ถึง 23 กรกฎาคม 2001 จากพรรค Partai Kebangkitan Bangsa
Megawati 23 กรกฎาคม 2001 ถึง 20 ตุลาคม 2004 จากพรรค Partai Demokrasi Indonesia - Perjuangan
Susilo Bambang Yudhoyono 20 ตุลาคม 2004 ถึง 2009 จากพรรค Partai Demokrat
Majelis Permusyawaratan Rakyat (MPR)
เป็นองค์กรทางนิติบัญญัติ ที่ประกอบด้วยสมาชิกจาก Dewan Perwakilan Rakyat และ สมาชิกจาก Dewan Perwakilan Daerah. สมาชิกของ MPR ในปัจจุบันมีจำนวน 678 คน ซึ่งมาจาก DPR จำนวน 550 คน และมาจาก DPD จำนวน 128 คน สมาชิกมีวาระ 5 ปี ประธาน MPR คือ Hidayat Nur Wahid MPR
มีอำนาจหน้าที่ :
-แก้ไขรัฐธรรมนูญปี 1945
-แต่งตั้งประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดีตามที่ได้รับเลือกจากประชาชน
-แต่งตั้งรองประธานาธิบดีเป็นประธานาธิบดี เมื่อประธานาธิบดีเสียชีวิต ลาออก ถูกปลด หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้
ในขณะอยู่ในวาระ
-เลือกรองประธานาธิบดีจาก 2 รายชื่อที่ได้ถูกเสนอโดยประธานาธิบดีในกรณีรองประธานาธิบดีว่างลง
-เลือกประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดีในกรณีที่ผู้ดำรงตำแหน่งทั้งสองลาออกพร้อมกัน
การประชุม MPR ต้องอย่างน้อย 1 ครั้งในวาระ 5 ปี
Dewan Perwakilan Rakyat (DPR)
เป็นองค์กรในระบบการปกครองที่มีสถานะเป็นสภาผู้แทนราษฎร มีอำนาจในการออกกฎหมาย
สมาชิกของ DPR ประกอบด้วยสมาชิกของพรรคการเมืองที่เข้าร่วมในการเลือกตั้ง ปัจจุบันมีสมาชิก 550 คน มีวาระ 5 ปี ประธานของ DPR คือ Agung Laksono DPR
มีอำนาจหน้าที่ :
-ร่วมร่างกฎหมายกับประธานาธิบดีเพื่อความเห็นชอบร่วมกัน
-เห็นชอบการออกกฎระเบียบในการบริหารการปกครอง
-รับร่างกฎหมายที่เสนอโดย DPD
-เห็นชอบในการแต่งตั้งประธานศาลฎีกา
-เห็นชอบในการแต่งตั้งสมาชิกศาลรัฐธรรมนูญ
-เห็นชอบการแต่งตั้งทูต ทูตจากต่างประเทศ
-อื่นๆ
สมาชิก DPR ประกอบด้วยผู้ที่ได้รับการเลือกตั้งปี 2004
กลุ่ม Partai Golongan Karya (F-PG) จำนวน 129 คน ผู้นำชื่อ Priyo Budi Santoso
กลุ่มFraksi Partai Demokrasi Indonesia Perjuangan (F-PDIP) จำนวน 109 คน ผู้นำชื่อ Tjahjo Kumolo
กลุ่มFraksi Partai Persatuan Pembangunan (F-PPP) จำนวน 58 คน ผู้นำชื่อ Endin J Soefihara
กลุ่มFraksi Partai Demokrat (F-PD) จำนวน 57คน ผู้นำชื่อ Sukartono Hadiwarsito
กลุ่มFraksi Partai Amanat Nasional (F-PAN) จำนวน 53 คน ผู้นำชื่อ Abdillah Toha
กลุ่มFraksi Partai Kebangkitan Bangsa (F-PKB)จำนวน52 คน ผู้นำชื่อ Ida Fauziyah
กลุ่มFraksi Partai Keadilan Sejahtera (F-PKS) จำนวน 45 คน ผู้นำชื่อ Mahfud Sidik
กลุ่มFraksi Partai Bintang Reformasi (F-PBR) จำนวน 14คน
กลุ่มFraksi Partai Damai Sejahtera (F-PDS) จำนวน 13 คน
กลุ่มFraksi Bintang Pelopor Demokrasi (F-BPD) จำนวน 20คน
หมายเหตุ กลุ่ม F-PD ประกอบด้วยสมาชิก 56 คนจากพรรค Partai Demokrat และสมาชิก 1 คนจาก Partai Keadilan dan Persatuan Indonesia.
กลุ่ม F-BPD ประกอบด้วยสมาชิก 11 คนจากพรรค Partai Bulan Bintang สมาชิก 4 คนจากพรรค Partai Persatuan Demokrasi Kebangsaan สมาชิก 3 คนจากพรรค Partai Pelopor สมาชิก 1 คนจากพรรค Partai Penegak Demokrasi Indonesia และสมาชิก 1 คนจากพรรค Partai Nasionalis Indonesia Marhaen
Dewan Perwakilan Daerah (DPD)
เป็นองค์กรในระบบการปกครองที่สมาชิกประกอบด้วยตัวแทนมาจากแต่ละจังหวัด โดยได้รับการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน สมาชิกของ DPD มาจากจังหวัดละ 4 คน ในปัจจุบันสมาชิกของ DPD มีจำนวน 128คน มีวาระ 5 ปี
มีอำนาจหน้าที่ :
-ควบคุมดูแลการออกกฎหมายบางฉบับ
-ร่วมในการอภิปราย พิจารณาในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
-ร่วมเสนอกฎหมายต่อ DPR เกี่ยวกับการปกครองอิสระของท้องถิ่น ความสัมพันธ์ระหว่างศูนย์กลางกับท้องถิ่น การ
แยกและรวมดินแดนในท้องถิ่น การใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ทรัพยากรทางเศรษฐกิจ การเงินของศูนย์กลางและท้องถิ่น
-อื่นๆ
ผู้นำของ DPD ประกอบด้วยประธาน คือ Ginandjar Kartasasmitaและรองประธานอีก 2 คน
Dewan Perwakilan Rakyat Daerah (DPRD)
เป็นองค์กรทางการนิติบัญญัตในระดับท้องถิ่น สมาชิกประกอบด้วยสมาชิกพรรคการเมืองที่เข้าลงรับเลือกตั้งจากประชาชน DPRD ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ
-DPRD ระดับจังหวัด (Provinsi) มีทุกจังหวัด สมาชิกอยู่ระหว่าง 35-100 คน
-DPRD ระดับอำเภอและเมือง (DPRD Kabupaten/Kota) สมาชิกอยู่ระหว่าง 20-45 คน
DPRD มีสถานะเป็นองค์กรทางนิติบัญญัติ เดิมผู้นำฝ่ายบริหารมาจากการเลือกของ DPRD แต่ในปัจจุบันผู้นำท้องถิ่นมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน
กฎหมายอิสลามในประเทศอินโดเนเซีย
โดย นิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน
ประเทศอินโดเนเซีย เป็นประเทศที่มีประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม ดังนั้นวิถีชีวิตของชาวอินโดเนเซียจึงมีความสัมพันธ์กับศาสนาอิสลาม สำหรับกฎหมายอิสลามในประเทศอินโดเนเซียนั้น ในอดีตมีการนำกฎหมายอิสลามมาใช้ โดยในอินโดเนเซียเริ่มมีการนำกฎหมายตามหลักการศาสนาอิสลามมาใช้เมื่อปี 1882 โดยฮอลันดาซึ่งขณะนั้นปกครองอินโดเนเซียได้ประกาศ Royal Decree เพื่ออนุญาตให้มีการจัดตั้งศาลศาสนา หรือที่เรียกว่า Priest Court มาใช้ในพื้นที่เกาะชวา และมาดูรา
การแต่งงานในประเทศอินโดเนเซียตามกฎหมายการแต่งงาน หรือ Marriage Law 1974 กำหนดให้ฝ่ายชายมีอายุไม่ต่ำกว่า 19 ปี ส่วนฝ่ายหญิงมีอายุไม่ต่ำกว่า 16 ปี การแต่งงานนั้นสำหรับผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามต้องไปจดทะเบียนที่ Department of Religious Affair หรือ กระทรวงการศาสนา ส่วนผู่ที่ไม่ได้นับถือศาสนาอิสลามต้องไปจดทะเบียนที่ Department of Internal Affair หรือ กระทรวงมหาดไทย
บทบาทของกฎหมายอิสลามในประเทศอินโดเนเซียนั้น นอกจากที่มีการจัดตั้งศาลชารีอะห์แล้ว ยังสามารถเห็นได้อย่างชัดเจนในจังหวัดนังโกรอาเจะห์ดารุสสาลาม จังหวัดนี้เดิมมีชื่อว่า จังหวัดเขตปกครองพิเศษอาเจะห์ ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นจังหวัดนังโกรอาเจะห์ดารุสสาลาม
กฎหมายในจังหวัดนังโกรอาเจะห์ดารุสสาลาม
ปี 2002 มีการประกาศกฎหมายว่าด้วยศาลชารีอะห์
ปี 2003 มีการประกาศเกี่ยวกับกฎหมายการพนัน (Perjudian)
ปี 2003 มีการประกาศเกี่ยวกับกฎหมาย Khalwat
ปี 2004 มีการประกาศเกี่ยวกับกฎหมายซากาต (Pengelolaan Zakat)
ปี 2004 มีการประกาศเกี่ยวกับกฎหมายการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจในจังหวัดนังโกรอาเจะห์ดารุสสาลาม
กฎหมายการปกครองอาเจะห์ (Undang-Undang Pemerintahan Aceh) เป็นกฎหมายใหม่ที่นำมาใช้ในจังหวัดนังโกรอาเจะห์ดารุสสาลาม แทนกฎหมายการปกครองพิเศษ (Undang-Undang Otonami Khusus) ซึ่งเป็นกฎมายการปกครองอาเจะห์นี้มีผลมาจากการเจรจายุติสงครามระหว่างรัฐบาลอินโดเนเซียกับขบวนการอาเจะห์เสรี หรือ Gerakan Aceh Merdeka (GAM) การเจรจาครั้งนั้นดำเนินการที่กรุงเฮลซินกิ ประเทศนอร์เวย์ สำหรับกฎหมาย การปกครองอาเจะห์นี้ได้ผ่านการลงมติของสภาผู้แทนราษฎร หรือ Dewan Perwakilan Rakyat (DPR) เมื่อ 11 กรกฎาคม 2006
เนื้อหาสำคัญของกฎมายการปกครองอาเจะห์ คือ
- มีการนำหลักการกฎหมายอิสลาม หรือ กฎหมายชารีอะห์มาใช้ในจังหวัดนังโกรอาเจะห์ดารุสสาลาม
- น้ำมันและแก๊ส ซึ่งเป็นทรัพยากรธรรมชาติของจังหวัดนังโกรอาเจะห์ดารุสสาลามนั้นรัฐบาลอินโดเนเซียต้องให้ผู้ปกครองจังหวัดนังโกรอาเจะห์ดารุสสาลามร่วมรับผิดชอบด้วย
- มีการอนุญาตให้สามารถจัดตั้งพรรคการเมืองท้องถิ่นในจังหวัดนังโกรอาเจะห์ดารุสสาลามได้ เป็นพรรคการเมืองที่ดำเนินกิจกรรมทางการเมืองเฉพาะภายในจังหวัดนังโกรอาเจะห์ดารุสสาลาม ด้วยกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งพรรคการเมืองของอินโดเนเซียนั้นมีเงื่อนไขว่าพรรคการเมืองต้องมีสาขาพรรคในท้องถิ่นต่างๆทั่วประเทศ
ประเทศอินโดเนเซีย เป็นประเทศที่มีประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม ดังนั้นวิถีชีวิตของชาวอินโดเนเซียจึงมีความสัมพันธ์กับศาสนาอิสลาม สำหรับกฎหมายอิสลามในประเทศอินโดเนเซียนั้น ในอดีตมีการนำกฎหมายอิสลามมาใช้ โดยในอินโดเนเซียเริ่มมีการนำกฎหมายตามหลักการศาสนาอิสลามมาใช้เมื่อปี 1882 โดยฮอลันดาซึ่งขณะนั้นปกครองอินโดเนเซียได้ประกาศ Royal Decree เพื่ออนุญาตให้มีการจัดตั้งศาลศาสนา หรือที่เรียกว่า Priest Court มาใช้ในพื้นที่เกาะชวา และมาดูรา
การแต่งงานในประเทศอินโดเนเซียตามกฎหมายการแต่งงาน หรือ Marriage Law 1974 กำหนดให้ฝ่ายชายมีอายุไม่ต่ำกว่า 19 ปี ส่วนฝ่ายหญิงมีอายุไม่ต่ำกว่า 16 ปี การแต่งงานนั้นสำหรับผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามต้องไปจดทะเบียนที่ Department of Religious Affair หรือ กระทรวงการศาสนา ส่วนผู่ที่ไม่ได้นับถือศาสนาอิสลามต้องไปจดทะเบียนที่ Department of Internal Affair หรือ กระทรวงมหาดไทย
บทบาทของกฎหมายอิสลามในประเทศอินโดเนเซียนั้น นอกจากที่มีการจัดตั้งศาลชารีอะห์แล้ว ยังสามารถเห็นได้อย่างชัดเจนในจังหวัดนังโกรอาเจะห์ดารุสสาลาม จังหวัดนี้เดิมมีชื่อว่า จังหวัดเขตปกครองพิเศษอาเจะห์ ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นจังหวัดนังโกรอาเจะห์ดารุสสาลาม
กฎหมายในจังหวัดนังโกรอาเจะห์ดารุสสาลาม
ปี 2002 มีการประกาศกฎหมายว่าด้วยศาลชารีอะห์
ปี 2003 มีการประกาศเกี่ยวกับกฎหมายการพนัน (Perjudian)
ปี 2003 มีการประกาศเกี่ยวกับกฎหมาย Khalwat
ปี 2004 มีการประกาศเกี่ยวกับกฎหมายซากาต (Pengelolaan Zakat)
ปี 2004 มีการประกาศเกี่ยวกับกฎหมายการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจในจังหวัดนังโกรอาเจะห์ดารุสสาลาม
กฎหมายการปกครองอาเจะห์ (Undang-Undang Pemerintahan Aceh) เป็นกฎหมายใหม่ที่นำมาใช้ในจังหวัดนังโกรอาเจะห์ดารุสสาลาม แทนกฎหมายการปกครองพิเศษ (Undang-Undang Otonami Khusus) ซึ่งเป็นกฎมายการปกครองอาเจะห์นี้มีผลมาจากการเจรจายุติสงครามระหว่างรัฐบาลอินโดเนเซียกับขบวนการอาเจะห์เสรี หรือ Gerakan Aceh Merdeka (GAM) การเจรจาครั้งนั้นดำเนินการที่กรุงเฮลซินกิ ประเทศนอร์เวย์ สำหรับกฎหมาย การปกครองอาเจะห์นี้ได้ผ่านการลงมติของสภาผู้แทนราษฎร หรือ Dewan Perwakilan Rakyat (DPR) เมื่อ 11 กรกฎาคม 2006
เนื้อหาสำคัญของกฎมายการปกครองอาเจะห์ คือ
- มีการนำหลักการกฎหมายอิสลาม หรือ กฎหมายชารีอะห์มาใช้ในจังหวัดนังโกรอาเจะห์ดารุสสาลาม
- น้ำมันและแก๊ส ซึ่งเป็นทรัพยากรธรรมชาติของจังหวัดนังโกรอาเจะห์ดารุสสาลามนั้นรัฐบาลอินโดเนเซียต้องให้ผู้ปกครองจังหวัดนังโกรอาเจะห์ดารุสสาลามร่วมรับผิดชอบด้วย
- มีการอนุญาตให้สามารถจัดตั้งพรรคการเมืองท้องถิ่นในจังหวัดนังโกรอาเจะห์ดารุสสาลามได้ เป็นพรรคการเมืองที่ดำเนินกิจกรรมทางการเมืองเฉพาะภายในจังหวัดนังโกรอาเจะห์ดารุสสาลาม ด้วยกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งพรรคการเมืองของอินโดเนเซียนั้นมีเงื่อนไขว่าพรรคการเมืองต้องมีสาขาพรรคในท้องถิ่นต่างๆทั่วประเทศ
ความเป็นมาของชื่อประเทศอินโดเนเซีย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์
โดย นิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน
ประเทศอินโดเนเซีย
ในปีทศวรรษที่ 1920 นาย Ernest Francois Eugene Douwes Dekker (1879-1950), ซึ่งรู้จักกันในนามของ Dr. Setiabudi ได้เสนอชื่อของประเทศอินโดเนเซียโดยชื่อนั้นไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับคำว่า “อินเดีย” ชื่อที่เขาเสนอนั้นคือ นูซันตารา หรือ Nusantara เป็นที่ถูกลืมมานับร้อยปี Dr. Setiabudi นำชื่อนี้มาจากหนังสือโบราณที่ชื่อว่า Pararaton เป็นหนังสือที่มีการค้นพบที่เกาะบาหลีในศตวรรษที่ 9 หนังสือนี้เขียนขึ้นในสมัยมาชาปาฮิต หนังสือเล่มนี้ได้รับการแปลโดย J.L.A. Brandes และจัดพิมพ์ในปี 1920โดยNicholaas Johannes Krom ความหมายของ Nusantara ที่ Dr. Setiabudi ให้ความหมายนั้นแตกต่างจากความหมายในสมัยมาชาปาฮิต ซึ่งในสมัยมาชาปาฮิตนั้นคำว่า Nusantara หมายถึงบรรดาเกาะที่อยู่นอกเกาะชวา คำว่า antara ในภาษาสันสกฤตหมายถึง ภายนอก, ฝั่งตรงข้าม อันมีความหมายที่ตรงกันข้ามกับคำว่า Jawadwipa (เกาะชวา) ใน Sumpah Palapa ของ Gajah Madaได้กล่าวว่า
"Lamun huwus kalah nusantara, isun amukti palapa" (ถ้าสามารถเอาชนะบรรดาเกาะฝั่งตรงข้ามได้แล้ว ข้าจึงจะพักผ่อน)
Dr. Setiabudi กล่าวว่าความหมายในสมัยมาชาปาฮิต เป็นการให้ความหมายที่เน้นชาตินิยม การให้ความหมายของ Dr. Setiabudi นั้น เขากล่าวว่ามีคำว่า antara มีความหมายในภาษามลายูว่า ระหว่าง ทำให้คำว่า นูซันตารา หรือ nusantara มีความหมายว่า ดินแดนที่อยู่ระหว่างสองทวีป สองมหาสมุทร ซึ่งจะทำให้เกาะชวาก็เป็นส่วนหนึ่งของดินแดนดังกล่าว การเสนอชื่อ nusantara ของ Dr. Setiabudi ทำให้ชื่อนี้ได้รับความนิยมของประชาชนนอกเหนือจากชื่อเรียกดินแดนอินโดเนเซียในสมัยนั้นว่า Hindia Belanda จนถึงปัจจุบันคำว่า nusantara มีความหมายถึงประเทศอินโดเนเซีย อย่างไรก็ตาม คำว่า Nusantara นั้นในวงวิชาการทั่วไปยังมีความหมายถึง ดินแดนภูมิภาคมลายู ซึ่งประกอบด้วยประเทศมาเลเซีย อินโดเนเซีย บรูไน สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ และภาคใต้ของประเทศไทย
ในปี 1847 ที่สิงคปร์ ได้มีการออกวารสารวิชาการรายปี มีชื่อว่า Journal of the Indian Archipelago and Eastern Asia (JIAEA) โดยมีบรรณาธิการชื่อ James Richardson Logan (1819-1869) เป็นนักวิชาการชาวสกอตแลนด์ที่จบการศึกษาด้านกฎหมายจากมหาวิทยาลัยเอดินเบิร์ก (Universitas Edinburgh) ต่อมาในปี 1849 มีนักมานุษยวิทยาชาวอังกฤษชื่อว่า George Samuel Windsor Earl (1813-1865) ได้เข้าร่วมเป็นบรรณาธิการของวารสาร JIAEA ด้วย
ในวารสาร JIAEA ฉบับที่ IV ปี tahun 1850 หน้า 66-74 George Samuel Windsor Earl ได้เขียนบทความชื่อ On the Leading Characteristics of the Papuan, Australian and Malay-Polynesian Nations ในบทความดังกล่าวเขาได้เขียนว่า ถึงเวลาแล้วที่ประชาชนชาวหมู่เกาะอินเดียหรือหมู่เกาะมลายูจะมีชื่อเรียกดินแดนของตนเองเป็นการเฉพาะ (a distinctive name) เพราะชื่อฮินเดียนั้นไม่ถูกต้อง และมักสับสนกับชื่ออินเดียอีกแห่งหนึ่ง และ เขาเสนอชื่อเฉพาะสำหรับดินแดนอินโดเนเซียในปัจจุบัน 2 ชื่อให้เลือก ชื่อดังกล่าวคือ Indunesia หรือ Malayunesia โดยคำว่า nesosในภาษากรีกมีความหมายว่า เกาะ โดยเขาได้เขียนในหน้า 71 ของบทความดังกล่าวว่า
"... the inhabitants of the Indian Archipelago or Malayan Archipelago would become respectively Indunesians or Malayunesians".
George Samuel Windsor Earl ให้ความสนใจชื่อ Malayunesia (หมู่เกาะมลายู)มากกว่าชื่อ Indunesia (หมู่เกาะฮินเดีย หรือหมู่เกาะอินเดีย) เพราะคำว่า Malayunesia มีความถูกต้องกับดินแดนของชนชาติมลายู ส่วน Indunesia เขากล่าวว่าสามารถใช้กับดินแดนที่เป็นประเทศศรีลังกาหรือมัลดีฟส์ในปัจจุบัน และด้วยดินแดนนี้มีการใช้ภาษามลายูในการสื่อสาร ในบทความดังกล่าวเขาใช้คำว่า Malayunesia เมื่อกล่าวถึงดินแดนอินโดเนเซียปัจจุบันdan tidak memakai istilah Indunesia.
ในวารสารวิชาร JIAEA เล่มเดียวกันนั้น James Richardson Logan ได้เขียนบทความชื่อ The Ethnology of the Indian Archipelago ในหน้า 252-347 ในบทความดังกล่าวเขากล่าวว่าดินแดนอินโดเนเซียในปัจจุบันต้องมีชื่อเฉพาะของตนเอง ด้วยชื่อเรียกดินแดนนี้มีชื่อยาวเกินไป นั้นคือชื่อหมู่เกาะอินเดีย หรือ "Indian Archipelago" ซึ่งสร้างความสับสนแก่ผู้คนเป็นอันมาก ดังนั้น James Richardson Logan จึงนำชื่อที่ George Samuel Windsor Earl ไม่สนใจมาปัดฝุ่นใหม่ โดยเปลี่ยนให้พูดได้ง่ายขึ้น นั้นคือ เปลี่ยนอักษร U มาเป็น O จากคำว่า Indunesia มาเป็น Indonesia นับแต่นั้นมาชื่อดินแดนนั้นก็ได้เป็นที่ยอมรับว่าเหมาะที่จะใช้ชื่ออินโดเนเซีย (Indonesia) จนถึงปัจจุบัน
ครั้งแรกที่คำว่า อินโดเนเซีย ได้เกิดขึ้นในโลกนี้ โดยการพิมพ์ในวารสาร JIAEA หน้า 254 มีเนื้อความว่า :
"Mr. Earl suggests the ethnographical term Indunesian, but rejects it in favour of Malayunesian. I prefer the purely geographical term Indonesia, which is merely a shorter synonym for the Indian Islands or the Indian Archipelago".
ตอนที่ James Richardson Logan เสนอชื่อ Indonesia เขาคงไม่คิดว่าชื่อนี้จะกลายเป็นชื่อทางการของดินแดนนั้น นับแต่เสนอชื่ออินโดเนเซียแล้ว เขามักจะใช้ชื่อนี้ในบทความวิชาการต่างๆของเขา ต่อมาชื่อนี้ได้เป็นที่ยอมรับของนักวิชาการด้านมานุษยวิทยาและนักภูมิศาสตร์ ในปี 1884 นาย Adolf Bastian (1826-1905) อาจารย์นักมานุษยวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยเบอร์ลิน (University of Berlin) ได้เขียนหนังสือชื่อ Indonesien oder die Inseln des Malayischen Archipel เป็นจำนวน 5 เล่ม ซึ่งเขาได้เดินทางไปสำรวจยังดินแดนอินโดเนเซียในปัจจุบัน จากปี 1864 ถึงปี 1880 หนังสือชุดดังกล่าวเป็นหนังสือที่เผยแพร่คำว่า อินโดเนเซีย ในหมู่นักวิชาการชาวฮอลันดา จนเกิดความเข้าใจผิดคิดว่า คำว่าอินโดเนเซียนั้น นาย Adolf Bastian เป็นผู้ประดิษฐ์ ความเข้าใจผิดนี้จนทำให้มีการบันทึกว่า นาย Adolf Bastian เป็นผู้ประดิษฐ์ ซึ่งปรากฏอยู่ในหนังสือชื่อ Encyclopedie van Nederlandsch-Indie ในปี 1918 ความจริงแล้วนาย Adolf Bastian เพียงนำชื่อ อินโดเนเซียมาจากงานเขียนของนาย James Richardson Logan ดังนั้นเราก็สามารถสรุปได้ว่า นาย James Richardson Logan คือผู้ประดิษฐ์ชื่อ อินโดเนเซีย ในหมู่ชนพื้นเมืองนั้นปรากฏว่า นาย Suwardi Suryaningrat (Ki Hajar Dewantara) เป็นคนแรกที่นำชื่ออินโดเนเซียมาใช้ ในขณะที่เขาถูกเนรเทศไปยังประเทศฮอลันดาในปี 1913 เขาได้ตั้งหน่วยเผยแพร่ข่าวสารขึ้นโดยใช้ชื่อว่า Indonesische Pers-bureau
หลังจากนั้นในปี 1917 ศาสตราจารย์ Cornelis van Vollenhoven ได้นำชื่อ indonesisch (Indonesia) มาใช้แทนชื่อ indisch (ฮินเดีย) นอกจากนั้นชื่อชนพื้นเมืองก็ถูกเรียกว่า indonesiër (ชาวอินโดเนเซีย) แทนคำว่า inlander (ชนพื้นเมือง) diganti dengan (orang Indonesia)
สำหรับชื่อเรียกของประเทศอินโดเนเซียนั้น มีทั้งที่เขียนมา “อินโดเนเซีย” และ “อินโดนีเซีย” จากการสอบถามชาวอินโดเนเซีย เขากล่าวว่า ประเทศของเขามีชื่อว่า อินโดเนเซีย ไม่ใช่ อินโดนีเซีย เพราะ ne จะอ่านว่า เน ไม่ใช่ นี
ประเทศมาเลเซีย
ชื่อประเทศมาเลเซียนั้น คนส่วนใหญ่คิดว่าชื่อประเทศนี้ย่อมเกิดขึ้นในประเทศมาเลเซีย แต่ความจริงไม่ได้เป็นเช่นนั้นเลย ผู้ประดิษฐ์คำว่า Malaysia เป็นชาวฟิลิปปินส์ เขาชื่อว่า Wenceslao Q. Vinzons ชื่อคำว่า “มาเลเซีย”มาจากชื่อหนังสือที่เขาแต่งนั้นคือ “Malaysia Irredenta”
ประเทศฟิลิปปินส์
ชื่อของประเทศฟิลิปปินส์นั้นนำมาจากชื่อของกษัตริย์ฟิลิปที่ 2 แห่งประเทศสเปนในศตวรรษที่ 16 ครั้งนั้นนักเดินเรือชาวสเปนที่ชื่อว่า Ruy López de Villalobos นำมาชื่อกษัตริย์สเปนมาเรียกหมู่เกาะฟิลิปปินส์ว่า Las Islas Filipinas (Philippines) เพื่อเป็นเกียรติกษัตริย์สเปนซึ่งขณะนั้นเป็นมกุฎราชกุมารอยู่ เดิมคำว่า Las Islas Filipinas จะหมายถึงเกาะ Leyte และเกาะ Samar ต่อมาชื่อ Philippines ใช้เรียกหมู่เกาะฟิลิปปินส์ทั้งหมด
ประเทศอินโดเนเซีย
ในปีทศวรรษที่ 1920 นาย Ernest Francois Eugene Douwes Dekker (1879-1950), ซึ่งรู้จักกันในนามของ Dr. Setiabudi ได้เสนอชื่อของประเทศอินโดเนเซียโดยชื่อนั้นไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับคำว่า “อินเดีย” ชื่อที่เขาเสนอนั้นคือ นูซันตารา หรือ Nusantara เป็นที่ถูกลืมมานับร้อยปี Dr. Setiabudi นำชื่อนี้มาจากหนังสือโบราณที่ชื่อว่า Pararaton เป็นหนังสือที่มีการค้นพบที่เกาะบาหลีในศตวรรษที่ 9 หนังสือนี้เขียนขึ้นในสมัยมาชาปาฮิต หนังสือเล่มนี้ได้รับการแปลโดย J.L.A. Brandes และจัดพิมพ์ในปี 1920โดยNicholaas Johannes Krom ความหมายของ Nusantara ที่ Dr. Setiabudi ให้ความหมายนั้นแตกต่างจากความหมายในสมัยมาชาปาฮิต ซึ่งในสมัยมาชาปาฮิตนั้นคำว่า Nusantara หมายถึงบรรดาเกาะที่อยู่นอกเกาะชวา คำว่า antara ในภาษาสันสกฤตหมายถึง ภายนอก, ฝั่งตรงข้าม อันมีความหมายที่ตรงกันข้ามกับคำว่า Jawadwipa (เกาะชวา) ใน Sumpah Palapa ของ Gajah Madaได้กล่าวว่า
"Lamun huwus kalah nusantara, isun amukti palapa" (ถ้าสามารถเอาชนะบรรดาเกาะฝั่งตรงข้ามได้แล้ว ข้าจึงจะพักผ่อน)
Dr. Setiabudi กล่าวว่าความหมายในสมัยมาชาปาฮิต เป็นการให้ความหมายที่เน้นชาตินิยม การให้ความหมายของ Dr. Setiabudi นั้น เขากล่าวว่ามีคำว่า antara มีความหมายในภาษามลายูว่า ระหว่าง ทำให้คำว่า นูซันตารา หรือ nusantara มีความหมายว่า ดินแดนที่อยู่ระหว่างสองทวีป สองมหาสมุทร ซึ่งจะทำให้เกาะชวาก็เป็นส่วนหนึ่งของดินแดนดังกล่าว การเสนอชื่อ nusantara ของ Dr. Setiabudi ทำให้ชื่อนี้ได้รับความนิยมของประชาชนนอกเหนือจากชื่อเรียกดินแดนอินโดเนเซียในสมัยนั้นว่า Hindia Belanda จนถึงปัจจุบันคำว่า nusantara มีความหมายถึงประเทศอินโดเนเซีย อย่างไรก็ตาม คำว่า Nusantara นั้นในวงวิชาการทั่วไปยังมีความหมายถึง ดินแดนภูมิภาคมลายู ซึ่งประกอบด้วยประเทศมาเลเซีย อินโดเนเซีย บรูไน สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ และภาคใต้ของประเทศไทย
ในปี 1847 ที่สิงคปร์ ได้มีการออกวารสารวิชาการรายปี มีชื่อว่า Journal of the Indian Archipelago and Eastern Asia (JIAEA) โดยมีบรรณาธิการชื่อ James Richardson Logan (1819-1869) เป็นนักวิชาการชาวสกอตแลนด์ที่จบการศึกษาด้านกฎหมายจากมหาวิทยาลัยเอดินเบิร์ก (Universitas Edinburgh) ต่อมาในปี 1849 มีนักมานุษยวิทยาชาวอังกฤษชื่อว่า George Samuel Windsor Earl (1813-1865) ได้เข้าร่วมเป็นบรรณาธิการของวารสาร JIAEA ด้วย
ในวารสาร JIAEA ฉบับที่ IV ปี tahun 1850 หน้า 66-74 George Samuel Windsor Earl ได้เขียนบทความชื่อ On the Leading Characteristics of the Papuan, Australian and Malay-Polynesian Nations ในบทความดังกล่าวเขาได้เขียนว่า ถึงเวลาแล้วที่ประชาชนชาวหมู่เกาะอินเดียหรือหมู่เกาะมลายูจะมีชื่อเรียกดินแดนของตนเองเป็นการเฉพาะ (a distinctive name) เพราะชื่อฮินเดียนั้นไม่ถูกต้อง และมักสับสนกับชื่ออินเดียอีกแห่งหนึ่ง และ เขาเสนอชื่อเฉพาะสำหรับดินแดนอินโดเนเซียในปัจจุบัน 2 ชื่อให้เลือก ชื่อดังกล่าวคือ Indunesia หรือ Malayunesia โดยคำว่า nesosในภาษากรีกมีความหมายว่า เกาะ โดยเขาได้เขียนในหน้า 71 ของบทความดังกล่าวว่า
"... the inhabitants of the Indian Archipelago or Malayan Archipelago would become respectively Indunesians or Malayunesians".
George Samuel Windsor Earl ให้ความสนใจชื่อ Malayunesia (หมู่เกาะมลายู)มากกว่าชื่อ Indunesia (หมู่เกาะฮินเดีย หรือหมู่เกาะอินเดีย) เพราะคำว่า Malayunesia มีความถูกต้องกับดินแดนของชนชาติมลายู ส่วน Indunesia เขากล่าวว่าสามารถใช้กับดินแดนที่เป็นประเทศศรีลังกาหรือมัลดีฟส์ในปัจจุบัน และด้วยดินแดนนี้มีการใช้ภาษามลายูในการสื่อสาร ในบทความดังกล่าวเขาใช้คำว่า Malayunesia เมื่อกล่าวถึงดินแดนอินโดเนเซียปัจจุบันdan tidak memakai istilah Indunesia.
ในวารสารวิชาร JIAEA เล่มเดียวกันนั้น James Richardson Logan ได้เขียนบทความชื่อ The Ethnology of the Indian Archipelago ในหน้า 252-347 ในบทความดังกล่าวเขากล่าวว่าดินแดนอินโดเนเซียในปัจจุบันต้องมีชื่อเฉพาะของตนเอง ด้วยชื่อเรียกดินแดนนี้มีชื่อยาวเกินไป นั้นคือชื่อหมู่เกาะอินเดีย หรือ "Indian Archipelago" ซึ่งสร้างความสับสนแก่ผู้คนเป็นอันมาก ดังนั้น James Richardson Logan จึงนำชื่อที่ George Samuel Windsor Earl ไม่สนใจมาปัดฝุ่นใหม่ โดยเปลี่ยนให้พูดได้ง่ายขึ้น นั้นคือ เปลี่ยนอักษร U มาเป็น O จากคำว่า Indunesia มาเป็น Indonesia นับแต่นั้นมาชื่อดินแดนนั้นก็ได้เป็นที่ยอมรับว่าเหมาะที่จะใช้ชื่ออินโดเนเซีย (Indonesia) จนถึงปัจจุบัน
ครั้งแรกที่คำว่า อินโดเนเซีย ได้เกิดขึ้นในโลกนี้ โดยการพิมพ์ในวารสาร JIAEA หน้า 254 มีเนื้อความว่า :
"Mr. Earl suggests the ethnographical term Indunesian, but rejects it in favour of Malayunesian. I prefer the purely geographical term Indonesia, which is merely a shorter synonym for the Indian Islands or the Indian Archipelago".
ตอนที่ James Richardson Logan เสนอชื่อ Indonesia เขาคงไม่คิดว่าชื่อนี้จะกลายเป็นชื่อทางการของดินแดนนั้น นับแต่เสนอชื่ออินโดเนเซียแล้ว เขามักจะใช้ชื่อนี้ในบทความวิชาการต่างๆของเขา ต่อมาชื่อนี้ได้เป็นที่ยอมรับของนักวิชาการด้านมานุษยวิทยาและนักภูมิศาสตร์ ในปี 1884 นาย Adolf Bastian (1826-1905) อาจารย์นักมานุษยวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยเบอร์ลิน (University of Berlin) ได้เขียนหนังสือชื่อ Indonesien oder die Inseln des Malayischen Archipel เป็นจำนวน 5 เล่ม ซึ่งเขาได้เดินทางไปสำรวจยังดินแดนอินโดเนเซียในปัจจุบัน จากปี 1864 ถึงปี 1880 หนังสือชุดดังกล่าวเป็นหนังสือที่เผยแพร่คำว่า อินโดเนเซีย ในหมู่นักวิชาการชาวฮอลันดา จนเกิดความเข้าใจผิดคิดว่า คำว่าอินโดเนเซียนั้น นาย Adolf Bastian เป็นผู้ประดิษฐ์ ความเข้าใจผิดนี้จนทำให้มีการบันทึกว่า นาย Adolf Bastian เป็นผู้ประดิษฐ์ ซึ่งปรากฏอยู่ในหนังสือชื่อ Encyclopedie van Nederlandsch-Indie ในปี 1918 ความจริงแล้วนาย Adolf Bastian เพียงนำชื่อ อินโดเนเซียมาจากงานเขียนของนาย James Richardson Logan ดังนั้นเราก็สามารถสรุปได้ว่า นาย James Richardson Logan คือผู้ประดิษฐ์ชื่อ อินโดเนเซีย ในหมู่ชนพื้นเมืองนั้นปรากฏว่า นาย Suwardi Suryaningrat (Ki Hajar Dewantara) เป็นคนแรกที่นำชื่ออินโดเนเซียมาใช้ ในขณะที่เขาถูกเนรเทศไปยังประเทศฮอลันดาในปี 1913 เขาได้ตั้งหน่วยเผยแพร่ข่าวสารขึ้นโดยใช้ชื่อว่า Indonesische Pers-bureau
หลังจากนั้นในปี 1917 ศาสตราจารย์ Cornelis van Vollenhoven ได้นำชื่อ indonesisch (Indonesia) มาใช้แทนชื่อ indisch (ฮินเดีย) นอกจากนั้นชื่อชนพื้นเมืองก็ถูกเรียกว่า indonesiër (ชาวอินโดเนเซีย) แทนคำว่า inlander (ชนพื้นเมือง) diganti dengan (orang Indonesia)
สำหรับชื่อเรียกของประเทศอินโดเนเซียนั้น มีทั้งที่เขียนมา “อินโดเนเซีย” และ “อินโดนีเซีย” จากการสอบถามชาวอินโดเนเซีย เขากล่าวว่า ประเทศของเขามีชื่อว่า อินโดเนเซีย ไม่ใช่ อินโดนีเซีย เพราะ ne จะอ่านว่า เน ไม่ใช่ นี
ประเทศมาเลเซีย
ชื่อประเทศมาเลเซียนั้น คนส่วนใหญ่คิดว่าชื่อประเทศนี้ย่อมเกิดขึ้นในประเทศมาเลเซีย แต่ความจริงไม่ได้เป็นเช่นนั้นเลย ผู้ประดิษฐ์คำว่า Malaysia เป็นชาวฟิลิปปินส์ เขาชื่อว่า Wenceslao Q. Vinzons ชื่อคำว่า “มาเลเซีย”มาจากชื่อหนังสือที่เขาแต่งนั้นคือ “Malaysia Irredenta”
ประเทศฟิลิปปินส์
ชื่อของประเทศฟิลิปปินส์นั้นนำมาจากชื่อของกษัตริย์ฟิลิปที่ 2 แห่งประเทศสเปนในศตวรรษที่ 16 ครั้งนั้นนักเดินเรือชาวสเปนที่ชื่อว่า Ruy López de Villalobos นำมาชื่อกษัตริย์สเปนมาเรียกหมู่เกาะฟิลิปปินส์ว่า Las Islas Filipinas (Philippines) เพื่อเป็นเกียรติกษัตริย์สเปนซึ่งขณะนั้นเป็นมกุฎราชกุมารอยู่ เดิมคำว่า Las Islas Filipinas จะหมายถึงเกาะ Leyte และเกาะ Samar ต่อมาชื่อ Philippines ใช้เรียกหมู่เกาะฟิลิปปินส์ทั้งหมด
มลายู และโลกมลายู
โดย นิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน
คำว่า “มลายู” ในความหมายที่ทางองค์การ UNESCO ซึ่งได้ทำการศึกษาวิจัยในหัวข้อ Malay Cultural Studies Project ได้ให้คำอธิบายถึงความหมายของมลายูว่า คือ กลุ่มชนที่รวมกันอยู่ในกลุ่มมลายู-โปลีเนเซีย (Melayu-Polinesia) ซึ่งมีอาณาเขตที่กว้างขวาง จากเกาะมาดากัสการ์ทางตะวันตก จนถึงเกาะอิสเตอร์หรือที่ชาวมลายูเรียกว่าเกาะปัสกะห์ (Pulau Paskah) ทางตะวันออก รวมทั้งเกาะใต้หวัน และ ฮาวาย ทางด้านเหนือ จนถึงหมู่เกาะอินโดเนเซีย และ นิวซีแลนด์ทางใต้
ศาสตราจารย์วัง กง วู (Prof. Wang Gung Wu) ได้ทำการศึกษาค้นคว้าในบันทึกจีนโบราณ ปรากฏว่าในศตวรรษที่ 13 ยังไม่มีการบันทึกถึงคำว่า “มลายู” ในฐานะชนชาติหนึ่ง มีเพียงการบันทึก “มลายู” ในฐานะเป็นรัฐหรือสถานที่แห่งหนึ่งในทางตะวันออกของเกาะสุมาตรา จะมีเพียงในศตวรรษที่ 18 ที่กล่าวถึง “มลายู” ในฐานะชนชาติหนึ่ง ส่วนบันทึกของตะวันตกนั้นกล่าวว่า ตอนต้นศตวรรษที่ 17 คำว่า “มลายู” มีการใช้ในความหมายที่กว้าง ครอบคลุมถึงชนชาติที่อยู่ในภูมิภาคมลายู (Nusantara) ชนชาวมลายูได้ทิ้งร่องรอยทางอารยธรรมไว้มาก อาณาจักรโบราณของชนชาวมลายู เช่น อาณาจักร ฟูนัน ซึ่ง Daniel George E. Hall ได้กล่าวว่า “ชาวฟูนันเป็นชนชาติมลายู ”(The Funanese were Malay Race) และ Prof. Nguyen The Anth ชาวเวียดนามก็ได้กล่าวว่า “อาณาจักรฟูนันใช้ภาษามลายู” นอกจากนั้นยังมีอาณาจักรจามปาในเวียดนาม อาณาจักรลังกาสุกะ อาณาจักรมาชาปาหิต อาณาจักรศรีวิชัย รวมทั้งอาณาจักรมะละกา
ชนชาวมลายูนั้นถือว่าเป็นชนชาติใหญ่ชนชาติหนึ่งในโลก ทางองค์กรที่ที่ชื่อว่า Joshua Project ซึ่งเป็นองค์กรเผยแพร่ศาสนาคริสต์ของสหรัฐตั้งอยู่ในรัฐ โคโลราโด ของสหรัฐอเมริกา ได้สำรวจและปรากฎผลได้ดังนี้ :
โลกอาหรับ 279,654,470 คน
อินโด-อิหร่านเนียน 137,509,326 คน
ยิว 17,593,084 คน
ชนชาวมลายู 339,134,635 คน
ชาวตุรกี 169,026,980 คน
จากข้อมูลข้างต้นที่มีชนชาติมลายูถึง 339,134,635 คน ปรากฏว่าชนชาวมลายูเหล่านั้น กระจัดกระจายไปทั่วโลก นอกจากพวกเขาจะตั้งถิ่นฐานอยู่ในกลุ่มประเทศภูมิภาคมลายู หรือที่รู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งว่า นูซันตารา (Nusantara) ซึ่งมีประเทศอินโดเนเซีย, มาเลเซีย, บรูไน, สิงคโปร์, ฟิลิปปินส์, ภาคใต้ของไทยแล้ว ชาวมลายูยังอาศัยอยู่ในประเทศพม่า, เวียดนาม, เขมร และลาว นอกจากนั้นชาวมลายูยังอพยพไปยังภูมิภาคต่างๆ เช่นไปตั้งถิ่นฐานอยู่ในประเทศอัฟริกาใต้, มาดากัสการ์, สุรีนาม, ตะวันออกกลาง, ยุโรป และสหรัฐ
ประเทศฟิลิปปินส์
คนฟิลิปปินส์ที่พูดภาษาตากาลอกนั้น ล้วนมาจากชนชาติมลายู การอพยพของชาวมลายูจากแหลมมลายู-อินโดนีเซียไปยังดินแดนฟิลิปปินส์นั้นเริ่มตั้งแต่ศตวรรษที่4 ก่อนหน้านั้นมีการอพยพของชาวเนกรีโต(Negrito) และชาวบอร์เนียว, ชาวสุลาเวซี, ไต้หวันไปยังดินแดนนั้น พวกเขาเหล่านั้นถูกรวมอยู่ในกลุ่มชนพื้นเมืองฟิลิปปินส์(Orang Asli Filipina) การอพยพของชาวสุลาเวซีหรือชวาไปยังฟิลิปปินส์ หรือจากสุมาตราไปยังแหลมมลายูถือเป็นการอพยพของชนชาวมลายูที่อยู่ในวัฒนธรรมเดียวกัน พวกเขาไม่ถูกเรียกว่าผู้อพยพ เพราะพวกเขาล้วนมีวัฒนธรรมที่เหมือนกัน การห่างเหินของชาวมลายูฟิลิปปินส์จากชนชาติมลายูส่วนใหญ่ เกิดจากความสำเร็จของเจ้าอาณานิคมในการเผยแพร่ศาสนาคริสต์ไปยังดินแดนเหล่านั้น โดยเฉพาะเกาะลูซอน พวกเขาได้ยอมรับวัฒนธรรมยุโรป-อเมริกา และละทิ้งวัฒนะธรรมดั้งเดิมของพวกเขา ส่วนพวกที่อยู่ทางภาคใต้ของฟิลิปปินส์นั้น พวกเขาประสบความสำเร็จในการต่อต้านอาณานิคม และศาสนาคริสต์ ทำให้พวกเขายังคงอัตลักษณ์ของความเป็นมุสลิมไว้ได้. ชาวมลายูที่นับถือศาสนาอิสลามหรือที่เรียกว่าโมโร ( Moro) นั้นมีประชากรประมาณ 4.9 ล้านคน จากจำนวนประชากรทั้งหมด ของประเทศฟิลิปปินส์ 78 ล้านคน การยอมรับในความเป็นมลายู หรือ มาลายันของคนฟิลิปปินส์ยังคงมีอยู่ บางพรรคการเมืองในฟิลิปปินส์ยังคงใช้คำว่า มลายู เช่น พรรคที่ชื่อว่า The Malay Democrat Party of The Philippines
ประเทศศรีลังกา
ในศรีลังกานั้น ชาวมลายูยังคงยึดถืออัตลักษณ์ของชาวมลายูอยู่ แม้ว่าภาษามลายูของพวกเขาจะได้รับอิทธิพลของภาษาทมิฬ และสิงหล ประชากรของศรีลังกาที่มีเชื้อชาติมลายูนั้น มีอยู่ประมาณ 62,000 คน ชาวมลายูในศรีลังกามีประวัติภูมิหลังที่น่าสนใจจริง พวกเขาถูกฮอลันดานำไปยังศรีลังกาในศตวรรษที่ 18 และบางส่วนถูกอังกฤษนำไปยังศรีลังกาในศตวรรษที่ 19 ซึ่งก่อนหน้านั้นชาวมลายูก็ได้อพยพไปยังศรีลังกาแล้ว ในหนังสือชื่อ “ มหาวังศา” ( Mahawangsa) ซึ่งเป็นหนังสือประวัติศาตร์เก่าแก่ของศรีลังกาก็มีการบันทึกว่า ในสมัยกษัตริย์ที่ชื่อ Prakrama Bahu ในปี1268 มีกษัตริย์ชาวมลายูชื่อกษัตริย์จันทราภาณุ (Chandrabhanu) จากอาณาจักรตามพรลิงค์ ( Tambralinga ) ได้ไปโจมตีศรีลังกาเป็นจำนวน 2 ครั้ง แม้แต่แม่ทัพของกษัตริย์ Prakrama Bahu เองก็เป็นชาวมลายูมีชื่อว่า Melayu Rayer แต่ชาวมลายูเหล่านี้ถูกสังคมศรีลังกากลมกลืน จนสิ้นอัตลักษณ์ ด้วยพวกเขานับถือศาสนาเฉกเช่นเดียวกันกับชาวศรีลังกา
ปัจจุบันมีสมาคมชาวมลายูศรีลังกาทั้งในประเทศศรีลังกาและนอกประเทศอยู่หลายสมาคม เช่น Sri Lanka Australian Malay Association, Sri Lanka Malay Association of Toronto Canada, Sri Lanka-Indonesia Freindship Association, Ruhuna Malay Association, Conference of Sri Lanka Malays (COSLAM), Ceylon Malay Research Organisation (CEMRO), All-Ceylon Malay Association
ประเทศอัฟริกาใต้
ประเทศอัฟริกาใต้มีชาวมุสลิมประมาณ 700,000 คน และในจำนวนดังกล่าวเป็นชาวมุสลิมที่มีเชื้อสายมลายูอยู่ประมาณ 240,000 คน ส่วนใหญ่ชาวมลายูเหล่านี้ตั้งถิ่นฐานอยู่ในเมืองเคปทาวน์( Cape Town ) ในบริเวณที่เรียกว่า Malay Square หรือ Bokap ชาวมลายูในประเทศอัฟริกาใต้จะถูกเรียกว่าชาวมลายูแหลม หรือ Care Malay พวกเขาส่วนใหญ่ถูกฮอลันดานำพาไปยังอัฟริกาใต้ แม้ว่าภาษามลายูของพวกเขาเหล่านี้เกือบจะสูญหายไป แต่พวกเขายังคงใช้บางคำของภาษามลายูในชีวิตประจำวัน พวกเขาจะพูดภาษาอัฟริกัน ( Afrikaan ) ในชีวิตประจำวัน โดยภาษาอัฟริกันนี้มีภาษาฮอลันดาเป็นหลัก และนำคำภาษาอักฤษ และภาษามลายูเข้าไปใช้ในภาษาอัฟริกัน
ปัจจุบันมีสมาคมชาวมลายูอัฟริกาใต้ หรือที่เรียกว่ามลายูแหลม (The Cape Malay) อยู่หลายสมาคม เช่น Forum For Malay Culture In South Africa, Indonesian and Malaysian Seamen’s Club, The South Africa Malay Cultural Society, The Cape Malay Chamber of Commerce, The Cape Malay Chorace Band.
ประเทศซาอุดิอารเบีย
ชาวมลายูจากประเทศมาเลเซีย , อินโดนีเซีย, บรูไน และปัตตานี เดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ทุกๆปี และปรากฏว่ามีชาวมลายูจำนวนหนึ่งจากภูมิภาคมลายูเข้าไปตั้งถิ่นฐานในประเทศซาอุดิอารเบีย ชุมชนชาวมลายูในประเทศซาอุดีอารเบีย มักมีชื่อต่อท้ายตามถิ่นกำเนิดของตนหรือ บรรพบุรุษ เช่น Al – Palembani, Al- Indrakiri กิจการธุรกิจบางกิจการ หรือข้าราชการชั้นผู้ใหญ่หรือข้าราชการของประเทศซาอุดิอารเบีย บางคนมาจากบรรพบุรุษชาวปัตตานี เช่น อดีตผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในสมัยกษัตริย์ไฟศอล มีชื่อว่า Sheikh Abdullah Al-Patani ปัจจุบันชุมชนชาวมลายูที่มีแหล่งกำเนิดจาอินโดนีเซีย, มาเลเซีย , และปัตตานี ยังคงมีบทบาทอยู่ในสังคมประเทศซาอุดิอารเบีย
เกาะโคโคส ( Cocos Island )
เดิมเกาะนี้เป็นเกาะกรรมสิทธิ์ของตระกูล Clunies Ross ต่อมาเมื่อชาวมลายูเกาะโคโคส ถูให้เลือกอนาคตของตนเองว่า เกาะโคโคสของพวเขาจะเป็นดินแดนอิสระ หรือว่าจะเป็นส่วนหนึ่งของประเทศออสเตรเลีย เมื่อชาวเกาะโคโคส เป็นส่วนหนึ่งของออสเตรเลียแล้ว บางส่วนของพวกเขาจึงอพยพไปตั้งถิ่นฐานบนแผ่นดินใหญ่ของออสเตรเลีย ปัจจุบันมีชาวมลายูทั้งที่เป็นชาวเกาะโคโคส และชาวมลายูที่อพยพมาจากประเทศมาเลเซีย, สิงคโปร์, อินโดนีเซีย ประมาณ 37,000 คน ชาวมลายูเหล่านี้จำนวนหนึ่งตั้งถิ่นฐานอยู่ในเมืองดาร์วิน (Darwin), เมืองเมเบิร์น (Melburne) และ เมืองเพิร์ธ (Perth)
ประเทศมาดากัสการ์
ประเทศมาดากัสการ์ ซึ่งอยู่ในทวีปอัฟริกา เป็นเกาะที่ใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลก ประเทศนี้ก็เป็นอีหนึ่งประเทศที่มีชาวมลายูจากภูมิภาคมลาย (Nusantara ) อพยบไปตั้งถิ่นฐานอยู่ในประเทศดังกล่าว การอพยบของชาวมลายูไปยังเกาะมาดากัสการ์เกิดขึ้นเมื่อนับพันปีมาแล้ว ชนชาวมาดากัสการ์ที่มีเชื้อสายมลายู ประกอบด้วยนับสิบชนเผ่า แต่ชนเผ่าเมรินา (Merina) หรือที่พวกเขาเรียกตนเองสั้นๆว่า ชาวเมอร์ (Mer) นั้น นับว่ามีความใกล้ชิดทางชาติพันธุ์กับชาวมลายูในภูมิภาคมลายูมาก จากการศึกษาวิจัยทางภาษาศาสตร์ ปรากฎว่าชนชาวเมรินามีความสัมพันธ์ทางภาษากับชนเผ่ามายัน (Mayaan) ในเกาะกาลีมันตันของอินโดนีเซีย ชาวเมรินามีประชาการ 2.8 ล้านคน จากจำนวนประชากรของมาดากัสการ์ 16.9 ล้านคน ชาวเมรินาถือเป็นชาวมลายูโพ้นทะเลกลุ่มเดียวที่สามารถเป็นชนชั้นปกครองของประเทศที่ได้อพยบไปตั้งถิ่นฐาน ในประเทศมาดากัสการ์มีสมาคมที่ดำเนินกิจกรรมประสานงานกับชาวมลายูในภูมิภาคมลายูอยู่สมามคมหนึ่ง ชื่อว่า สมาคมมลายูแห่งมาดากัสการ์ (Fikambanana Malay Madagasikara) Mboara Andriannarimanana ภายใต้การนำของนาย โดยสมาคมนี้มีสถานีวิทยุและหนังสือพิมพ์ของตนเอง และเคยมีเว็บไซต์ของตนเองภายใต้ชื่อ Suara Bangsa Merina
ประเทศเมียนมาร์
ประเทศเมียนมาร์หรือพม่า เป็นอีกประเทศหนึ่งที่มีชุมชนชาวมลายูอาศัยอยู่ ชาวมลายูในประเทศเมียนมาร์แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ชุมชนชาวมลายูที่นับถือศาสนาอิสลาม กลุ่มนี้ชาวเมียนมาร์เรียกว่าชาว Salon มีประชากรทั้งหมด 31,600 คน ชุมชนชาวมลายูในประเทศเมียนมาร์มีความสัมพันธ์กับชาวมลายูในภาคใต้ของไทย และชาวมลายูในรัฐเคดะห์ของมาเลเซีย ส่วนหนึ่งของชุมชนชาวมลายูในประเทศเมียนมาร์ได้อพยบไปตั้งถิ่นฐานในเขต Sri bandi รัฐตรังกานู ประเทศมาเลเซีย อีกกลุ่มหนึ่งคือชาวเล (Orang Laut) ที่เรียกตนเองว่ามอแกน ชาวมอแกนมีประชากรประมาณ 7,000 คน ตั้งถิ่นฐานอยู่ในประเทศเมียนมาร์
ประเทศสุรีนาม
ประเทศสุรีนาม ซึ่งตั้งอยู่ในทวีปละตินอเมริกา ถือเป็นอีกประเทศหนึ่งที่มีชาวมลายูอาศัยอยู่ ส่วนใหญ่ของชาวมลายูในประเทศสุรีนามจะมีเชื้อสายเผ่าชวา กลุ่มชนเหล่านี้ฮอลันดาได้นำมาจากอินโดนีเซีย ด้วยประเทศสุรีนามเคยเป็นอาณานิคมของฮอลันดา ชาวมลายูในประเทศสุรีนามมีประมาณ 75,000 คน ชาวมลายูในประเทศสุรีนามส่วนใหญ่เป็นคนเชื้อสายชวา และในประเทศสุรีนามมีพรรคการเมืองของคนมลายูอยู่ 2 พรรค และประธานรัฐสภาของประเทศสุรีนามคนปัจจุบันก็เป็นคนมลายู คือ นาย Paul Slamet Somohardjo
กลุ่มประเทศอินโดจีน
ซึ่งประกอบด้วยประเทศเวียดนาม, เขมร และลาว นั้น ในดินแดนดังกล่าวในอดีตเคยเป็นที่ตั้งของอาณาจักรของชาวมลายู-จาม ที่มีชื่อว่าอาณาจักร จามปา (Champa Kingdom) อาณาจักรจามปาได้ทิ้งมรดกทางอารยธรรมของชาวมลายู-จาม ในอดีตมากมาย ชาวจามนั้นนายจิตร ภูมิศักดิ์ ได้กล่าวไว้ว่า “จามเป็นชนชาติตระกูลชวา-มลายู ที่ตกค้างอยู่บนพื้นทวีป” สำหรับประชากรชนชาวมลายู-จามในกลุ่มประเทศอินโดจีนมีดังต่อไปนี้
ชนชาวมลายู-จามในประเทศเวียดนาม
ชาวจามตะวันตก 122,900 คน
ชาวจามตะวันออก 80,000 คน
ชาวบาห์นาร์จาม 33,000 คน
ชนชาวมลายู-จามในประเทศเขมร
ชาวจามตะวันตก 220,000 คน
ชนชาวมลายู-จามในประเทศลาว
ชาวจาม 14,000 คน
แนวคิดของการรวมชนชาติมลายูเข้าเป็นหนึ่งเดียว
Melayu Raya เป็นแนวคิดของการรวมชนชาติมลายูเขาเป็นหนึ่งเดียว นั้นคือชนชาวมลายูที่ปัจจุบันอาศัยอยู่ในประเทศมาเลเซีย, อินโดเนเซีย, บรูไน และสิงคโปร์ เข้าเป็นประเทศเดียวกันบางครั้งคำว่า Melayu Raya จะเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Indonesia Raya แนวคิดนี้มีการเสนอขึ้นในประเทศอินโดเนเซียโดยกลุ่มผู้สนับสนุนอดีตประธานาธิบดีซูการ์โน และพรรคการเมืองในมาเลเซีย เช่น พรรคมลายูแห่งชาติมาลายา ซึ่งเป็นพรรคการเมืองก่อนการกำเนิดของพรรคอัมโน (UMNO) ที่มีผู้นำหลายคนเช่น Ibrahim Yaakub, Dr. Burhanuddin Al-Helmi, Ahmad Boestamam, Ishak Haji Muhammad และอื่นๆ
MAPHILINDO
Maphilindo เป็นคำย่อมาจาก Malaya, the Philippines, และ Indonesia เป็นองค์กรสมาพันธรัฐมลายูของกลุ่มชนชาติมลายู แรกเริ่มเป็นแนวความคิดของนาย Wenesclao Vinzons เพื่อรวมชนชาติมลายูเข้าด้วยกัน เมื่อนาย Diosdado Macapagal เป็นประธานาธิบดีของประเทศฟิลิปปินส์ ต่อมาในปี 1963 เขาต้องการสร้างความคิดอุดมคติของนายโฮเซ รีซาลให้เป็นจริง จึงเสนอจัดตั้ง Maphilindo แต่ปรากฏว่าต่อมาไม่สามารถรวมตัวกันได้ แม้ว่าจะมีการเซ็นสัญญากันแล้วก็ตาม เพราะมีการจัดตั้งประเทศมาเลเซียขึ้นก่อน จนเกิดความขัดแย้งระหว่างมาเลเซียที่ตั้งใหม่กับประเทศอินโดเนเซีย
บุคคลที่มีแนวคิดการรวมชนชาติมลายู
โฮเซ รีซาล José Protacio Rizal Mercado y Alonzo Realonda
19 มิถุนายน 1861-30 ธันวาคม1896
เขาเป็นวีรบุรุษแห่งชาติของประเทศฟิลิปปินส์ เป็นนายแพทย์ นักแกะสลักศิลปะ นักวี นักเขียนบทละคร นักเขียนนวนิยาย เขาสามารถพูดได้หลายภาษา เช่น ภาษาตากาล๊อก ภาษามลายู ภาษาจีน ภาษาเสปน ภาษาฝรั่งเศส ภาษาโปร์ตุเกส ฯลฯ เขาเป็นบุตรคนที่เจ็ดของครอบครัวนาย Francisco Mercado และนาง Teodora Alonzo โดยครอบครัวของเขาเป็นครอบครัวผสมเชื้อจีนกับชนพื้นเมือง( Cina-Mestizo ) ที่ร่ำรวยใน Calamba จังหวัดLaguna นามสกุลเดิมของเขาคือ Mercado ต่อมาเขาเปลี่ยนเป็น Rizal ตามคำแนะนำของพี่ชายที่ชื่อว่า Paciano Mercado เพราะไม่ต้องการให้การต่อสู้ของ Jose Rizal กระทบกับครอบครัว Mercado ของเขา
เขาจบปริญญาตรีสาขาการรางวัดที่ดิน ในปี 1877 จาก Ateneo Municipal de Manila ปัจจุบันคือ University of Ateneo de Manila ในขณะเดียวกันก็เรียนสาขาวรรณกรรมและปรัชญาที่ University of Santo Tomas เขาตัดสินใจเปลี่ยนไปเรียนแพทย์ศาสต์ด้านจักษุแพทย์ เมื่อเห็นว่ามารดาของเขามีปัญหาเกี่ยวกับสายตา แต่เขาเรียนไม่จบ เพราะเขาเห็นว่าคณะบาทหลวงโดมินิกันที่บริหารมหาวิทยาลัย มีการกดขี่นักศึกษาชาวพื้นเมืองฟิลิปปินส์ ดังนั้นเขาจึงเดินทางไปศึกษาการแพทย์ที่กรุงมาดริด ประเทศสเปน แม้จะได้รับการต่อต้านจากบิดาของเขา เขาจบการศึกษาสาขาแพทย์ศาสตร์จาก มหาวิทยาลัยที่ชื่อว่า Universidad Central de Madrid
งานเขียนที่มีชื่อเสียงของเขาเป็นนวนิยาย 2 เล่ม คือ Noli Me Tangere (1887) และ El Filibusterismo (1891) เป็นนวนิยายที่ต่อต้านเจ้าอาณานิคมสเปน สร้างจิตสำนึกความสามัคคีเป็นหนึ่งเดียวในหมู่ชาวพื้นเมืองฟิลิปปินส์ เมื่อเขาเดินทางกลับมายังฟิลิปปินส์ในปี 1892 เขาถูกกล่าวหาว่าต่อต้านผู้ปกครองสเปน และถูกเนรเทศไปยังเมือง Dapitan ในเกาะ Mindanao
เขาถูกกล่าวหาว่ากบฏอีกครั้งเมื่อขบวนการต่อต้านสเปนที่ชื่อว่า Katipunan เริ่มทำการต่อสู้กับสปนเขาถูกสเปนประหารชีวิตในสถานที่ที่มีชื่อว่า Bagumbayan เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 1896 ปัจจุบันสถานที่ดังกล่าวเป็นบริเวณอนุสาวรีย์ที่มีชื่อว่า Rizal Park ในกรุงมะนิลา บทกวีก่อนที่เขาจะถูกประหารจนเสียชีวิตมีชื่อว่า Mi Último Adiós หรือ คำลาครั้งสุดท้ายของข้า นายโฮเซ รีซาล ได้รับการขนานนามจากชาวฟิลิปปินส์ว่าเป็น The Great Malayan หรือ ชาวมลายูผู้ยิ่งใหญ่ เขาไม่เพียงได้รับการยอมรับจากนักวิชาการในประเทศฟิลิปปินส์เท่านั้น แต่รวมทั้งนักวิชาการจากภูมิภาคมลายูอีกด้วย ในสารานุกรมประวัติศาสตร์วัฒนธรรมมลายู ที่ผลิตโดย Dewan Bahasa dan Pustaka ซึ่งเป็นหน่วยงานระดับกรมของรัฐบาลมาเลเซียก็ได้บรรจุชื่อของนายโฮเซ รีซาลในสารานุกรมดังกล่าวด้วย
ศาสตราจารย์ มูฮัมหมัด ยามีน Prof. Muhammad Yamin, SH
24 สิงหาคม 1903-17 ตุลาคม 1962
เขาเกิดที่เมืองซาวะห์ลุนโต จังหวัดสุมาตราตะวันตก ได้รับการยอมรับว่าเป็นนักต่อสู้แห่งชาติ(Pahlawan nasional Indonesia) ของประเทศอินโดเนเซีย เขาเป็นนักกวี เป็นนักคิด เป็นผู้จุดประกายทางความคิดต่ออดีตประธานาธิบดีซูการ์โน(Presiden Sukarno) เขาเริ่มเป็นนักเขียนในช่วงทศวรรษทื่ 1920 งานเขียนแรกของเขาเขียนด้วยภาษามลายูลงในวารสาร Jong Sumatera ซึ่งเป็นวารสารภาษาฮอลันดา ในช่วงต้นๆของงานเขียนของเขาจะได้รับอิทธิพลของภาษามลายูคลาสิค
มูฮัมหมัดยามีน เป็นที่รู้จักครั้งแรกในปี 1922 ในฐานะนักกวี โดยบทกวีของเขาที่ชื่อว่า มาตุภูมิ (Tanah Air ) ซึ่งความหมายของมาตุภูมิของเขาคือ สุมาตรา งานเขียนที่สองคือรวมบทกวีชื่อ Tumpah Darahku ออกสู่สาธารณะเมื่อ 28 ตุลาคม1928 ซึ่งขณะนั้นเขาและบรรดานักต่อสู้ได้พร้อมใจกันยอมรับการมี หนึ่งมาตุภูมิ หนึ่งชาติ และหนึ่งภาษาอินโดเนเซีย (satu tanah air, satu bangsa, dan satu bahasa Indonesia) เขามีงานเขียนจำนวนมาก ทั้งในรูปแบบของบทความ ละคร นวนิยายเชิงประวัติศาสตร์ และบทกวี
การเข้าร่วมทางการเมืองของเขานั้น โดยในปี 1932 เขาจบปริญญาด้านนิติศาสตร์จากกรุงจาการ์ตา ต่อมาเขาทำงานด้านกฎหมายระหว่างประเทศจนถึงปี 1942 เขาได้เข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองโดยในปี1928 มีการประชุม Kongres Pemuda II ได้กำหนดให้ภาษาอินโดเนเซีย ซึ่งมีรากมาจากภาษามลายูเป็นภาษาทางการของขบวนการชาตินิยม เขาได้ดำเนินการผ่านองค์กรที่ชื่อว่า Indonesia Muda เรียกร้องให้ภาษาอินโดเนเซียเป็นภาษาแห่งชาติ
ในช่วงการยึดครองของญี่ปุ่นปี 1942-1945 เขาได้ทำงานกับองค์กรที่ชื่อว่า Pusat Tenaga Rakyat (PUTERA) เป็นองค์กรที่ได้รับการสนับสนุนจากญี่ปุ่น ในปี 1945 เขาเสนอให้จัดตั้งองค์กรที่ชื่อ Badan Penyelidik Usaha Persiapan Kemerdekaan Indonesia (BPUPKI) เพื่อเตรียมการประกาศเอกราช โดยประเทศที่จะจัดตั้งใหม่นี้นอกจากอินโดเนเซียแล้ว ยังประกอบด้วยซาราวัค, ซาบะห์, แหลมมลายู, ตีมอร์โปร์ตุเกส รวมทั้งดินแดนทั้งหมดที่อยู่ภายใต้การปกครองของฮอลันดา ซูการ์โนเป็นสมาชิกของ BPUPKI ด้วย ดังนั้นซูการ์โนจึงสนับสนุนแนวคิดของมูฮัมหมัด ยามีน เมื่อซูการ์โนเป็นประธานาธิบดีคนแรกของอินโดเนเซียในปี 1945 ประธานาธิบดีซูการ์โนจึงแต่งตั้งมูฮัมหมัด ยามีนให้มีตำแหน่งที่สำคัญในคณะรัฐมนตรีของเขา เมื่อเขาเสียชีวิต เขาถูกฝังที่ สุสานในตำบลตาลาวี ห่างจากตัวอำเภอซาวะห์ลุนโตประมาณ 20 กิโลเมตร
นายเวนเซสลาว คิว. วินซันส์ WENCESLAO Q. VINZONS (1910-1942)
นายเวนเซสลาว คิว. วินซันส์
เขาเกิดเมื่อ 28 กันยายน 1910 ที่เมือง Indan จังหวัด Camarines Norte เป็นบุตรของนาย Gabino V. Vinzons และนาง Engracia Quinito หลังจากเขาจบการศึกษาในระดับมัธยมในบ้านเกิดของเขา เขาได้เข้าศึกษาจนจบปริญญาตรีด้านกฎหมายจากมหาวิทยาลัยแห่งฟิลิปปินส์ (the University of the Philippines) เขาได้รับเหรียญรางวัลทองคำประธานาธิบดีมานูเอล แอล. เคซอน (the Manuel L. Quezon gold medal) จากหนังสือที่เขาเขียนในหัวเรื่อง “Malaysia Irredenta” จากชื่อหนังสือเล่มนี้ ทำให้ถือได้ว่าเขาคือผู้ประดิษฐ์คำว่า “มาเลเซีย” เขายังเป็นบรรณาธิการของหนังสือพิมพ์มหาวิทยาลัยที่ชื่อว่า Philippine Collegian นอกจากนั้นเขายังเป็นนายกองค์การนักศึกษา (President of the Student Council)อีกด้วย ในปี 1932 เขาเป็นผู้นำองค์กรที่ชื่อว่า The Youth Movement ต่อต้านการขึ้นเงินเดือนของสมาชิกสภาเทศบาลกรุงมะนิลา ในปี 1933 เขาชนะเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติ (Constitutional Convention) โดยการจัดตั้งพรรคที่ชื่อว่า The Young Philippines Party ในปี 1940 เขาเป็นผู้ว่าราชการจังหวัด Camarines Norte ในปี เขาได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา (Congressman) เมื่อญี่ปุ่นเข้ายึดครองฟิลิปปินส์ เขาทำการต่อสู้กับญี่ปุ่น จนถูกจับและถูกประหารชีวิตเมื่อ 8 กรกฎาคม 1942
นายอาหมัด โบสตามาม Ahmad Boestamam
30 พฤศจิกายน 1920 - 19 มกราคม 1983
เขามีชื่อเดิมว่า Abdullah Sani Bin Raja Kechil) เป็นนักการเมืองนับตั้งแต่มาเลเซียก่อนได้รับเอกราช ด้านงานเขียนนั้นเขามีผลงานเขียนนวนิยายจำนวนกว่า 15 เล่ม มีเล่มหนึ่งชื่อว่า Sorotan Sekilas พิมพ์ในปี 1981 เขาเป็นบุคคลหนึ่งที่มีความคิดแนวทางรวมชนชาติมลายูเป็นหนึ่งเดียว ในพรรคมลายูแห่งมาลายานั้น เขาได้รับการแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการบริหารของพรรค
นายอิสฮัก ฮัจญีฒฮัมหมัด Ishak Haji Muhammad
14 พฤศจิกายน 1909 - 7 พฤศจิกายน 1991
นายอิสฮัก ฮัจญีฒฮัมหมัด จะรู้จักในอีกชื่อหนึ่งว่า Pak Sako เขาเกิดเมื่อปี 1909 ที่หมู่บ้านชื่อว่า Kampung Bukit Seguntang อำเภอ Temerloh รัฐ Pahang ได้รับการศึกษาชั้นต้นที่โรงเรียนมลายูชื่อ Sekolah Melayu Kg. Tengah, Temerloh ในปี 1919 ต่อมาเขาเรียนต่อที่ โรงเรียนอังกฤษชื่อว่า Sekolah Inggeris Clifford, Kuala Lipis ในปี 1924 จนถึง 1928 เขาจบประกาศนียบัตรการศึกษาจากโรงเรียนอังกฤษในอำเภอRaub รัฐปาหัง เมื่อปี 1929 ต่อมาเขาศึกษาต่อในระดับสูงขึ้นที่วิทยาลัยมลายูกัวลากังซาร์ (Maktab Melayu Kuala Kangsar) หรือ MCKK เพื่อทำหน้าที่เป็นข้าราชการของมาลายา(Malayan Civil Service). ในปี 1930 โดยเคยเขาทำงานเป็นผู้ช่วยปลัดอำเภอ, ผู้พิพากษาชั้น 2 และอาจารย์สอนภาษา ก่อนที่เข้าสู่วงการเขียนหนังสือ ในปี 1934 เขาลาออกจากราชการ เขาเคยถูกจำคุก 2 ครั้ง คือ ครั้งแรกในปี 1948 -1953ครั้งที่สองในปี 1965-1966 เขาเป็นนักเขียนที่เขียนหนังสือตั้งแต่ทศวรรษที่ 1930 จนถึง1950 เคยทำงานกับหนังสือพิมพ์ Utusan Melayu ภายใต้การนำของ Abdul Rahim Kajai เขาเขียนนวนิยาย เรื่องสั้น บทความ บันทึกความจำ เฉพาะที่เก็บไว้ในหอสมุดแห่งชาติมาเลเซียมีมากกว่า 1,000 ชิ้น ผลงานที่มีชื่อเสียงของเขาคือ Putera Gunung Tahan และ Anak Mat Lela Gila เขาได้รับปริญญาเอกกิตติมศักดิ์ด้านวรรณกรรมจากมหาวิทยาลัยมาลายาเมื่อ 29 มิถุนายน 1973 ต่อมาเมื่อ เขาได้รับรางวัล Pejuang Sastera จากนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย เขาเสียชีวิตเมื่อ ที่ 7 พฤศจิกายน November 1991 รัฐ Selangor.
ดร. บูรฮาบุดดิน อัล-เฮลมี Dr. Burhanuddin Al-Helmi
เขาเป็นนักการเมืองที่ค่อนข้างเข้ากับทุกกลุ่มได้ เขาเคยเป็นผู้นำของกลุ่มการเมืองที่ต่อสู้เพื่อรวมมาเลเซียเข้ากับอินโดเนเซีย การต่อสู้ทางการเมืองภายหลังของเขาคือการเป็นประธานพรรคอิสลามแห่งมาเลเซีย ซึ่งเมื่อตนกูอับดุลราห์มาน เสนอให้มีการจัดตั้งประเทศมาเลเซีย โดยการรวมมาลายา, สิงคโปร์, รัฐซาบะห์ และรัฐซาราวัคนั้น ทางดร.บูรฮาบุดดิน อัล-เฮลมี ในฐานะประธานพรรคอิสลามแห่งมาเลเซีย ได้เสนอหลักการ โดยให้ประเทศที่จะจัดตั้งขึ้นใหม่นี้นอกจากดินแดนข้างต้นแล้ว ยังประกอบด้วยสาธารณรัฐอินโดเนเซีย และ ฟิลิปปินส์อีกด้วย แต่ข้อเสนอของเขาต่อสภาผู้แทนราษฎรปรากฎว่าได้รับการปฏิเสธจากสภาดังกล่าว
อิบราฮิม ยะอากู๊บ Ibrahim Yaakub
เขาเป็นนักการเมืองที่นักวิชาการบางคน หรือแม้แต่ในหนังสือประวัติการต่อสู้พรรคอัมโนรัฐโยโฮร์ ก็กล่าวว่าเขาน่าจะเป็นบุคคลแรกที่เสนอแนวทางการต่อสู้เพื่อเอกราชของมาลายา เขาเป็นผู้ก่อตั้งสมาคมมลายูหนุ่ม หรือ Kesatuan Melayu Muda (KMM) ซึ่งจัดตั้งขึ้นในปี 1939 เขาเป็นหนึ่งในนักการเมืองที่อยู่ในแหลมมลายู ที่สนับสนุนแนวคิดการจัดตั้งประเทศ Melayu Raya หรือ Indonesia Raya ตามแผนการภายใต้การสนับสนุนของญี่ปุ่นนั้นอินโดเนเซียและมาลายาจะประกาศเอกราชพร้อมกัน และรวมเป็นประเทศเดียวกัน โดยมีนายซูการ์โนเป็นประธานาธิบดี และนายอิบราฮิม ยะอากู๊บ ที่อยู่ในมาลายา เป็นรองประธานาธิบดี แต่ปรากฏว่าญี่ปุ่นแพ้สงครามก่อน ดังนั้นอินโดเนเซียจึงประกาศเอกราช โดยปราศจากมาลายา ต่อมานายอิบราฮิม ยะอากู๊บหนีภัยไปอาศัยและเสียชีวิตในอินโดเนเซีย
แนวคิดการรวมชนชาติมลายู
นายโฮเซ รีซาล (Jose Rizal) เป็นชาวฟิลิปปินส์ที่ได้รับการยอมรับว่าเป็น “ชาวมลายูผู้ยิ่งใหญ่” (The greater Malayan) ด้วยเขาเป็นนักต่อสู้ที่ไม่เพียงเรียกร้องเอกราชจากเจ้าอาณานิคมเท่านั้น แต่เขาเรียกร้องให้ชนชาติมลายูรวมตัวกัน นายอาโปลีนารีโอ มาบีนี (Apolinario Mabini) เป็นนักต่อสู้อีกผู้หนึ่งที่เห็นด้วยกัยการรวมตัวกันของชนชาติมลายู การต่อสู้เรียกร้องของทั้งสองตนเป็นการต่อสู้ในช่วงปีทศวรรษที่ 1890
ในปี 1879 รัฐสภาของฮาวาย ที่เมืองโฮโนลูลู ได้มีการพิจารณาถึงการรวมตัวของโลกมลายู-โปลิเนเซีย และต่อมา 19 ปี ต่อมาคือปี 1898 นายอาโปลีนารีโอ มาบีนี ได้ประกาศ ณ กรุงมะนิลา ถึงแผนการ Federation Malaya ขึ้น โดยเป็นแผนการรวมตัวของโลกมลายู- โปลิเนเซีย
ต่อมาเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 1932 นายเวนเซสลาว คิว. วินซันส์ (Wenceslao Q. Vinzons) ได้บรรยายถึงความเป็นของเขาในเรื่องโลกมลายูโปลีเนเซีย เขาบรรยายที่มหาวิทยาลัฟิลิปปินส์ ตามหัวข้อหนังสือของเขาที่มีชื่อว่า “Malaysia Irredenta” เขาเรียกร้องให้มีการรวมตัวของชนชาติมลายูเข้าด้วยกัน ถือได้ว่าเขาเป็นผู้ประดิษฐ์คำว่า “Malaysia” ก่อนที่จะมีการนำชื่อนี้มาเป็นชื่อประเทศมาเลเซียในปัจจุบัน ส่วนหนึ่งของหนังสือเล่มนั้นที่มีชื่อว่า The History and Civilization of Southeast Asian countries belonging to the Malay Race ได้รับการแปลเป็นภาษามลายูเผยแพร่ในอินโดเนเซีย แต่บทความดังกล่าวถูกฮอลันดาสั่งห้าม นายเวนเซสลาว คิว.วินซันส์ ได้รวบรวมนักศึกษาชาวมลายูที่เป็นชาวฟิลิปปินส์ ,มาเลเซีย,อินโดเนเซีย และภาคใต้ของไทย จัดตั้งเป็นองค์กรโดยใช้ชื่อว่า Perhempoenan Orang Melayoe (สมาคมคนมลายู ) ต่อมาเขาได้ออกจาก Perhempoenan Orang Melayoe โดยไปดำเนินการจัดตั้งพรรคการเมืองขึ้นโดยใช้ชื่อว่า The Young Philippines Party เมื่อ 7 มกราคม 1934 เขายังคงไว้ซึ่งอุดมการณ์ของการรวมตัวของชนชาติมลายู พรรคการเมืองนี้มีสมาชิกก่อตั้งที่มีบทบาทในภายหลังคนหนึ่งชื่อว่า นายดีออสดาโด มาคาปากัล (Diosdado Macapagal) ต่อมานายเวนเซสลาว คิว.วินซันส์ ได้รับเลื่อกตนมีตำแหน่งทางการเมืองแต่เมื่อญี่ปุ่นเข้ายึดครองฟิลิปปินส์ เขาต่อต้านและปฏิเสธความร่วมมือกับฝ่ายญี่ปุ่น จนถูกญี่ปุ่นจับตัวและประหารชีวิต อดีตวุฒิสมาชิกฟิลิปปินส์ที่ชื่อว่า นายอาหมัด อาโลนโต ซีเนียร์ (Ahmad Alonto Sr) ผู้เคยดำรงตำแหน่งเป็นรองประธานของ Perhenpoenan Orang Melayoe กล่าวว่าคำว่า “Malaysia” เคยถูกเสนอเป็นชื่อประเทศฟิลิปปินส์ก่อนที่จะมีประเทศมาเลเซียเช่นปัจจุบัน และภาษามลายูเคยถูกเสนอเป็นภาษาประจำชาติของฟิลิปปินส์ถึง 2 ครั้ง ซึ่งปรากฏเป็นหลักฐานอยู่ที่รัฐสภาของฟิลิปปินส์ในปัจจุบัน
ในปี 1932 เช่นกัน มูฮัมหมัด ยามิน (Muhammad Yamin ) แห่งอินโดเนเซียได้จุดประกายถึงแนวความคิดการรวมตัวของ Indonesia Raya หรือ Melayu Raya โดยการรามดินแดนต่าง ๆ เข้าด้วยกันเหมือนอย่างสมัย Gajah Mada เคยทำมาเมื่อ 500 ปีที่ผ่านมา ส่วนที่ประเทศมาเลเซียในปี 1932 นายอิบราฮิม ยะกู๊บ (Ibrahim Yaakob) ได้ต่อสู้ทางการเมืองเพื่อจัดตั้ง Gagasan Melayu Raya แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ
แนวความคิดของการรวมชนชาติมลายูเข้าด้วยกัน ยังคงมีอยู่ เมื่อนายดีออสดาโด มากาปากัล ได้เป็นประธานาธิบดีของฟิลิปปินส์ เขาผู้ได้รับอิทธิพลทางความคิดในเรื่องการรวมตัวของชนชาติมลายู จึงร่วมมื่อกับประธานาธิบดีซูการ์โนแห่งอินโดเนเซีย และตวนกูอับดุลราห์มาน ปุตรา นายกรัฐมนตรี ของมาลายา แผนจัดตั้ง “The Confederation of free Malay Republics ” โดยใช้ชื่อว่า MAPHILINDO ซึ่งเป็นชื่อย่อของ MALAYA- PHILIPPINES- INDONESIA. เขาได้ประกาศขึ้นที่กรุงมะนิลา เมื่อ 5 สิงหาคม 1963 โดยเขากล่าวว่า “บรรดาคนหนุ่มสาวฟิลิปปินส์ ภายใต้การนำของวีรบุรุษที่ชื่อว่า Wenceslao Q.Vingons ซึ่งข่าพเจ้ามีโอกาสเป็นสมาชิกก่อตั้งคนหนึ่งของพรรคคนหนุ่มสาวฟิลิปปินส์ ( The Young Philippines) ในปี 1934 และอุดมการณ์ครั้งนั้นได้รับการสืบทอดมาเป็น “MAPHILINDO” ถึงอย่างไรก็ตาม ก็ประสบกับความล้มเหลว เมื่อมาลายาขณะนั้นได้รวมตัวกับรัฐซาบะห์, รัฐซาราวัค และสิวคโปร์จนกลายเป็นประเทศมาเลเซีย และเกิดความขัดแย้งกับอินโดเนเซีย
การรวมตัวของชนชาติมลายูได้ดำเนินการในรูปแบบใหม่ นั้นคือการจัดตั้ง ASEAN ในกลุ่มประเทศ ASEAN นั้นจะเห็นได้ว่าประชากรส่วนใหญ่ของ ASEAN เป็นชนชาวมลายู ถ้าสังเกตให้ดีจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าทุกประเทศในกลุ่มประเทศ ASEAN ล้วนมีชนชาวมลายูอาศัยอยู่ในปัจจุบันการรามตัวของชนชาติมลายูจะเกิดขึ้นในลักษณะของ “โลกวัฒนธรรมมลายู” (Malay Cultural World ) องค์กรที่ดำเนินกิจกรรมด้นวัฒนธรรมมลายูมีอยู่ 2 องค์กร คือ สำนักเลขาธิการมลายูนานาชาติ (Sekretariat Melayu Antarabangsa ) ซึ่งมีสำนึกงานอยู่ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ได้รับการสนันสนุนด้านงบประมาณจากรัฐสลางอร์ และอีกองค์กรหนึ่ง คือ สำนักเลขาธิการโลกมลายูโลกอิสลาม (Sekretariat Dunia Melayu Dunia Islam ) โดยองค์กรนี้ถือเป็นหน่วยงานหนึ่ง
ของรัฐบาลท้องถิ่นแห่งรัฐมะละกา
คำว่า “มลายู” ในความหมายที่ทางองค์การ UNESCO ซึ่งได้ทำการศึกษาวิจัยในหัวข้อ Malay Cultural Studies Project ได้ให้คำอธิบายถึงความหมายของมลายูว่า คือ กลุ่มชนที่รวมกันอยู่ในกลุ่มมลายู-โปลีเนเซีย (Melayu-Polinesia) ซึ่งมีอาณาเขตที่กว้างขวาง จากเกาะมาดากัสการ์ทางตะวันตก จนถึงเกาะอิสเตอร์หรือที่ชาวมลายูเรียกว่าเกาะปัสกะห์ (Pulau Paskah) ทางตะวันออก รวมทั้งเกาะใต้หวัน และ ฮาวาย ทางด้านเหนือ จนถึงหมู่เกาะอินโดเนเซีย และ นิวซีแลนด์ทางใต้
ศาสตราจารย์วัง กง วู (Prof. Wang Gung Wu) ได้ทำการศึกษาค้นคว้าในบันทึกจีนโบราณ ปรากฏว่าในศตวรรษที่ 13 ยังไม่มีการบันทึกถึงคำว่า “มลายู” ในฐานะชนชาติหนึ่ง มีเพียงการบันทึก “มลายู” ในฐานะเป็นรัฐหรือสถานที่แห่งหนึ่งในทางตะวันออกของเกาะสุมาตรา จะมีเพียงในศตวรรษที่ 18 ที่กล่าวถึง “มลายู” ในฐานะชนชาติหนึ่ง ส่วนบันทึกของตะวันตกนั้นกล่าวว่า ตอนต้นศตวรรษที่ 17 คำว่า “มลายู” มีการใช้ในความหมายที่กว้าง ครอบคลุมถึงชนชาติที่อยู่ในภูมิภาคมลายู (Nusantara) ชนชาวมลายูได้ทิ้งร่องรอยทางอารยธรรมไว้มาก อาณาจักรโบราณของชนชาวมลายู เช่น อาณาจักร ฟูนัน ซึ่ง Daniel George E. Hall ได้กล่าวว่า “ชาวฟูนันเป็นชนชาติมลายู ”(The Funanese were Malay Race) และ Prof. Nguyen The Anth ชาวเวียดนามก็ได้กล่าวว่า “อาณาจักรฟูนันใช้ภาษามลายู” นอกจากนั้นยังมีอาณาจักรจามปาในเวียดนาม อาณาจักรลังกาสุกะ อาณาจักรมาชาปาหิต อาณาจักรศรีวิชัย รวมทั้งอาณาจักรมะละกา
ชนชาวมลายูนั้นถือว่าเป็นชนชาติใหญ่ชนชาติหนึ่งในโลก ทางองค์กรที่ที่ชื่อว่า Joshua Project ซึ่งเป็นองค์กรเผยแพร่ศาสนาคริสต์ของสหรัฐตั้งอยู่ในรัฐ โคโลราโด ของสหรัฐอเมริกา ได้สำรวจและปรากฎผลได้ดังนี้ :
โลกอาหรับ 279,654,470 คน
อินโด-อิหร่านเนียน 137,509,326 คน
ยิว 17,593,084 คน
ชนชาวมลายู 339,134,635 คน
ชาวตุรกี 169,026,980 คน
จากข้อมูลข้างต้นที่มีชนชาติมลายูถึง 339,134,635 คน ปรากฏว่าชนชาวมลายูเหล่านั้น กระจัดกระจายไปทั่วโลก นอกจากพวกเขาจะตั้งถิ่นฐานอยู่ในกลุ่มประเทศภูมิภาคมลายู หรือที่รู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งว่า นูซันตารา (Nusantara) ซึ่งมีประเทศอินโดเนเซีย, มาเลเซีย, บรูไน, สิงคโปร์, ฟิลิปปินส์, ภาคใต้ของไทยแล้ว ชาวมลายูยังอาศัยอยู่ในประเทศพม่า, เวียดนาม, เขมร และลาว นอกจากนั้นชาวมลายูยังอพยพไปยังภูมิภาคต่างๆ เช่นไปตั้งถิ่นฐานอยู่ในประเทศอัฟริกาใต้, มาดากัสการ์, สุรีนาม, ตะวันออกกลาง, ยุโรป และสหรัฐ
ประเทศฟิลิปปินส์
คนฟิลิปปินส์ที่พูดภาษาตากาลอกนั้น ล้วนมาจากชนชาติมลายู การอพยพของชาวมลายูจากแหลมมลายู-อินโดนีเซียไปยังดินแดนฟิลิปปินส์นั้นเริ่มตั้งแต่ศตวรรษที่4 ก่อนหน้านั้นมีการอพยพของชาวเนกรีโต(Negrito) และชาวบอร์เนียว, ชาวสุลาเวซี, ไต้หวันไปยังดินแดนนั้น พวกเขาเหล่านั้นถูกรวมอยู่ในกลุ่มชนพื้นเมืองฟิลิปปินส์(Orang Asli Filipina) การอพยพของชาวสุลาเวซีหรือชวาไปยังฟิลิปปินส์ หรือจากสุมาตราไปยังแหลมมลายูถือเป็นการอพยพของชนชาวมลายูที่อยู่ในวัฒนธรรมเดียวกัน พวกเขาไม่ถูกเรียกว่าผู้อพยพ เพราะพวกเขาล้วนมีวัฒนธรรมที่เหมือนกัน การห่างเหินของชาวมลายูฟิลิปปินส์จากชนชาติมลายูส่วนใหญ่ เกิดจากความสำเร็จของเจ้าอาณานิคมในการเผยแพร่ศาสนาคริสต์ไปยังดินแดนเหล่านั้น โดยเฉพาะเกาะลูซอน พวกเขาได้ยอมรับวัฒนธรรมยุโรป-อเมริกา และละทิ้งวัฒนะธรรมดั้งเดิมของพวกเขา ส่วนพวกที่อยู่ทางภาคใต้ของฟิลิปปินส์นั้น พวกเขาประสบความสำเร็จในการต่อต้านอาณานิคม และศาสนาคริสต์ ทำให้พวกเขายังคงอัตลักษณ์ของความเป็นมุสลิมไว้ได้. ชาวมลายูที่นับถือศาสนาอิสลามหรือที่เรียกว่าโมโร ( Moro) นั้นมีประชากรประมาณ 4.9 ล้านคน จากจำนวนประชากรทั้งหมด ของประเทศฟิลิปปินส์ 78 ล้านคน การยอมรับในความเป็นมลายู หรือ มาลายันของคนฟิลิปปินส์ยังคงมีอยู่ บางพรรคการเมืองในฟิลิปปินส์ยังคงใช้คำว่า มลายู เช่น พรรคที่ชื่อว่า The Malay Democrat Party of The Philippines
ประเทศศรีลังกา
ในศรีลังกานั้น ชาวมลายูยังคงยึดถืออัตลักษณ์ของชาวมลายูอยู่ แม้ว่าภาษามลายูของพวกเขาจะได้รับอิทธิพลของภาษาทมิฬ และสิงหล ประชากรของศรีลังกาที่มีเชื้อชาติมลายูนั้น มีอยู่ประมาณ 62,000 คน ชาวมลายูในศรีลังกามีประวัติภูมิหลังที่น่าสนใจจริง พวกเขาถูกฮอลันดานำไปยังศรีลังกาในศตวรรษที่ 18 และบางส่วนถูกอังกฤษนำไปยังศรีลังกาในศตวรรษที่ 19 ซึ่งก่อนหน้านั้นชาวมลายูก็ได้อพยพไปยังศรีลังกาแล้ว ในหนังสือชื่อ “ มหาวังศา” ( Mahawangsa) ซึ่งเป็นหนังสือประวัติศาตร์เก่าแก่ของศรีลังกาก็มีการบันทึกว่า ในสมัยกษัตริย์ที่ชื่อ Prakrama Bahu ในปี1268 มีกษัตริย์ชาวมลายูชื่อกษัตริย์จันทราภาณุ (Chandrabhanu) จากอาณาจักรตามพรลิงค์ ( Tambralinga ) ได้ไปโจมตีศรีลังกาเป็นจำนวน 2 ครั้ง แม้แต่แม่ทัพของกษัตริย์ Prakrama Bahu เองก็เป็นชาวมลายูมีชื่อว่า Melayu Rayer แต่ชาวมลายูเหล่านี้ถูกสังคมศรีลังกากลมกลืน จนสิ้นอัตลักษณ์ ด้วยพวกเขานับถือศาสนาเฉกเช่นเดียวกันกับชาวศรีลังกา
ปัจจุบันมีสมาคมชาวมลายูศรีลังกาทั้งในประเทศศรีลังกาและนอกประเทศอยู่หลายสมาคม เช่น Sri Lanka Australian Malay Association, Sri Lanka Malay Association of Toronto Canada, Sri Lanka-Indonesia Freindship Association, Ruhuna Malay Association, Conference of Sri Lanka Malays (COSLAM), Ceylon Malay Research Organisation (CEMRO), All-Ceylon Malay Association
ประเทศอัฟริกาใต้
ประเทศอัฟริกาใต้มีชาวมุสลิมประมาณ 700,000 คน และในจำนวนดังกล่าวเป็นชาวมุสลิมที่มีเชื้อสายมลายูอยู่ประมาณ 240,000 คน ส่วนใหญ่ชาวมลายูเหล่านี้ตั้งถิ่นฐานอยู่ในเมืองเคปทาวน์( Cape Town ) ในบริเวณที่เรียกว่า Malay Square หรือ Bokap ชาวมลายูในประเทศอัฟริกาใต้จะถูกเรียกว่าชาวมลายูแหลม หรือ Care Malay พวกเขาส่วนใหญ่ถูกฮอลันดานำพาไปยังอัฟริกาใต้ แม้ว่าภาษามลายูของพวกเขาเหล่านี้เกือบจะสูญหายไป แต่พวกเขายังคงใช้บางคำของภาษามลายูในชีวิตประจำวัน พวกเขาจะพูดภาษาอัฟริกัน ( Afrikaan ) ในชีวิตประจำวัน โดยภาษาอัฟริกันนี้มีภาษาฮอลันดาเป็นหลัก และนำคำภาษาอักฤษ และภาษามลายูเข้าไปใช้ในภาษาอัฟริกัน
ปัจจุบันมีสมาคมชาวมลายูอัฟริกาใต้ หรือที่เรียกว่ามลายูแหลม (The Cape Malay) อยู่หลายสมาคม เช่น Forum For Malay Culture In South Africa, Indonesian and Malaysian Seamen’s Club, The South Africa Malay Cultural Society, The Cape Malay Chamber of Commerce, The Cape Malay Chorace Band.
ประเทศซาอุดิอารเบีย
ชาวมลายูจากประเทศมาเลเซีย , อินโดนีเซีย, บรูไน และปัตตานี เดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ทุกๆปี และปรากฏว่ามีชาวมลายูจำนวนหนึ่งจากภูมิภาคมลายูเข้าไปตั้งถิ่นฐานในประเทศซาอุดิอารเบีย ชุมชนชาวมลายูในประเทศซาอุดีอารเบีย มักมีชื่อต่อท้ายตามถิ่นกำเนิดของตนหรือ บรรพบุรุษ เช่น Al – Palembani, Al- Indrakiri กิจการธุรกิจบางกิจการ หรือข้าราชการชั้นผู้ใหญ่หรือข้าราชการของประเทศซาอุดิอารเบีย บางคนมาจากบรรพบุรุษชาวปัตตานี เช่น อดีตผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในสมัยกษัตริย์ไฟศอล มีชื่อว่า Sheikh Abdullah Al-Patani ปัจจุบันชุมชนชาวมลายูที่มีแหล่งกำเนิดจาอินโดนีเซีย, มาเลเซีย , และปัตตานี ยังคงมีบทบาทอยู่ในสังคมประเทศซาอุดิอารเบีย
เกาะโคโคส ( Cocos Island )
เดิมเกาะนี้เป็นเกาะกรรมสิทธิ์ของตระกูล Clunies Ross ต่อมาเมื่อชาวมลายูเกาะโคโคส ถูให้เลือกอนาคตของตนเองว่า เกาะโคโคสของพวเขาจะเป็นดินแดนอิสระ หรือว่าจะเป็นส่วนหนึ่งของประเทศออสเตรเลีย เมื่อชาวเกาะโคโคส เป็นส่วนหนึ่งของออสเตรเลียแล้ว บางส่วนของพวกเขาจึงอพยพไปตั้งถิ่นฐานบนแผ่นดินใหญ่ของออสเตรเลีย ปัจจุบันมีชาวมลายูทั้งที่เป็นชาวเกาะโคโคส และชาวมลายูที่อพยพมาจากประเทศมาเลเซีย, สิงคโปร์, อินโดนีเซีย ประมาณ 37,000 คน ชาวมลายูเหล่านี้จำนวนหนึ่งตั้งถิ่นฐานอยู่ในเมืองดาร์วิน (Darwin), เมืองเมเบิร์น (Melburne) และ เมืองเพิร์ธ (Perth)
ประเทศมาดากัสการ์
ประเทศมาดากัสการ์ ซึ่งอยู่ในทวีปอัฟริกา เป็นเกาะที่ใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลก ประเทศนี้ก็เป็นอีหนึ่งประเทศที่มีชาวมลายูจากภูมิภาคมลาย (Nusantara ) อพยบไปตั้งถิ่นฐานอยู่ในประเทศดังกล่าว การอพยบของชาวมลายูไปยังเกาะมาดากัสการ์เกิดขึ้นเมื่อนับพันปีมาแล้ว ชนชาวมาดากัสการ์ที่มีเชื้อสายมลายู ประกอบด้วยนับสิบชนเผ่า แต่ชนเผ่าเมรินา (Merina) หรือที่พวกเขาเรียกตนเองสั้นๆว่า ชาวเมอร์ (Mer) นั้น นับว่ามีความใกล้ชิดทางชาติพันธุ์กับชาวมลายูในภูมิภาคมลายูมาก จากการศึกษาวิจัยทางภาษาศาสตร์ ปรากฎว่าชนชาวเมรินามีความสัมพันธ์ทางภาษากับชนเผ่ามายัน (Mayaan) ในเกาะกาลีมันตันของอินโดนีเซีย ชาวเมรินามีประชาการ 2.8 ล้านคน จากจำนวนประชากรของมาดากัสการ์ 16.9 ล้านคน ชาวเมรินาถือเป็นชาวมลายูโพ้นทะเลกลุ่มเดียวที่สามารถเป็นชนชั้นปกครองของประเทศที่ได้อพยบไปตั้งถิ่นฐาน ในประเทศมาดากัสการ์มีสมาคมที่ดำเนินกิจกรรมประสานงานกับชาวมลายูในภูมิภาคมลายูอยู่สมามคมหนึ่ง ชื่อว่า สมาคมมลายูแห่งมาดากัสการ์ (Fikambanana Malay Madagasikara) Mboara Andriannarimanana ภายใต้การนำของนาย โดยสมาคมนี้มีสถานีวิทยุและหนังสือพิมพ์ของตนเอง และเคยมีเว็บไซต์ของตนเองภายใต้ชื่อ Suara Bangsa Merina
ประเทศเมียนมาร์
ประเทศเมียนมาร์หรือพม่า เป็นอีกประเทศหนึ่งที่มีชุมชนชาวมลายูอาศัยอยู่ ชาวมลายูในประเทศเมียนมาร์แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ชุมชนชาวมลายูที่นับถือศาสนาอิสลาม กลุ่มนี้ชาวเมียนมาร์เรียกว่าชาว Salon มีประชากรทั้งหมด 31,600 คน ชุมชนชาวมลายูในประเทศเมียนมาร์มีความสัมพันธ์กับชาวมลายูในภาคใต้ของไทย และชาวมลายูในรัฐเคดะห์ของมาเลเซีย ส่วนหนึ่งของชุมชนชาวมลายูในประเทศเมียนมาร์ได้อพยบไปตั้งถิ่นฐานในเขต Sri bandi รัฐตรังกานู ประเทศมาเลเซีย อีกกลุ่มหนึ่งคือชาวเล (Orang Laut) ที่เรียกตนเองว่ามอแกน ชาวมอแกนมีประชากรประมาณ 7,000 คน ตั้งถิ่นฐานอยู่ในประเทศเมียนมาร์
ประเทศสุรีนาม
ประเทศสุรีนาม ซึ่งตั้งอยู่ในทวีปละตินอเมริกา ถือเป็นอีกประเทศหนึ่งที่มีชาวมลายูอาศัยอยู่ ส่วนใหญ่ของชาวมลายูในประเทศสุรีนามจะมีเชื้อสายเผ่าชวา กลุ่มชนเหล่านี้ฮอลันดาได้นำมาจากอินโดนีเซีย ด้วยประเทศสุรีนามเคยเป็นอาณานิคมของฮอลันดา ชาวมลายูในประเทศสุรีนามมีประมาณ 75,000 คน ชาวมลายูในประเทศสุรีนามส่วนใหญ่เป็นคนเชื้อสายชวา และในประเทศสุรีนามมีพรรคการเมืองของคนมลายูอยู่ 2 พรรค และประธานรัฐสภาของประเทศสุรีนามคนปัจจุบันก็เป็นคนมลายู คือ นาย Paul Slamet Somohardjo
กลุ่มประเทศอินโดจีน
ซึ่งประกอบด้วยประเทศเวียดนาม, เขมร และลาว นั้น ในดินแดนดังกล่าวในอดีตเคยเป็นที่ตั้งของอาณาจักรของชาวมลายู-จาม ที่มีชื่อว่าอาณาจักร จามปา (Champa Kingdom) อาณาจักรจามปาได้ทิ้งมรดกทางอารยธรรมของชาวมลายู-จาม ในอดีตมากมาย ชาวจามนั้นนายจิตร ภูมิศักดิ์ ได้กล่าวไว้ว่า “จามเป็นชนชาติตระกูลชวา-มลายู ที่ตกค้างอยู่บนพื้นทวีป” สำหรับประชากรชนชาวมลายู-จามในกลุ่มประเทศอินโดจีนมีดังต่อไปนี้
ชนชาวมลายู-จามในประเทศเวียดนาม
ชาวจามตะวันตก 122,900 คน
ชาวจามตะวันออก 80,000 คน
ชาวบาห์นาร์จาม 33,000 คน
ชนชาวมลายู-จามในประเทศเขมร
ชาวจามตะวันตก 220,000 คน
ชนชาวมลายู-จามในประเทศลาว
ชาวจาม 14,000 คน
แนวคิดของการรวมชนชาติมลายูเข้าเป็นหนึ่งเดียว
Melayu Raya เป็นแนวคิดของการรวมชนชาติมลายูเขาเป็นหนึ่งเดียว นั้นคือชนชาวมลายูที่ปัจจุบันอาศัยอยู่ในประเทศมาเลเซีย, อินโดเนเซีย, บรูไน และสิงคโปร์ เข้าเป็นประเทศเดียวกันบางครั้งคำว่า Melayu Raya จะเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Indonesia Raya แนวคิดนี้มีการเสนอขึ้นในประเทศอินโดเนเซียโดยกลุ่มผู้สนับสนุนอดีตประธานาธิบดีซูการ์โน และพรรคการเมืองในมาเลเซีย เช่น พรรคมลายูแห่งชาติมาลายา ซึ่งเป็นพรรคการเมืองก่อนการกำเนิดของพรรคอัมโน (UMNO) ที่มีผู้นำหลายคนเช่น Ibrahim Yaakub, Dr. Burhanuddin Al-Helmi, Ahmad Boestamam, Ishak Haji Muhammad และอื่นๆ
MAPHILINDO
Maphilindo เป็นคำย่อมาจาก Malaya, the Philippines, และ Indonesia เป็นองค์กรสมาพันธรัฐมลายูของกลุ่มชนชาติมลายู แรกเริ่มเป็นแนวความคิดของนาย Wenesclao Vinzons เพื่อรวมชนชาติมลายูเข้าด้วยกัน เมื่อนาย Diosdado Macapagal เป็นประธานาธิบดีของประเทศฟิลิปปินส์ ต่อมาในปี 1963 เขาต้องการสร้างความคิดอุดมคติของนายโฮเซ รีซาลให้เป็นจริง จึงเสนอจัดตั้ง Maphilindo แต่ปรากฏว่าต่อมาไม่สามารถรวมตัวกันได้ แม้ว่าจะมีการเซ็นสัญญากันแล้วก็ตาม เพราะมีการจัดตั้งประเทศมาเลเซียขึ้นก่อน จนเกิดความขัดแย้งระหว่างมาเลเซียที่ตั้งใหม่กับประเทศอินโดเนเซีย
บุคคลที่มีแนวคิดการรวมชนชาติมลายู
โฮเซ รีซาล José Protacio Rizal Mercado y Alonzo Realonda
19 มิถุนายน 1861-30 ธันวาคม1896
เขาเป็นวีรบุรุษแห่งชาติของประเทศฟิลิปปินส์ เป็นนายแพทย์ นักแกะสลักศิลปะ นักวี นักเขียนบทละคร นักเขียนนวนิยาย เขาสามารถพูดได้หลายภาษา เช่น ภาษาตากาล๊อก ภาษามลายู ภาษาจีน ภาษาเสปน ภาษาฝรั่งเศส ภาษาโปร์ตุเกส ฯลฯ เขาเป็นบุตรคนที่เจ็ดของครอบครัวนาย Francisco Mercado และนาง Teodora Alonzo โดยครอบครัวของเขาเป็นครอบครัวผสมเชื้อจีนกับชนพื้นเมือง( Cina-Mestizo ) ที่ร่ำรวยใน Calamba จังหวัดLaguna นามสกุลเดิมของเขาคือ Mercado ต่อมาเขาเปลี่ยนเป็น Rizal ตามคำแนะนำของพี่ชายที่ชื่อว่า Paciano Mercado เพราะไม่ต้องการให้การต่อสู้ของ Jose Rizal กระทบกับครอบครัว Mercado ของเขา
เขาจบปริญญาตรีสาขาการรางวัดที่ดิน ในปี 1877 จาก Ateneo Municipal de Manila ปัจจุบันคือ University of Ateneo de Manila ในขณะเดียวกันก็เรียนสาขาวรรณกรรมและปรัชญาที่ University of Santo Tomas เขาตัดสินใจเปลี่ยนไปเรียนแพทย์ศาสต์ด้านจักษุแพทย์ เมื่อเห็นว่ามารดาของเขามีปัญหาเกี่ยวกับสายตา แต่เขาเรียนไม่จบ เพราะเขาเห็นว่าคณะบาทหลวงโดมินิกันที่บริหารมหาวิทยาลัย มีการกดขี่นักศึกษาชาวพื้นเมืองฟิลิปปินส์ ดังนั้นเขาจึงเดินทางไปศึกษาการแพทย์ที่กรุงมาดริด ประเทศสเปน แม้จะได้รับการต่อต้านจากบิดาของเขา เขาจบการศึกษาสาขาแพทย์ศาสตร์จาก มหาวิทยาลัยที่ชื่อว่า Universidad Central de Madrid
งานเขียนที่มีชื่อเสียงของเขาเป็นนวนิยาย 2 เล่ม คือ Noli Me Tangere (1887) และ El Filibusterismo (1891) เป็นนวนิยายที่ต่อต้านเจ้าอาณานิคมสเปน สร้างจิตสำนึกความสามัคคีเป็นหนึ่งเดียวในหมู่ชาวพื้นเมืองฟิลิปปินส์ เมื่อเขาเดินทางกลับมายังฟิลิปปินส์ในปี 1892 เขาถูกกล่าวหาว่าต่อต้านผู้ปกครองสเปน และถูกเนรเทศไปยังเมือง Dapitan ในเกาะ Mindanao
เขาถูกกล่าวหาว่ากบฏอีกครั้งเมื่อขบวนการต่อต้านสเปนที่ชื่อว่า Katipunan เริ่มทำการต่อสู้กับสปนเขาถูกสเปนประหารชีวิตในสถานที่ที่มีชื่อว่า Bagumbayan เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 1896 ปัจจุบันสถานที่ดังกล่าวเป็นบริเวณอนุสาวรีย์ที่มีชื่อว่า Rizal Park ในกรุงมะนิลา บทกวีก่อนที่เขาจะถูกประหารจนเสียชีวิตมีชื่อว่า Mi Último Adiós หรือ คำลาครั้งสุดท้ายของข้า นายโฮเซ รีซาล ได้รับการขนานนามจากชาวฟิลิปปินส์ว่าเป็น The Great Malayan หรือ ชาวมลายูผู้ยิ่งใหญ่ เขาไม่เพียงได้รับการยอมรับจากนักวิชาการในประเทศฟิลิปปินส์เท่านั้น แต่รวมทั้งนักวิชาการจากภูมิภาคมลายูอีกด้วย ในสารานุกรมประวัติศาสตร์วัฒนธรรมมลายู ที่ผลิตโดย Dewan Bahasa dan Pustaka ซึ่งเป็นหน่วยงานระดับกรมของรัฐบาลมาเลเซียก็ได้บรรจุชื่อของนายโฮเซ รีซาลในสารานุกรมดังกล่าวด้วย
ศาสตราจารย์ มูฮัมหมัด ยามีน Prof. Muhammad Yamin, SH
24 สิงหาคม 1903-17 ตุลาคม 1962
เขาเกิดที่เมืองซาวะห์ลุนโต จังหวัดสุมาตราตะวันตก ได้รับการยอมรับว่าเป็นนักต่อสู้แห่งชาติ(Pahlawan nasional Indonesia) ของประเทศอินโดเนเซีย เขาเป็นนักกวี เป็นนักคิด เป็นผู้จุดประกายทางความคิดต่ออดีตประธานาธิบดีซูการ์โน(Presiden Sukarno) เขาเริ่มเป็นนักเขียนในช่วงทศวรรษทื่ 1920 งานเขียนแรกของเขาเขียนด้วยภาษามลายูลงในวารสาร Jong Sumatera ซึ่งเป็นวารสารภาษาฮอลันดา ในช่วงต้นๆของงานเขียนของเขาจะได้รับอิทธิพลของภาษามลายูคลาสิค
มูฮัมหมัดยามีน เป็นที่รู้จักครั้งแรกในปี 1922 ในฐานะนักกวี โดยบทกวีของเขาที่ชื่อว่า มาตุภูมิ (Tanah Air ) ซึ่งความหมายของมาตุภูมิของเขาคือ สุมาตรา งานเขียนที่สองคือรวมบทกวีชื่อ Tumpah Darahku ออกสู่สาธารณะเมื่อ 28 ตุลาคม1928 ซึ่งขณะนั้นเขาและบรรดานักต่อสู้ได้พร้อมใจกันยอมรับการมี หนึ่งมาตุภูมิ หนึ่งชาติ และหนึ่งภาษาอินโดเนเซีย (satu tanah air, satu bangsa, dan satu bahasa Indonesia) เขามีงานเขียนจำนวนมาก ทั้งในรูปแบบของบทความ ละคร นวนิยายเชิงประวัติศาสตร์ และบทกวี
การเข้าร่วมทางการเมืองของเขานั้น โดยในปี 1932 เขาจบปริญญาด้านนิติศาสตร์จากกรุงจาการ์ตา ต่อมาเขาทำงานด้านกฎหมายระหว่างประเทศจนถึงปี 1942 เขาได้เข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองโดยในปี1928 มีการประชุม Kongres Pemuda II ได้กำหนดให้ภาษาอินโดเนเซีย ซึ่งมีรากมาจากภาษามลายูเป็นภาษาทางการของขบวนการชาตินิยม เขาได้ดำเนินการผ่านองค์กรที่ชื่อว่า Indonesia Muda เรียกร้องให้ภาษาอินโดเนเซียเป็นภาษาแห่งชาติ
ในช่วงการยึดครองของญี่ปุ่นปี 1942-1945 เขาได้ทำงานกับองค์กรที่ชื่อว่า Pusat Tenaga Rakyat (PUTERA) เป็นองค์กรที่ได้รับการสนับสนุนจากญี่ปุ่น ในปี 1945 เขาเสนอให้จัดตั้งองค์กรที่ชื่อ Badan Penyelidik Usaha Persiapan Kemerdekaan Indonesia (BPUPKI) เพื่อเตรียมการประกาศเอกราช โดยประเทศที่จะจัดตั้งใหม่นี้นอกจากอินโดเนเซียแล้ว ยังประกอบด้วยซาราวัค, ซาบะห์, แหลมมลายู, ตีมอร์โปร์ตุเกส รวมทั้งดินแดนทั้งหมดที่อยู่ภายใต้การปกครองของฮอลันดา ซูการ์โนเป็นสมาชิกของ BPUPKI ด้วย ดังนั้นซูการ์โนจึงสนับสนุนแนวคิดของมูฮัมหมัด ยามีน เมื่อซูการ์โนเป็นประธานาธิบดีคนแรกของอินโดเนเซียในปี 1945 ประธานาธิบดีซูการ์โนจึงแต่งตั้งมูฮัมหมัด ยามีนให้มีตำแหน่งที่สำคัญในคณะรัฐมนตรีของเขา เมื่อเขาเสียชีวิต เขาถูกฝังที่ สุสานในตำบลตาลาวี ห่างจากตัวอำเภอซาวะห์ลุนโตประมาณ 20 กิโลเมตร
นายเวนเซสลาว คิว. วินซันส์ WENCESLAO Q. VINZONS (1910-1942)
นายเวนเซสลาว คิว. วินซันส์
เขาเกิดเมื่อ 28 กันยายน 1910 ที่เมือง Indan จังหวัด Camarines Norte เป็นบุตรของนาย Gabino V. Vinzons และนาง Engracia Quinito หลังจากเขาจบการศึกษาในระดับมัธยมในบ้านเกิดของเขา เขาได้เข้าศึกษาจนจบปริญญาตรีด้านกฎหมายจากมหาวิทยาลัยแห่งฟิลิปปินส์ (the University of the Philippines) เขาได้รับเหรียญรางวัลทองคำประธานาธิบดีมานูเอล แอล. เคซอน (the Manuel L. Quezon gold medal) จากหนังสือที่เขาเขียนในหัวเรื่อง “Malaysia Irredenta” จากชื่อหนังสือเล่มนี้ ทำให้ถือได้ว่าเขาคือผู้ประดิษฐ์คำว่า “มาเลเซีย” เขายังเป็นบรรณาธิการของหนังสือพิมพ์มหาวิทยาลัยที่ชื่อว่า Philippine Collegian นอกจากนั้นเขายังเป็นนายกองค์การนักศึกษา (President of the Student Council)อีกด้วย ในปี 1932 เขาเป็นผู้นำองค์กรที่ชื่อว่า The Youth Movement ต่อต้านการขึ้นเงินเดือนของสมาชิกสภาเทศบาลกรุงมะนิลา ในปี 1933 เขาชนะเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติ (Constitutional Convention) โดยการจัดตั้งพรรคที่ชื่อว่า The Young Philippines Party ในปี 1940 เขาเป็นผู้ว่าราชการจังหวัด Camarines Norte ในปี เขาได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา (Congressman) เมื่อญี่ปุ่นเข้ายึดครองฟิลิปปินส์ เขาทำการต่อสู้กับญี่ปุ่น จนถูกจับและถูกประหารชีวิตเมื่อ 8 กรกฎาคม 1942
นายอาหมัด โบสตามาม Ahmad Boestamam
30 พฤศจิกายน 1920 - 19 มกราคม 1983
เขามีชื่อเดิมว่า Abdullah Sani Bin Raja Kechil) เป็นนักการเมืองนับตั้งแต่มาเลเซียก่อนได้รับเอกราช ด้านงานเขียนนั้นเขามีผลงานเขียนนวนิยายจำนวนกว่า 15 เล่ม มีเล่มหนึ่งชื่อว่า Sorotan Sekilas พิมพ์ในปี 1981 เขาเป็นบุคคลหนึ่งที่มีความคิดแนวทางรวมชนชาติมลายูเป็นหนึ่งเดียว ในพรรคมลายูแห่งมาลายานั้น เขาได้รับการแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการบริหารของพรรค
นายอิสฮัก ฮัจญีฒฮัมหมัด Ishak Haji Muhammad
14 พฤศจิกายน 1909 - 7 พฤศจิกายน 1991
นายอิสฮัก ฮัจญีฒฮัมหมัด จะรู้จักในอีกชื่อหนึ่งว่า Pak Sako เขาเกิดเมื่อปี 1909 ที่หมู่บ้านชื่อว่า Kampung Bukit Seguntang อำเภอ Temerloh รัฐ Pahang ได้รับการศึกษาชั้นต้นที่โรงเรียนมลายูชื่อ Sekolah Melayu Kg. Tengah, Temerloh ในปี 1919 ต่อมาเขาเรียนต่อที่ โรงเรียนอังกฤษชื่อว่า Sekolah Inggeris Clifford, Kuala Lipis ในปี 1924 จนถึง 1928 เขาจบประกาศนียบัตรการศึกษาจากโรงเรียนอังกฤษในอำเภอRaub รัฐปาหัง เมื่อปี 1929 ต่อมาเขาศึกษาต่อในระดับสูงขึ้นที่วิทยาลัยมลายูกัวลากังซาร์ (Maktab Melayu Kuala Kangsar) หรือ MCKK เพื่อทำหน้าที่เป็นข้าราชการของมาลายา(Malayan Civil Service). ในปี 1930 โดยเคยเขาทำงานเป็นผู้ช่วยปลัดอำเภอ, ผู้พิพากษาชั้น 2 และอาจารย์สอนภาษา ก่อนที่เข้าสู่วงการเขียนหนังสือ ในปี 1934 เขาลาออกจากราชการ เขาเคยถูกจำคุก 2 ครั้ง คือ ครั้งแรกในปี 1948 -1953ครั้งที่สองในปี 1965-1966 เขาเป็นนักเขียนที่เขียนหนังสือตั้งแต่ทศวรรษที่ 1930 จนถึง1950 เคยทำงานกับหนังสือพิมพ์ Utusan Melayu ภายใต้การนำของ Abdul Rahim Kajai เขาเขียนนวนิยาย เรื่องสั้น บทความ บันทึกความจำ เฉพาะที่เก็บไว้ในหอสมุดแห่งชาติมาเลเซียมีมากกว่า 1,000 ชิ้น ผลงานที่มีชื่อเสียงของเขาคือ Putera Gunung Tahan และ Anak Mat Lela Gila เขาได้รับปริญญาเอกกิตติมศักดิ์ด้านวรรณกรรมจากมหาวิทยาลัยมาลายาเมื่อ 29 มิถุนายน 1973 ต่อมาเมื่อ เขาได้รับรางวัล Pejuang Sastera จากนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย เขาเสียชีวิตเมื่อ ที่ 7 พฤศจิกายน November 1991 รัฐ Selangor.
ดร. บูรฮาบุดดิน อัล-เฮลมี Dr. Burhanuddin Al-Helmi
เขาเป็นนักการเมืองที่ค่อนข้างเข้ากับทุกกลุ่มได้ เขาเคยเป็นผู้นำของกลุ่มการเมืองที่ต่อสู้เพื่อรวมมาเลเซียเข้ากับอินโดเนเซีย การต่อสู้ทางการเมืองภายหลังของเขาคือการเป็นประธานพรรคอิสลามแห่งมาเลเซีย ซึ่งเมื่อตนกูอับดุลราห์มาน เสนอให้มีการจัดตั้งประเทศมาเลเซีย โดยการรวมมาลายา, สิงคโปร์, รัฐซาบะห์ และรัฐซาราวัคนั้น ทางดร.บูรฮาบุดดิน อัล-เฮลมี ในฐานะประธานพรรคอิสลามแห่งมาเลเซีย ได้เสนอหลักการ โดยให้ประเทศที่จะจัดตั้งขึ้นใหม่นี้นอกจากดินแดนข้างต้นแล้ว ยังประกอบด้วยสาธารณรัฐอินโดเนเซีย และ ฟิลิปปินส์อีกด้วย แต่ข้อเสนอของเขาต่อสภาผู้แทนราษฎรปรากฎว่าได้รับการปฏิเสธจากสภาดังกล่าว
อิบราฮิม ยะอากู๊บ Ibrahim Yaakub
เขาเป็นนักการเมืองที่นักวิชาการบางคน หรือแม้แต่ในหนังสือประวัติการต่อสู้พรรคอัมโนรัฐโยโฮร์ ก็กล่าวว่าเขาน่าจะเป็นบุคคลแรกที่เสนอแนวทางการต่อสู้เพื่อเอกราชของมาลายา เขาเป็นผู้ก่อตั้งสมาคมมลายูหนุ่ม หรือ Kesatuan Melayu Muda (KMM) ซึ่งจัดตั้งขึ้นในปี 1939 เขาเป็นหนึ่งในนักการเมืองที่อยู่ในแหลมมลายู ที่สนับสนุนแนวคิดการจัดตั้งประเทศ Melayu Raya หรือ Indonesia Raya ตามแผนการภายใต้การสนับสนุนของญี่ปุ่นนั้นอินโดเนเซียและมาลายาจะประกาศเอกราชพร้อมกัน และรวมเป็นประเทศเดียวกัน โดยมีนายซูการ์โนเป็นประธานาธิบดี และนายอิบราฮิม ยะอากู๊บ ที่อยู่ในมาลายา เป็นรองประธานาธิบดี แต่ปรากฏว่าญี่ปุ่นแพ้สงครามก่อน ดังนั้นอินโดเนเซียจึงประกาศเอกราช โดยปราศจากมาลายา ต่อมานายอิบราฮิม ยะอากู๊บหนีภัยไปอาศัยและเสียชีวิตในอินโดเนเซีย
แนวคิดการรวมชนชาติมลายู
นายโฮเซ รีซาล (Jose Rizal) เป็นชาวฟิลิปปินส์ที่ได้รับการยอมรับว่าเป็น “ชาวมลายูผู้ยิ่งใหญ่” (The greater Malayan) ด้วยเขาเป็นนักต่อสู้ที่ไม่เพียงเรียกร้องเอกราชจากเจ้าอาณานิคมเท่านั้น แต่เขาเรียกร้องให้ชนชาติมลายูรวมตัวกัน นายอาโปลีนารีโอ มาบีนี (Apolinario Mabini) เป็นนักต่อสู้อีกผู้หนึ่งที่เห็นด้วยกัยการรวมตัวกันของชนชาติมลายู การต่อสู้เรียกร้องของทั้งสองตนเป็นการต่อสู้ในช่วงปีทศวรรษที่ 1890
ในปี 1879 รัฐสภาของฮาวาย ที่เมืองโฮโนลูลู ได้มีการพิจารณาถึงการรวมตัวของโลกมลายู-โปลิเนเซีย และต่อมา 19 ปี ต่อมาคือปี 1898 นายอาโปลีนารีโอ มาบีนี ได้ประกาศ ณ กรุงมะนิลา ถึงแผนการ Federation Malaya ขึ้น โดยเป็นแผนการรวมตัวของโลกมลายู- โปลิเนเซีย
ต่อมาเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 1932 นายเวนเซสลาว คิว. วินซันส์ (Wenceslao Q. Vinzons) ได้บรรยายถึงความเป็นของเขาในเรื่องโลกมลายูโปลีเนเซีย เขาบรรยายที่มหาวิทยาลัฟิลิปปินส์ ตามหัวข้อหนังสือของเขาที่มีชื่อว่า “Malaysia Irredenta” เขาเรียกร้องให้มีการรวมตัวของชนชาติมลายูเข้าด้วยกัน ถือได้ว่าเขาเป็นผู้ประดิษฐ์คำว่า “Malaysia” ก่อนที่จะมีการนำชื่อนี้มาเป็นชื่อประเทศมาเลเซียในปัจจุบัน ส่วนหนึ่งของหนังสือเล่มนั้นที่มีชื่อว่า The History and Civilization of Southeast Asian countries belonging to the Malay Race ได้รับการแปลเป็นภาษามลายูเผยแพร่ในอินโดเนเซีย แต่บทความดังกล่าวถูกฮอลันดาสั่งห้าม นายเวนเซสลาว คิว.วินซันส์ ได้รวบรวมนักศึกษาชาวมลายูที่เป็นชาวฟิลิปปินส์ ,มาเลเซีย,อินโดเนเซีย และภาคใต้ของไทย จัดตั้งเป็นองค์กรโดยใช้ชื่อว่า Perhempoenan Orang Melayoe (สมาคมคนมลายู ) ต่อมาเขาได้ออกจาก Perhempoenan Orang Melayoe โดยไปดำเนินการจัดตั้งพรรคการเมืองขึ้นโดยใช้ชื่อว่า The Young Philippines Party เมื่อ 7 มกราคม 1934 เขายังคงไว้ซึ่งอุดมการณ์ของการรวมตัวของชนชาติมลายู พรรคการเมืองนี้มีสมาชิกก่อตั้งที่มีบทบาทในภายหลังคนหนึ่งชื่อว่า นายดีออสดาโด มาคาปากัล (Diosdado Macapagal) ต่อมานายเวนเซสลาว คิว.วินซันส์ ได้รับเลื่อกตนมีตำแหน่งทางการเมืองแต่เมื่อญี่ปุ่นเข้ายึดครองฟิลิปปินส์ เขาต่อต้านและปฏิเสธความร่วมมือกับฝ่ายญี่ปุ่น จนถูกญี่ปุ่นจับตัวและประหารชีวิต อดีตวุฒิสมาชิกฟิลิปปินส์ที่ชื่อว่า นายอาหมัด อาโลนโต ซีเนียร์ (Ahmad Alonto Sr) ผู้เคยดำรงตำแหน่งเป็นรองประธานของ Perhenpoenan Orang Melayoe กล่าวว่าคำว่า “Malaysia” เคยถูกเสนอเป็นชื่อประเทศฟิลิปปินส์ก่อนที่จะมีประเทศมาเลเซียเช่นปัจจุบัน และภาษามลายูเคยถูกเสนอเป็นภาษาประจำชาติของฟิลิปปินส์ถึง 2 ครั้ง ซึ่งปรากฏเป็นหลักฐานอยู่ที่รัฐสภาของฟิลิปปินส์ในปัจจุบัน
ในปี 1932 เช่นกัน มูฮัมหมัด ยามิน (Muhammad Yamin ) แห่งอินโดเนเซียได้จุดประกายถึงแนวความคิดการรวมตัวของ Indonesia Raya หรือ Melayu Raya โดยการรามดินแดนต่าง ๆ เข้าด้วยกันเหมือนอย่างสมัย Gajah Mada เคยทำมาเมื่อ 500 ปีที่ผ่านมา ส่วนที่ประเทศมาเลเซียในปี 1932 นายอิบราฮิม ยะกู๊บ (Ibrahim Yaakob) ได้ต่อสู้ทางการเมืองเพื่อจัดตั้ง Gagasan Melayu Raya แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ
แนวความคิดของการรวมชนชาติมลายูเข้าด้วยกัน ยังคงมีอยู่ เมื่อนายดีออสดาโด มากาปากัล ได้เป็นประธานาธิบดีของฟิลิปปินส์ เขาผู้ได้รับอิทธิพลทางความคิดในเรื่องการรวมตัวของชนชาติมลายู จึงร่วมมื่อกับประธานาธิบดีซูการ์โนแห่งอินโดเนเซีย และตวนกูอับดุลราห์มาน ปุตรา นายกรัฐมนตรี ของมาลายา แผนจัดตั้ง “The Confederation of free Malay Republics ” โดยใช้ชื่อว่า MAPHILINDO ซึ่งเป็นชื่อย่อของ MALAYA- PHILIPPINES- INDONESIA. เขาได้ประกาศขึ้นที่กรุงมะนิลา เมื่อ 5 สิงหาคม 1963 โดยเขากล่าวว่า “บรรดาคนหนุ่มสาวฟิลิปปินส์ ภายใต้การนำของวีรบุรุษที่ชื่อว่า Wenceslao Q.Vingons ซึ่งข่าพเจ้ามีโอกาสเป็นสมาชิกก่อตั้งคนหนึ่งของพรรคคนหนุ่มสาวฟิลิปปินส์ ( The Young Philippines) ในปี 1934 และอุดมการณ์ครั้งนั้นได้รับการสืบทอดมาเป็น “MAPHILINDO” ถึงอย่างไรก็ตาม ก็ประสบกับความล้มเหลว เมื่อมาลายาขณะนั้นได้รวมตัวกับรัฐซาบะห์, รัฐซาราวัค และสิวคโปร์จนกลายเป็นประเทศมาเลเซีย และเกิดความขัดแย้งกับอินโดเนเซีย
การรวมตัวของชนชาติมลายูได้ดำเนินการในรูปแบบใหม่ นั้นคือการจัดตั้ง ASEAN ในกลุ่มประเทศ ASEAN นั้นจะเห็นได้ว่าประชากรส่วนใหญ่ของ ASEAN เป็นชนชาวมลายู ถ้าสังเกตให้ดีจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าทุกประเทศในกลุ่มประเทศ ASEAN ล้วนมีชนชาวมลายูอาศัยอยู่ในปัจจุบันการรามตัวของชนชาติมลายูจะเกิดขึ้นในลักษณะของ “โลกวัฒนธรรมมลายู” (Malay Cultural World ) องค์กรที่ดำเนินกิจกรรมด้นวัฒนธรรมมลายูมีอยู่ 2 องค์กร คือ สำนักเลขาธิการมลายูนานาชาติ (Sekretariat Melayu Antarabangsa ) ซึ่งมีสำนึกงานอยู่ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ได้รับการสนันสนุนด้านงบประมาณจากรัฐสลางอร์ และอีกองค์กรหนึ่ง คือ สำนักเลขาธิการโลกมลายูโลกอิสลาม (Sekretariat Dunia Melayu Dunia Islam ) โดยองค์กรนี้ถือเป็นหน่วยงานหนึ่ง
ของรัฐบาลท้องถิ่นแห่งรัฐมะละกา
วิชามลายูศึกษากับนักสังคมวิทยา
โดย นิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน
วิชามลายูศึกษานั้นมีความสัมพันธ์กับวิชาสังคมวิทยา ดังนั้นเรามาทำความรู้จักกับนักสังคมวิทยาที่บางครั้งเราอาจมองข้าม บุคคลแรก นักวิชาการถือว่าเป็นบิดาแห่งวิชาสังคมวิทยาคือ ท่านวะลียุดดีน อับดุรเราะหฺมาน อิบนุ มุหัมมัด อิบนุ มุหัมมัด อิบนุ คอลดูน หรือ ท่านอิบนุคอลดูน นักการศาสนานามอุโฆษของโลกมุสลิม สำหรับท่านที่สองนั้นคือ ดร.อาลี ชารีอาตี นักสังคมวิทยาชาวอิหร่านที่ได้รับการยอมรับในด้านวิชาการสังคมวิทยา ส่วนท่านที่สามคือ ศาสตราจารย์ ดร. โกนจารานิงรัต เป็นนักมานุษยวิทยาว่าด้วยชาติพันธุ์มลายู ท่านเป็นชาวอินโดเนเซียที่ถือได้ว่าเป็นบิดาแห่งวิชามานุษยวิทยาของอินโดเนเซีย
ชีวประวัติอิบนุคอลดูน (1332-1406)
วะลียุดดีน อับดุรเราะหฺมาน อิบนุ มุหัมมัด อิบนุ มุหัมมัด อิบนุ คอลดูน หรือรู้จักกันสั้นๆ ในนามของอิบนุคอลดูน เป็นนักฟิกฮฺ รัฐบุรุษ นักสังคมวิทยา และนักประวัติศาสตร์อันโด่งดังแห่งโลกมุสลิม ท่านเกิดในวันที่ 1 รอมฎอน ฮ.ศ. 732 (5 พฤษภาคม ค.ศ. 1332) บรรพบุรุษของท่านเป็นชาวเยเมนที่อพยพมาตั้งรกรากอยู่ที่เซวิลล์ (Seville) ประเทศสเปน และรับราชการอยู่ที่นั่น ครอบครัวของท่านก็ได้อพยพไปยังเมืองตูนิส (ปัจจุบันอยู่ในประเทศตูนีเซีย) ก่อนที่มุสลิมสเปนจะสูญเสียเซวิลล์ให้แก่ชาวคริสเตียนเพียงไม่กี่ปี
อิบนุคอลดูนเกิดที่เมืองตูนิส และได้รับการศึกษาที่นั่น ท่านได้รับการศึกษาในวิชาอัลกุรอาน อัลหะดีษ นิติศาสตร์ ภาษาอาหรับ ไวยากรณ์ และกวีนิพนธ์จากนักวิชาการที่มีชื่อเสียงโด่งดังในสมัยนั้น ต่อจากนั้นท่านก็ได้ศึกษารหัสยวิทยา (mysticism) และปรัชญาจากนักวิชาการชาวสเปน อิบนุคอลดูนได้รับราชการในตำแหน่งต่าง ๆ หลายตำแหน่ง ไม่ว่าจะเป็นผู้ประทับตราสารขององค์สุลต่าน เลขาธิการของรัฐ นักการทูต ตลอดจนผู้พิพากษา
ในปี ค.ศ. 1352 ขณะที่มีอายุ 20 ปี อิบนุคอลดูนเข้ารับราชการในราชวงศ์หัฟศิด แต่ในปี ค.ศ. 1354 ท่านก็จากบ้านเกิดของท่านเดินทางไปยังเมืองเฟซ (Fez) เพื่อรับใช้สุลต่าน อบูอินาน และเพื่อศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม ที่เมืองเฟซ ท่านได้ศึกษากับนักวิชาการที่มีชื่อเสียงหลายคน การรับราชการของท่านกับสุลต่านอบูอินานก็ไม่ยาวนานเท่าที่ควร ในปี 1357 ท่านถูกจำคุก แต่ในปี 1358 เมื่อ อบูอินานเสียชีวิต ท่านจึงได้รับการปล่อยตัว อัลหะสัน อิบนุ อุมัรซึ่งเป็นวิเซียร์ขององค์สุลต่านก็คืนตำแหน่งให้ท่าน ท่านจึงมีโอกาสรับใช้สุลต่านอบูสาเล็มซึ่งเป็นรัชทายาทของสุลต่านอบูอินานต่อไป
ในปี ค.ศ. 1362 อิบนุคอลดูนอพยพไปยังแกรนาดา ท่านได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดีจากสุลต่านมุหัมมัดที่ 5 อีกสองปีต่อมาท่านก็ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นทูตไปเจรจาสันติภาพกับเพโดร (Pedro) แห่งคาสทิลล์ (Castille) ท่านจึงมีโอกาสเยือนเซวิลล์ซึ่งเป็นเมืองบรรพบุรุษของท่าน เพโดรเสนอที่จะคืนทรัพย์เดิมของบรรพบุรุษให้แก่อิบนุคอลดูน และเสนอให้ท่านรับราชการอยู่กับพระองค์ แต่อิบนุคอลดูนปฏิเสธ
เนื่องจากสถานการณ์บ้านเมืองที่วุ่นวาย ประกอบกับความเบื่อหน่ายต่อชีวิตการเมืองที่ขึ้น ๆ ลง ๆ อิบนุคอลดูนจึงมุ่งหน้าไปสู่หมู่บ้านกอลลาต อิบนุสะละมะฮฺเพื่อทุ่มเทเวลาให้กับการผลิตผลงานทางวิชาการ ณ สถานที่แห่งนี้เองที่ท่านใช้เวลาถึงสี่ปีในการแต่งหนังสืออัลอิบาร ซึ่งเขียนเสร็จในปี 1372 บทนำของหนังสือเล่มนี้หรือ อัลมุก็อดดิมะฮฺ (al-Muqaddimah) ซึ่งต่อมาได้รับการตีพิมพ์เป็นเอกเทศจากกีตาบอัลอิบาร เป็นตำราที่ทำให้ท่านมีชื่อเสียงโด่งดังทั้งในโลกมุสลิมและโลกตะวันตก
ในอัลมุกอดดิมะฮฺ อิบนุคอลดูน กล่าวว่าท่านได้ก่อตั้งศาสตร์แขนงใหม่นั่นก็คือศาสตร์ว่าด้วยอารยธรรม (Ilm al-Umran) ขึ้น ในหนังสือเล่มดังกล่าวนี้ อิบนุ คอลดูนได้พูดถึงแนวคิดของท่านเกี่ยวกับการรวมกลุ่มของมนุษย์ สังคมในระดับต่าง ๆ ตลอดจนการเกิดและการล่มสลายของจักรวรรดิ นักวิชาการส่วนหนึ่งถือว่าอิบนุคอลดูนเป็นบิดาแห่งวิชาสังคมวิทยา (Sociology) ทั้งนี้เพราะท่านเป็นนักวิชาการคนแรกที่พยายามก่อตั้งกฎทางสังคมขึ้น
ดร. อาลี ชารีอาตี (Dr. Ali Shariati) (1933–1977)
เป็นนักสังคมวิทยาชาวอิหร่าน งานเขียนส่วนใหญ่จะเป็นด้านสังคมวิทยาศาสนา เกิดในปี 1933 ที่เมืองมาซีนาน (Mazinan) ซึ่งเป็นส่วนย่อยของเมืองซาบเซวาร์ (Sabzevar) ประเทศอิหร่าน บิดาของเขาเป็นนักชาตินิยมก้าวหน้าและเป็นนักการศาสนา ซึ่งมีผลทำให้การเข้าร่วมในขบวนการทางการเมืองของ ดร. อาลี ชารีอาตีในเวลาต่อมา
ในสมัยที่เรียนอยู่ที่วิทยาลัยครู เขาได้คบค้าสมาคมกับเยาวชนที่มาจากชนชั้นด้อยทางเศรษฐกิจ เขาเองมีความรู้เกี่ยวกับวิชาสังคมวิทยาสมัยใหม่และปรัชญา โดยเขาได้รับอิทธิพลจากงานเขียนของ Moulana Rumi และ Muhammad Iqbal.
เขาได้รับปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยมาชฮัด (University of Mashhad) ต่อมาศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นที่มหาวิทยาลัยปารีส (University of Paris) โดยเขาได้รับปริญญาเอกด้านสังคมวิทยา ในปี 1964. ต่อมาในปี 1965 เขาได้เข้าเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยมาชฮัด (University of Mashhad) เขาได้รับการยอมรับจากผู้คนในด้านความรู้วิชาการของเขา จนเขาถูกจับโดยพระเจ้าชาห์ เมื่อเขาถูกปล่อยตัว เขาได้เดินทางไปยังกรุงเตหะราน โดยเข้าสอนที่สถาบันการศึกษาที่มีชื่อว่าสถาบันฮุสเซ็นนียา เอร์ชาด การสอนของเขายิ่งเพิ่มจำนวนผู้เข้าฟังมากขึ้น จนทางพระเจ้าชาห์ทำการจับกุมเขาและนักศึกษาจำนวนหนึ่ง เขาถูกจำคุกเป็นเวลา 18 เดือน ต่อมาได้รับการปล่อยตัว เมื่อ 20 มีนาคม 1975 โดยมีเงื่อนไขห้ามมีการสอน การพิมพ์งานเขียน หรือเข้าไปเกี่ยวข้องใดๆกับกิจกรรมทางการเมือง ทางหน่วยราชการลับของพระเจ้าชาห์ที่ชื่อว่า SAVAK จะติดตามการเคลื่อนไหวของเขาทุกย่างก้าว
เขาปฏิเสธเงื่อนไขดังกล่าวโดยเดินทางออกนอกประเทศ ไปยังประเทศอังกฤษ สามสัปดาห์ต่อมาเขาสิ้นชีวิต โดยมีการประกาศว่าเป็นโรคหัวใจวาย แต่เป็นที่รับรู้ว่าการตายของเขาเกี่ยวข้องกับหน่วยราชการลับของพระเจ้าชาห์ที่ชื่อว่า SAVAK สุสานของเขาตั้งอยู่บริเวณสุสานของนางไซนับ บินตีอาลี (Zainab bint Ali) ในกรุงดามัสกัส ประเทศซีเรีย
สำหรับงานเขียนของเขาที่สำคัญมีดังนี้ Hajj (The Pilgrimage), Where Shall We Begin?, Mission of a Free Thinker, The Free Man and Freedom of the Man, Extraction and Refinement of Cultural Resources, Martyrdom (book), Arise and Bear Witness, Ali, Declaration of Iranian's Livelihood, Islamology งานเขียนของเขามีจำนวนมาก ส่วนหนึ่งได้รับการแปลเป็นภาษามลายูและภาษาไทย สำหรับหนังสือที่แปลเป็นภาษาไทย ส่วนหนึ่งมีอยู่ในหอสมุด จอห์น เอฟ. เคเนดี้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
บุคคลที่เกี่ยวข้องกับวิชามลายูศึกษา
มีบุคคลจำนวนมากทั้งที่เป็นคนมลายู จากอินโดเนเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับวิชามลายูศึกษา ไม่ว่าจะเป็นด้านการเมือง การปกครอง ประวัติศาสตร์ ปรัชญา สังคมวิทยามลายู มานุษยวิทยามลายู ซึ่งขอกล่าวเฉพาะบางคนดังต่อไปนี้
ศาสตราจารย์ ดร. โกนจารานิงรัต (Prof. Dr. Koentjaraningrat)
15 มิถุนาย1923 – 23 มีนาคม 1999
เขาเป็นบุตรชายโทนของครอบครัวเชื้อสายเจ้าของยอกยาการ์ตา บิดาชื่อว่าระเด่น มัส เอมาวัน โบรโตโกโซโม (RM Emawan Brotokoesoemo) ความรู้ความสามารถของเขาเกี่ยวกับชาติพันธุ์ต่างๆในภูมิภาคมลายู ทำให้เขาได้รับการขนานนามว่าเป็น “บิดาแห่งวิชามานุษยวิทยาอินโดเนเซีย”
เขาได้รับการศึกษาเบื้องต้นด้านวรรณกรรมจากมหาวิทยาลัยอินโดเนเซียในปี 1952 แต่เขามีความสนใจด้านวัฒนธรรม จนสามารถจบปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยเยล (Yale University) ในปี 1958 และจบปริญญาเอกด้านมานุษยวิทยาที่มหาวิทยาลัยอินโดเนเซีย เขาได้แต่งตำราเป็นจำนวนหลายเล่ม จนกลายเป็นตำราอ้างอิงของบรรดานักศึกษา นักวิชาการต่อมา เช่น ความรู้มานุษยวิทยา (Pengantar Antropologi), ความหลากหลายของสังคมอีเรียนตะวันตก (Keseragaman Aneka Warna Masyarakat Irian Barat,1970), มนุษย์และวัฒนธรรมในอินโดเนเซีย(Manusia dan Kebudayaan di Indonesia 1971), ชาวสวนผลไม้ในจาการ์ตาใต้ (Petani Buah-buahan di Selatan Jakarta 1973), สังคมชนบทในอินโดเนเซีย(Masyarakat Desa di Indonesia 1984) และ วัฒนธรรมชวา (Kebudayaan Jawa 1984)
เขาเป็นอาจารย์ด้านมานุษยวิทยาที่มหาวิทยาลัยอินโดเนเซีย (Universitas Indonesia) ต่อมาเป็นอาจารย์พิเศษที่มหาวิทยาลัยกายะห์มาดา(Universitas Gadjah Mada) และเป็นอาจารย์ด้านกฎหมายทหาร (Akademi Hukum Militer)ที่สถาบันการศึกษาตำรวจ (Perguruan Tinggi Ilmu Kepolisian)
นอกจากนั้นเขาเคยเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัย Utrecht ประเทศฮอลันดา, มหาวิทยาลัย Columbia, มหาวิทยาลัย Illinois,มหาวิทยาลัย Wisconsin, มหาวิทยาลัย Ohio, มหาวิทยาลัยมาลายา, สถาบัน Ecole des Hautes, Etudes en Sciences Sociales ในกรุงปารีส และสถาบัน Center for South East dan Asian Studies ที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เขาได้รับปริญญาเอกกิตติมศักดิ์(doctor honoris causa) จากมหาวิทยาลัย Utrecht ในปี 1976 และได้รับรางวัล Fukuoka Asian Cultural Price ในปี 1995
วิชามลายูศึกษานั้นมีความสัมพันธ์กับวิชาสังคมวิทยา ดังนั้นเรามาทำความรู้จักกับนักสังคมวิทยาที่บางครั้งเราอาจมองข้าม บุคคลแรก นักวิชาการถือว่าเป็นบิดาแห่งวิชาสังคมวิทยาคือ ท่านวะลียุดดีน อับดุรเราะหฺมาน อิบนุ มุหัมมัด อิบนุ มุหัมมัด อิบนุ คอลดูน หรือ ท่านอิบนุคอลดูน นักการศาสนานามอุโฆษของโลกมุสลิม สำหรับท่านที่สองนั้นคือ ดร.อาลี ชารีอาตี นักสังคมวิทยาชาวอิหร่านที่ได้รับการยอมรับในด้านวิชาการสังคมวิทยา ส่วนท่านที่สามคือ ศาสตราจารย์ ดร. โกนจารานิงรัต เป็นนักมานุษยวิทยาว่าด้วยชาติพันธุ์มลายู ท่านเป็นชาวอินโดเนเซียที่ถือได้ว่าเป็นบิดาแห่งวิชามานุษยวิทยาของอินโดเนเซีย
ชีวประวัติอิบนุคอลดูน (1332-1406)
วะลียุดดีน อับดุรเราะหฺมาน อิบนุ มุหัมมัด อิบนุ มุหัมมัด อิบนุ คอลดูน หรือรู้จักกันสั้นๆ ในนามของอิบนุคอลดูน เป็นนักฟิกฮฺ รัฐบุรุษ นักสังคมวิทยา และนักประวัติศาสตร์อันโด่งดังแห่งโลกมุสลิม ท่านเกิดในวันที่ 1 รอมฎอน ฮ.ศ. 732 (5 พฤษภาคม ค.ศ. 1332) บรรพบุรุษของท่านเป็นชาวเยเมนที่อพยพมาตั้งรกรากอยู่ที่เซวิลล์ (Seville) ประเทศสเปน และรับราชการอยู่ที่นั่น ครอบครัวของท่านก็ได้อพยพไปยังเมืองตูนิส (ปัจจุบันอยู่ในประเทศตูนีเซีย) ก่อนที่มุสลิมสเปนจะสูญเสียเซวิลล์ให้แก่ชาวคริสเตียนเพียงไม่กี่ปี
อิบนุคอลดูนเกิดที่เมืองตูนิส และได้รับการศึกษาที่นั่น ท่านได้รับการศึกษาในวิชาอัลกุรอาน อัลหะดีษ นิติศาสตร์ ภาษาอาหรับ ไวยากรณ์ และกวีนิพนธ์จากนักวิชาการที่มีชื่อเสียงโด่งดังในสมัยนั้น ต่อจากนั้นท่านก็ได้ศึกษารหัสยวิทยา (mysticism) และปรัชญาจากนักวิชาการชาวสเปน อิบนุคอลดูนได้รับราชการในตำแหน่งต่าง ๆ หลายตำแหน่ง ไม่ว่าจะเป็นผู้ประทับตราสารขององค์สุลต่าน เลขาธิการของรัฐ นักการทูต ตลอดจนผู้พิพากษา
ในปี ค.ศ. 1352 ขณะที่มีอายุ 20 ปี อิบนุคอลดูนเข้ารับราชการในราชวงศ์หัฟศิด แต่ในปี ค.ศ. 1354 ท่านก็จากบ้านเกิดของท่านเดินทางไปยังเมืองเฟซ (Fez) เพื่อรับใช้สุลต่าน อบูอินาน และเพื่อศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม ที่เมืองเฟซ ท่านได้ศึกษากับนักวิชาการที่มีชื่อเสียงหลายคน การรับราชการของท่านกับสุลต่านอบูอินานก็ไม่ยาวนานเท่าที่ควร ในปี 1357 ท่านถูกจำคุก แต่ในปี 1358 เมื่อ อบูอินานเสียชีวิต ท่านจึงได้รับการปล่อยตัว อัลหะสัน อิบนุ อุมัรซึ่งเป็นวิเซียร์ขององค์สุลต่านก็คืนตำแหน่งให้ท่าน ท่านจึงมีโอกาสรับใช้สุลต่านอบูสาเล็มซึ่งเป็นรัชทายาทของสุลต่านอบูอินานต่อไป
ในปี ค.ศ. 1362 อิบนุคอลดูนอพยพไปยังแกรนาดา ท่านได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดีจากสุลต่านมุหัมมัดที่ 5 อีกสองปีต่อมาท่านก็ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นทูตไปเจรจาสันติภาพกับเพโดร (Pedro) แห่งคาสทิลล์ (Castille) ท่านจึงมีโอกาสเยือนเซวิลล์ซึ่งเป็นเมืองบรรพบุรุษของท่าน เพโดรเสนอที่จะคืนทรัพย์เดิมของบรรพบุรุษให้แก่อิบนุคอลดูน และเสนอให้ท่านรับราชการอยู่กับพระองค์ แต่อิบนุคอลดูนปฏิเสธ
เนื่องจากสถานการณ์บ้านเมืองที่วุ่นวาย ประกอบกับความเบื่อหน่ายต่อชีวิตการเมืองที่ขึ้น ๆ ลง ๆ อิบนุคอลดูนจึงมุ่งหน้าไปสู่หมู่บ้านกอลลาต อิบนุสะละมะฮฺเพื่อทุ่มเทเวลาให้กับการผลิตผลงานทางวิชาการ ณ สถานที่แห่งนี้เองที่ท่านใช้เวลาถึงสี่ปีในการแต่งหนังสืออัลอิบาร ซึ่งเขียนเสร็จในปี 1372 บทนำของหนังสือเล่มนี้หรือ อัลมุก็อดดิมะฮฺ (al-Muqaddimah) ซึ่งต่อมาได้รับการตีพิมพ์เป็นเอกเทศจากกีตาบอัลอิบาร เป็นตำราที่ทำให้ท่านมีชื่อเสียงโด่งดังทั้งในโลกมุสลิมและโลกตะวันตก
ในอัลมุกอดดิมะฮฺ อิบนุคอลดูน กล่าวว่าท่านได้ก่อตั้งศาสตร์แขนงใหม่นั่นก็คือศาสตร์ว่าด้วยอารยธรรม (Ilm al-Umran) ขึ้น ในหนังสือเล่มดังกล่าวนี้ อิบนุ คอลดูนได้พูดถึงแนวคิดของท่านเกี่ยวกับการรวมกลุ่มของมนุษย์ สังคมในระดับต่าง ๆ ตลอดจนการเกิดและการล่มสลายของจักรวรรดิ นักวิชาการส่วนหนึ่งถือว่าอิบนุคอลดูนเป็นบิดาแห่งวิชาสังคมวิทยา (Sociology) ทั้งนี้เพราะท่านเป็นนักวิชาการคนแรกที่พยายามก่อตั้งกฎทางสังคมขึ้น
ดร. อาลี ชารีอาตี (Dr. Ali Shariati) (1933–1977)
เป็นนักสังคมวิทยาชาวอิหร่าน งานเขียนส่วนใหญ่จะเป็นด้านสังคมวิทยาศาสนา เกิดในปี 1933 ที่เมืองมาซีนาน (Mazinan) ซึ่งเป็นส่วนย่อยของเมืองซาบเซวาร์ (Sabzevar) ประเทศอิหร่าน บิดาของเขาเป็นนักชาตินิยมก้าวหน้าและเป็นนักการศาสนา ซึ่งมีผลทำให้การเข้าร่วมในขบวนการทางการเมืองของ ดร. อาลี ชารีอาตีในเวลาต่อมา
ในสมัยที่เรียนอยู่ที่วิทยาลัยครู เขาได้คบค้าสมาคมกับเยาวชนที่มาจากชนชั้นด้อยทางเศรษฐกิจ เขาเองมีความรู้เกี่ยวกับวิชาสังคมวิทยาสมัยใหม่และปรัชญา โดยเขาได้รับอิทธิพลจากงานเขียนของ Moulana Rumi และ Muhammad Iqbal.
เขาได้รับปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยมาชฮัด (University of Mashhad) ต่อมาศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นที่มหาวิทยาลัยปารีส (University of Paris) โดยเขาได้รับปริญญาเอกด้านสังคมวิทยา ในปี 1964. ต่อมาในปี 1965 เขาได้เข้าเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยมาชฮัด (University of Mashhad) เขาได้รับการยอมรับจากผู้คนในด้านความรู้วิชาการของเขา จนเขาถูกจับโดยพระเจ้าชาห์ เมื่อเขาถูกปล่อยตัว เขาได้เดินทางไปยังกรุงเตหะราน โดยเข้าสอนที่สถาบันการศึกษาที่มีชื่อว่าสถาบันฮุสเซ็นนียา เอร์ชาด การสอนของเขายิ่งเพิ่มจำนวนผู้เข้าฟังมากขึ้น จนทางพระเจ้าชาห์ทำการจับกุมเขาและนักศึกษาจำนวนหนึ่ง เขาถูกจำคุกเป็นเวลา 18 เดือน ต่อมาได้รับการปล่อยตัว เมื่อ 20 มีนาคม 1975 โดยมีเงื่อนไขห้ามมีการสอน การพิมพ์งานเขียน หรือเข้าไปเกี่ยวข้องใดๆกับกิจกรรมทางการเมือง ทางหน่วยราชการลับของพระเจ้าชาห์ที่ชื่อว่า SAVAK จะติดตามการเคลื่อนไหวของเขาทุกย่างก้าว
เขาปฏิเสธเงื่อนไขดังกล่าวโดยเดินทางออกนอกประเทศ ไปยังประเทศอังกฤษ สามสัปดาห์ต่อมาเขาสิ้นชีวิต โดยมีการประกาศว่าเป็นโรคหัวใจวาย แต่เป็นที่รับรู้ว่าการตายของเขาเกี่ยวข้องกับหน่วยราชการลับของพระเจ้าชาห์ที่ชื่อว่า SAVAK สุสานของเขาตั้งอยู่บริเวณสุสานของนางไซนับ บินตีอาลี (Zainab bint Ali) ในกรุงดามัสกัส ประเทศซีเรีย
สำหรับงานเขียนของเขาที่สำคัญมีดังนี้ Hajj (The Pilgrimage), Where Shall We Begin?, Mission of a Free Thinker, The Free Man and Freedom of the Man, Extraction and Refinement of Cultural Resources, Martyrdom (book), Arise and Bear Witness, Ali, Declaration of Iranian's Livelihood, Islamology งานเขียนของเขามีจำนวนมาก ส่วนหนึ่งได้รับการแปลเป็นภาษามลายูและภาษาไทย สำหรับหนังสือที่แปลเป็นภาษาไทย ส่วนหนึ่งมีอยู่ในหอสมุด จอห์น เอฟ. เคเนดี้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
บุคคลที่เกี่ยวข้องกับวิชามลายูศึกษา
มีบุคคลจำนวนมากทั้งที่เป็นคนมลายู จากอินโดเนเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับวิชามลายูศึกษา ไม่ว่าจะเป็นด้านการเมือง การปกครอง ประวัติศาสตร์ ปรัชญา สังคมวิทยามลายู มานุษยวิทยามลายู ซึ่งขอกล่าวเฉพาะบางคนดังต่อไปนี้
ศาสตราจารย์ ดร. โกนจารานิงรัต (Prof. Dr. Koentjaraningrat)
15 มิถุนาย1923 – 23 มีนาคม 1999
เขาเป็นบุตรชายโทนของครอบครัวเชื้อสายเจ้าของยอกยาการ์ตา บิดาชื่อว่าระเด่น มัส เอมาวัน โบรโตโกโซโม (RM Emawan Brotokoesoemo) ความรู้ความสามารถของเขาเกี่ยวกับชาติพันธุ์ต่างๆในภูมิภาคมลายู ทำให้เขาได้รับการขนานนามว่าเป็น “บิดาแห่งวิชามานุษยวิทยาอินโดเนเซีย”
เขาได้รับการศึกษาเบื้องต้นด้านวรรณกรรมจากมหาวิทยาลัยอินโดเนเซียในปี 1952 แต่เขามีความสนใจด้านวัฒนธรรม จนสามารถจบปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยเยล (Yale University) ในปี 1958 และจบปริญญาเอกด้านมานุษยวิทยาที่มหาวิทยาลัยอินโดเนเซีย เขาได้แต่งตำราเป็นจำนวนหลายเล่ม จนกลายเป็นตำราอ้างอิงของบรรดานักศึกษา นักวิชาการต่อมา เช่น ความรู้มานุษยวิทยา (Pengantar Antropologi), ความหลากหลายของสังคมอีเรียนตะวันตก (Keseragaman Aneka Warna Masyarakat Irian Barat,1970), มนุษย์และวัฒนธรรมในอินโดเนเซีย(Manusia dan Kebudayaan di Indonesia 1971), ชาวสวนผลไม้ในจาการ์ตาใต้ (Petani Buah-buahan di Selatan Jakarta 1973), สังคมชนบทในอินโดเนเซีย(Masyarakat Desa di Indonesia 1984) และ วัฒนธรรมชวา (Kebudayaan Jawa 1984)
เขาเป็นอาจารย์ด้านมานุษยวิทยาที่มหาวิทยาลัยอินโดเนเซีย (Universitas Indonesia) ต่อมาเป็นอาจารย์พิเศษที่มหาวิทยาลัยกายะห์มาดา(Universitas Gadjah Mada) และเป็นอาจารย์ด้านกฎหมายทหาร (Akademi Hukum Militer)ที่สถาบันการศึกษาตำรวจ (Perguruan Tinggi Ilmu Kepolisian)
นอกจากนั้นเขาเคยเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัย Utrecht ประเทศฮอลันดา, มหาวิทยาลัย Columbia, มหาวิทยาลัย Illinois,มหาวิทยาลัย Wisconsin, มหาวิทยาลัย Ohio, มหาวิทยาลัยมาลายา, สถาบัน Ecole des Hautes, Etudes en Sciences Sociales ในกรุงปารีส และสถาบัน Center for South East dan Asian Studies ที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เขาได้รับปริญญาเอกกิตติมศักดิ์(doctor honoris causa) จากมหาวิทยาลัย Utrecht ในปี 1976 และได้รับรางวัล Fukuoka Asian Cultural Price ในปี 1995
การเรียนการสอนวิชามลายูศึกษาในต่างประเทศ
โดย นิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน
ตามที่ได้ทราบแล้วว่าวิชามลายูศึกษานั้นเป็นวิชาที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ วิชามลายูศึกษาแรกเริ่มนั้น เป็นการเรียนรู้ของชาติตะวันตกต่อชนชาวมลายู โดยใช้วิชามลายูศึกษาเพื่อเข้ามายึดครองภูมิภาคมลายู นอกจากมีการเรียนการสอนวิชามลายูศึกษาในมหาวิทยาลัยไลเด็นจนกระทั่งถึงปัจจุบัน วิชามลายูศึกษา ซึ่งมีการเรียนรู้เกี่ยวกับภาษามลายูอยู่ด้วย มีการขยายการเรียนการสอนไปทั่วโลก ซึ่งในที่นี้ขอกล่าวเฉพาะที่สำคัญๆคือ
วิชามลายูศึกษาในประเทศสหรัฐอเมริกา
มลายูศึกษาเริ่มขึ้นในสหรัฐในศตวรรษที่ 19 โดย Charles Scott ได้เขียนบทความเรื่อง The Malayan Words in English ในวารสารที่ชื่อ Journal of The American Oriental Society (1896-1897) โดย Charles Scott กล่าวว่ามีคำภาษามลายูไม่น้อยกว่า 150 คำที่ในภาษาอังกฤษ มีคำภาษามลายูในภาษาอังกฤษหลายคำที่ใช้อยู่ เช่น Rambutan (แรมบิวตัน) – ลูกเงาะ Rattan (รอตแตน) – หวาย Paddy (แฟดดี้) – ข้าวเปลือก
ชาวสหรัฐคนแรกที่เรียนภาษามลายูคือ นาย David Woodard ด้วยเขาถูกจับกุมที่เกาะสุลาเวซีในปี 1793 คำศัพท์ที่เขาจดบันทึกไว้ได้มีการพิมพ์ที่กรุงลอนดอนในปี 1805 ภายหลังปี 1945 ด้วยความช่วยเหลือของนาย Amat Haji Amir (เกิดที่มาเลเซีย), นาย Amat Awal และนาย Isidore Dyen ถือเป็นยุคใหม่ของการเรียนรู้เกี่ยวกับมลายูศึกษา มีการขยายการเรียนเกี่ยวกับมลายูศึกษาในมหาวิทยาลัยต่างๆในสหรัฐ ซึ่งภาษามลายูเป็นส่วนหนึ่งของมลายูศึกษาด้วย โดยมลายูศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของสาขาวิชาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มหาวิทยาลัยเหล่านั้นมีจำนวน 11 แห่ง เช่น
Arizona State University
University of Calfornia (Berkeley)
Cornell University University of Hawaii
University of Michigan **
University of Northern Illinois
Ohio University University of Oregon
University of Washingon
University of Wisconsin
University of Yale
** ศ.ดร. นิธิ เอียวศรีวงศ์ แห่งมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน อดีตศาสตราจารย์วิชาประวัติศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ก็จบสาขาด้านตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา (หรือจะเรียกว่าเป็นสาขาวิชาที่ว่าด้วยมลายูศึกษาก็คงไม่ผิด) จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน(University of Michigan) โดยท่านทำวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับประวัติศาสตร์อินโดเนเซีย จนถึงปัจจุบันท่านเองก็ส่งเสริมในมีการเรียนรู้เกี่ยวกับมลายูศึกษา ท่านเคยเสนอให้วิชามลายูศึกษาในประเทศไทยมีการขยายยกฐานะเป็น “สถาบันมลายูศึกษา” เพื่อนำองค์ความรู้เกี่ยวกับมลายูศึกษามาแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งประชากรส่วนใหญ่ของจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นคนมลายู และมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนของท่านก็มีการบรรยายเกี่ยวกับมลายูศึกษา โดยมีการเผยแพร่ทั้งในรูปแบบของหนังสือ, นิตยสาร, การบรรยายนอกสถานที่ รวมทั้งนำเข้าไปในเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน (www.midnightuniv.org).
มลายูศึกษาในประเทศออสเตรเลียและนิซีแลนด์
มีการจัดตั้งศูนย์ภาษามลายูขึ้นในประเทศออสเตรเลีย โดยรัฐบาลออสเตรเลียได้กำหนดให้มหาวิทยาลัย 3 แห่งมีการเรียนการสอนเกี่ยวกับมลายู/อินโดเนเซีย ในปี 1956 มหาวิทยาลัยดังกล่าวประกอบด้วย University of Sydney, University of Melbourne และ Canbera University College (ต่อมา Canbera University College ยกฐานะเป็น Australia National University) การเรียนการสอนเน้นภาษามลายูและวัฒนธรรมมลายู ต่อมาในปี 1964 Monash University และ University of Melbourne มีการจัดตั้งแผนกวิชามลายูศึกษา
สำหรับในประเทศนิวซีแลนด์ก็มีการเรียนการสอนเกี่ยวกับมลายูศึกษา ในมหาวิทยาลัยเวลลิงตัน มีการตั้ง Malay Studies Chair เพื่อการเรียนการสอนในประเทศนิวซีแลนด์
มลายูศึกษาในประเทศเนเธอร์แลนด์
มหวิทยาลัยไลเด็น(Leiden University) ประเทศเนเธอร์แลนด์ ตั้งขึ้นในปี 1575 เป็นแหล่งแรกที่กำเนิดของวิชามลายูศึกษา โดยเริ่มเกิดขึ้นในปี 1876 เน้นเกี่ยวกับภาษา วัฒนธรรม วรรณกรรมอินโดเนเซีย นอกจากนั้นยังมีการสอนเกี่ยวกับภาษาชวา ความรู้เกี่ยวกับชาติพันธุ์ในอินโดเนเซีย จนถึงปัจจุบันมหาวิทยาลัยเด็นแห่งนี้ก็ยังเปิดสอนระดับปริญญาโทด้านมลายูศึกษา แบ่งออกเป็นสาขาภาษาและวัฒนธรรมมลายู/อินโดเนเซีย ภาษาและวัฒนธรรมชวา นอกจากแผนกวิชาอินโดเนเซียศึกษาแล้ว ที่มหาวิทยาลัยไลเด็นยังมีอีกสถาบันที่เกี่ยวกับมลายู คือ Koninklik Koninklik Instituut voor Taal, Land, en Volkenkunde (Royal Institute of Linguistics and Anthropology) ซึ่งจัดตั้งในปี 1851 ถือเป็นแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับมลายูศึกษาที่ดีที่สุดในยุโรป
มลายูศึกษาในประเทศจีน
ในประเทศจีนนั้นได้มีการจัดตั้งศูนย์มลายูศึกษาขึ้นครั้งแรกเมื่อปี 1927 ที่มหาวิทยาลัยจีหนาน เมืองเซียงไห้ โดยเป็นส่วนหนึ่งของภาควิชาวัฒนธรรมโพ้นทะเล ในช่วงสงครามญี่ปุ่นนั้นทาง The South Sea Society ได้ย้ายศูนย์การทำงานออกจากสิงคโปร์ไปยังประเทศจีนในปี 1942 ถือได้ว่า The South Sea Society มีบทบาทสำคัญต่อจีนในเรื่องเกี่ยวกับภูมิภาคมลายู ในปี 1949 แผนกวิชามลายูได้เข้าเป็นส่วนหนึ่งของคณะภาษาตะวันออก มหาวิทยาลัยปักกิ่ง และเปลี่ยนชื่อเป็นแผนกวิชาภาษอินโดเนเซีย ซึ่งถือเป็นการเรียนเกี่ยวกับลายูศึกษาแรกที่เกิดขึ้น ภายหลังจากที่มีการจัดตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยเน้นการเรียนการสอนด้านภาษา วรรณกรรม วัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ของอินโดเนเซีย/มลายู ในปี 1988 มหาวิทยาลัยปักกิ่งได้จัดตั้งสถาบันวิจัยขึ้นมาชื่อว่า สถาบันวิจัยวัฒนธรรมอินโดเนเซีย/มลายู จนถึงปัจจุบันในประเทศจีนมีสถาบันที่มีการเรียนการสอนเกี่ยวกับมลายูศึกษาถึง 12 แห่ง ที่มีชื่อเสียงเช่น มหาวิทยาลัยปักกิ่ง, มหาวิทยาลัยเกียเหมิน, มหาวิทยาลัยจีหนาน, สถาบันวิจัยเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยูหนาน, สถาบันวิจัยเอเชีย-แปซิฟิก ปักกิ่ง และอื่นๆ
มลายูศึกษาในประเทศอิตาลี
สำหรับประเทศอิตาลีนั้น ความรู้เกี่ยวกับมลายูศึกษาได้รับความสนใจมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 โดยนาย Antonio Pigafetta เป็นชาวอิตาลีที่เดินทางมายังภูมิภาคมลายูพร้อมกับนักเดินเรือชาวโปร์ตุเกสที่มีกัปตันเรือชื่อนาย Fernao de Magalhaes การเรียนการสอนในประเทศอิตาลีนั้น มีการจัดตั้งแผนกวิชามลายูศึกษาขึ้นครั้งแรกในปี 1964 โดยนักบูรพาคดีที่ชื่อว่า Prof. Allesandro Bausani ในสถาบันที่ชื่อว่า Instituto Universitario Orientale ที่เมืองนาโปลี ประเทศอิตาลี สถาบันแห่งนี้เป็นสถาบันที่สอนเกี่ยวกับภาษาต่างประเทศ สำหรับแผนกมลายู/อินโดเนเซียที่สถาบันแห่งนี้ได้รับความสนใจจากคนรุ่นใหม่ที่ต้องการเรียนรู้เกี่ยวกับภูมิภาคมลายู
มลายูศึกษาในประเทศเยอรมัน
ในประเทศเยอรมันนั้น วิชามลายูศึกษามีการเรียนการสอนบางแห่ง ดำเนินการโดยมหาวิทยาลัย แต่ส่วนหนึ่งดำเนินการโดยพิพิธภัณฑ์สถาน มีการจัดตั้งแผนกวิชามลายูศึกษาขึ้นครั้งแรกที่มหาวิทยาลัยฮัมเบิร์ก (Hamburge University) เรียกว่าแผนกวิชาภาษาอินโดเนเซียและภาษาโอซีเนีย (Indonesian Language and Oseania Languages) นอกจากนั้นในมหาวิทยาลัยบอนน์ (Bonn University) ก็มีการเรียนการสอนภาษาอินโดเนเซีย ส่วนในมหาวิทยาลัยปาซาว (Passau University) เริ่มมีการเรียนการสอนเกี่ยวกับมลายูศึกษาในต้นทศวรรษที่ 1980
การเรียนการสอนเกี่ยวกับมลายูศึกษาในปัจจุบันดำเนินการในคณะมนุษยศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยโคโลน และที่คณะสังคมวิทยา มหาวิทยาลัยบีเลฟิลด์ (Bielefeld University) ในมหาวิทยาลัยโคโลนมีสถาบันที่ชื่อว่า Institut fur Volkerkunde ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับชุมชนชาวเลเผ่าโอรักลาโวย ชาวเลเผ่ามอแกน และชุมชนชาวมลายู รวมทั้งชุมชนอื่นๆในภูมิภาคมลายู ส่วนมหาวิทยาลัยบีเลฟิลด์นั้น ประมาณปี 2543 ทางคณะสังคมวิทยาของมหาวิทยาลัยดังกล่าวได้ประสานงานกับแผนกวิชาสังคมวิทยา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี นำนักศึกษาปริญญาโทของมหาวิทยาลัยบีเลฟิลด์ลงภาคสนามในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จำนวน 12 คน โดยนักศึกษาดังกล่าวได้ลงทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับมลายูศึกษาในประเทศมาเลเซีย โดยใช้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เป็นฐานในการศึกษาวิจัยครั้งนั้น
มลายูศึกษาในประเทศฝรั่งเศส
ในประเทศฝรั่งเศสนั้นมีการจัดตั้งศูนย์ศึกษาภาษามลายูขึ้น โดยตั้งผู้อำนวยการศึกษาภาษามลายูในยุโรป ขึ้นในสถาบันที่ชื่อว่า Ecole des Languages Orientes เมื่อวันที่ 2 กันยายน ปี 1844 มีนาย Edmund Dulaurier เป็นผู้อำนวยการ โดยมีการแปลหนังสือภาษามลายูที่ชื่อว่า Kitab Pelayaran Abdullah ในปี 1850 และมีการผลิตพจนานุกรมภาษามลายู-ฝรั่งเศส แต่ไม่เสร็จสมบูรณ์
นอกจากนั้นสถาบันวิชาการที่ศึกษาเกี่ยวกับมลายูศึกษา เช่น สถาบันที่ชื่อว่า Ecole Francais d’Extreme Orient มีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับชนชาวจามในกลุ่มประเทศอินโดจีน, สถาบันที่ชื่อว่า Institut National des Languaes et civilizations orientales เป็นสถานที่ศึกษาเกี่ยวกับภาษาและวัฒนธรรมตะวันออก ตั้งอยู่ในกรุงปารีส โดยสถาบันนี้เริ่มสอนภาษามลายูในปี 1841 มีการจัดตั้งฝ่ายภาษามลายูขึ้นในมหาวิทยาลัย La Havre และมหาวิทยาลัย La Rochelle โดยในมหาวิทยาลัย La Rochelle มีการจัดตั้งสถาบันโลกมลายู หรือ Maison du Monde Malais มีชื่อเป็นภาษามลายูว่า Wisma Dunia Melayu มีผู้อำนวยการชื่อ Philippe Grange’ ซึ่งมีความชำนาญเกี่ยวกับชนชาวบาจาว ทั้งในประเทศมาเลเซีย, อินโดเนเซีย และฟิลิปปินส์
มีสถาบันการศึกษาที่สอนเกี่ยวกับภาษาและวัฒนธรรมมลายูอีกหลายแห่งในประเทศฝรั่งเศส เช่น Ecole des Hautes etudes en sciences sociales (ประวัติศาสตร์และมนุษยวิทยา) ของคณะสังคมวิทยาและมนุษยวิทยามหาวิทยาลัยปารีส และคณะมานุษยวิทยาของมหาวิทยาลัย Aix-en-Provence และมีสถาบันที่ทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับภูมิภาคมลายูที่มีชื่อเสียงคือ Centre national de la recherché scientifique, Musee Guimet, Musee d’Histoire naturelle Musee del Homeme โดยสถาบันนี้ผลิตวารสารที่เกี่ยวกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วย มีชื่อว่า Archipel ตั้งแต่ปี 1973
มลายูศึกษาในประเทศรุสเซีย
ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง เริ่มมีการเรียนการสอนเกี่ยวกับมลายูศึกษา โดยเริ่มการสอนเกี่ยวกับภาษามลายูที่สถาบันที่ชื่อว่า สถาบันตะวันออกกรุงมอสโก มีนาย L. Mervart เป็นผู้นำ และมีผู้ช่วยเป็นชาวอินโดเนเซียคือ นายMuso นาย Semaoen การเรียนการสอนภาษาและวัฒนธรรมมลายูในปัจจบันดำเนินการโดย สถาบันความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมอสโก ซึ่งสถาบันตะวันออกกรุงมอสโก เข้าเป็นส่วนหนึ่งสถาบันนี้ในปี 1954 และสถาบันภาษาตะวันออก ซึ่งปัจจุบันชื่อว่า สถาบันประเทศเอเชียและอัฟริกา อยู่ภายใต้มหาวิทยาลัยมอสโก นอกจากนั้นมีการเรียนการสอนในคณะตะวันออก(Faculty of Oriental) ของมหาวิทยาลัยเซนต์ปีเตอร์เบิร์ก (University of St.Petersburg)อีกด้วย กลุ่มนักวิชาการรุสเซียที่สนใจเกี่ยวกับภูมิภาคมลายูได้จัดตั้งสมาคมขึ้นมาเมื่อวันที่ 10 มกราคม 1990 เพื่อศึกษาวิจัยเกี่ยวกับภูมิภาคมลายู โดยสมาคมดังกล่าวมีชื่ว่า Nusantara Society มีประธานชื่อ Dr. Boris Parnickel ซึ่งเขาเสียชีวิตในปี 2007 ขณะมีอายุได้ 69 ปี ประธานคนใหม่ชื่อ Prof. Villen Sikorsky และ รองประธานชื่อ Prof. Dr. Alexander Ogloblin จากมหาวิทยาลัยเซนต์ปีเตอร์เบิร์ก
มลายูศึกษาในประเทศอังกฤษ
ประเทศอังกฤษถือเป็นอีกประเทศหนึ่งที่มีความสำคัญด้านมลายูศึกษา ด้วยประเทศเนเธอร์แลนด์ หรือ ฮอลันดานั้นเป็นเจ้าอาณานิคมอินโดเนเซีย ดังนั้นเอกสาร ข้อมูล วัตถุทางประวัติศาสตร์ สิ่งของสำคัญของอินโดเนเซีย ถูกนำไปเก็บรักษายังประเทศเนเธอร์แลนด์ ส่วนประเทศอังกฤษนั้นเป็นเจ้าอาณานิคมของมาเลเซีย ดังนั้นเอกสาร ข้อมูล วัตถุทางประวัติศาสตร์ สิ่งของสำคัญของประเทศมาเลเซีย บรูไน ปัตตานี ส่วนหนึ่งจึงถูกนำไปเก็บรักษาไว้ในประเทศอังกฤษ ดังนั้นเอกสาร ข้อมูล งานวิจัย งานที่เกี่ยวข้องกับมลายูศึกษาจึงถูกเก็บรักษาไว้ในประเทศทั้งสองเป็นจำนวนมาก นักวิชาการมหาวิทยาลัยมาลายาที่ชื่อ Prof. Dato’ Dr. Abu Hassan Mohd. Sham ผู้ทำศึกษาวิจัยเกี่ยวกับเอกสารมลายูศึกษาที่มหาวิทยาลัยไลเด็นเป็นเวลา 1 ปี ได้กล่าวว่ามีเอกสารจำนวนมากเก็บไว้ที่ประเทศเนเธอร์แลนด์
ชาวอังกฤษเริ่มศึกษาเกี่ยวกับมลายูศึกษาโดยเฉพาะเรื่องภาษามลายูมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 มีการผลิตพจนานุกรมภาษาอังกฤษ-ภาษามลายูตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 เช่น Spalding (1614), Bowrey (1701), Marden (1812), Wilkinson (1901) การศึกษาเกี่ยวกับมลายูศึกษาในประเทศอังกฤษนั้น แรกเริ่มเป็นเรื่องของปัจเจกบุคคลมากกว่าจะเป็นของสถาบันวิชาการ นักวิชาการที่ศึกษาเกี่ยวกับมลายูศึกษา เช่น Blagden, Clifford, Crawfurd, Stamford Raffles, Gimlette, Leyden, Logan, Marden, Maxwell, Newbold, Shellabear, William Skeat, Swettenham และWinstedt การศึกษาด้านมลายูศึกษาที่เริ่มเกี่ยวข้องกับสถาบันวิชาการนั้น เมื่อมีการจัดตั้งสถาบันที่ชื่อว่า School of Oriental and African Studies อยู่ภายใต้ University of London จึงมีการศึกษาด้านมลายูศึกษาภายใต้สถาบันดังกล่าว และเอกสาร ข้อมูล งานวิจัย งานที่เกี่ยวข้องกับมลายูศึกษาจำนวนหนึ่งถูกเก็บรักษาไว้ที่ School of Oriental and African Studies นอกจากสถาบันข้างต้นแล้ว ยังมีการเรียนการสอนเกี่ยวกับมลายูศึกษาที่มหาวิทยาลัยฮัลล์ (University of Hull) โดยสถาบัน School of Oriental and African Studies จะเน้นด้านสังคมวิทยา ส่วนมหาวิทยาลัยฮัลล์จะเน้นด้านมานุษยวิทยา
มลายูศึกษาในประเทศญี่ปุ่น
การเรียนการสอนภาษาและวัฒนธรรมมลายูเริ่มมีขึ้นนานแล้วในประเทศญี่ปุ่น กล่าวกันว่าภาษามลายูเริ่มมีการเรียนการสอนในประเทศญี่ปุ่นตั้งแต่ปี 1908 ที่ Tokyo University of Foreign Studies (TUFS) อย่างไรก็ตามนักวิชาการบางคน กล่าวว่าประเทศญี่ปุ่นมีการเรียนการสอนภาษามลายูตั้งแต่ปี 1925 ที่ Tenri University
คนญี่ปุ่นเป็นคนที่ผลิตและแปลหนังสือวรรณกรรมภาษามลายูจำนวนมาก ตามรายงานการวิจัยของ Yamaguchi Masao นักวิชาการจาก Setsunan University กล่าวว่าหนังสือที่เก่าแก่ที่สุดคือ พจนานุกรมภาษามลายู-ญี่ปุ่นในปี 1908และหนังสือการฝึกพูดภาษามลายูที่ได้รับการแปลเป็นภาษาญี่ปุ่นในปี1910 ภายในสงครามโลกครั้งที่สอง มีงานเขียนมากกว่า 100 เล่ม ทั้งที่เป็นหนังสือไวยกรณ์ หนังสืออ่านเล่น ตำราภาษา การฝึกพูด ภาษาศาสตร์ พจนานุกรม และอื่นๆ
ในปัจจุบันมีการเรียนการสอนวิชามลายู/อินโดเนเซียศึกษาในระดับปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยต่างๆ เช่น Tokyo University of Foreign Studies (TUFS), Tenri University, Osaka University of Foreign Studies (OUFS), Kyoto Sanyo University (KSU) และ Setsunan University (SU)
สำหรับระดับปริญญาโทนั้นมีการเปิดสอนในมหาวิทยาลัยต่างๆ เช่น TUFS, Tenri University dan OUFS
ส่วนการเรียนการสอนเกี่ยวกับภาษามลายูนั้นมีมหาวิทยาลัยที่เปิดสอน ประมาณ 20 แห่ง
มลายูศึกษาในประเทศเกาหลี
สำหรับประเทศเกาหลีมีการเรียนการสอนเกี่ยวกับภาษาและวัฒนธรรมมลายในหลายมหาวิทยาลัย เพราะประเทศเกาหลีก็จำเป็นต้องธุรกิจการค้ากับกลุ่มประเทศภูมิภาคมลายู ในประเทศเกาหลีได้มีการจัดตั้งสมาคมที่ศึกษาเกี่ยวกับภาษาและวัฒนธรรมมลายู มีชื่อว่า สมาคมเกาหลีเพื่อมลายูศึกษา (Korea Association of Malay Studies) มหาวิทยาลัยที่สอนเกี่ยวกับภาษาและวัฒนธรรมมลายูที่มีชื่อเสียง เช่น Hankuk University of Foreign Studies (HUFS), Pusan University of Foreign Studies(PUSF)
มลายูศึกษาในละตินอเมริกา
นอกจากประเทศที่กล่าวมาแล้วข้างต้น การเรียนการสอนเกี่ยวกับมลยูศึกษายังมีอีกในหลายประเทศ เช่น ประเทศอาร์เจนตินา ในภาควิชาบูรพาศึกษา (School of Oriental Studies)ของคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัย เดล ซัลวาดอร์ (Universidad Del Salvador) ภายใต้การนำของ ดร. อิสมาแอล ควีเลส (Dr. Ismail Quiles)
ตามที่ได้ทราบแล้วว่าวิชามลายูศึกษานั้นเป็นวิชาที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ วิชามลายูศึกษาแรกเริ่มนั้น เป็นการเรียนรู้ของชาติตะวันตกต่อชนชาวมลายู โดยใช้วิชามลายูศึกษาเพื่อเข้ามายึดครองภูมิภาคมลายู นอกจากมีการเรียนการสอนวิชามลายูศึกษาในมหาวิทยาลัยไลเด็นจนกระทั่งถึงปัจจุบัน วิชามลายูศึกษา ซึ่งมีการเรียนรู้เกี่ยวกับภาษามลายูอยู่ด้วย มีการขยายการเรียนการสอนไปทั่วโลก ซึ่งในที่นี้ขอกล่าวเฉพาะที่สำคัญๆคือ
วิชามลายูศึกษาในประเทศสหรัฐอเมริกา
มลายูศึกษาเริ่มขึ้นในสหรัฐในศตวรรษที่ 19 โดย Charles Scott ได้เขียนบทความเรื่อง The Malayan Words in English ในวารสารที่ชื่อ Journal of The American Oriental Society (1896-1897) โดย Charles Scott กล่าวว่ามีคำภาษามลายูไม่น้อยกว่า 150 คำที่ในภาษาอังกฤษ มีคำภาษามลายูในภาษาอังกฤษหลายคำที่ใช้อยู่ เช่น Rambutan (แรมบิวตัน) – ลูกเงาะ Rattan (รอตแตน) – หวาย Paddy (แฟดดี้) – ข้าวเปลือก
ชาวสหรัฐคนแรกที่เรียนภาษามลายูคือ นาย David Woodard ด้วยเขาถูกจับกุมที่เกาะสุลาเวซีในปี 1793 คำศัพท์ที่เขาจดบันทึกไว้ได้มีการพิมพ์ที่กรุงลอนดอนในปี 1805 ภายหลังปี 1945 ด้วยความช่วยเหลือของนาย Amat Haji Amir (เกิดที่มาเลเซีย), นาย Amat Awal และนาย Isidore Dyen ถือเป็นยุคใหม่ของการเรียนรู้เกี่ยวกับมลายูศึกษา มีการขยายการเรียนเกี่ยวกับมลายูศึกษาในมหาวิทยาลัยต่างๆในสหรัฐ ซึ่งภาษามลายูเป็นส่วนหนึ่งของมลายูศึกษาด้วย โดยมลายูศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของสาขาวิชาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มหาวิทยาลัยเหล่านั้นมีจำนวน 11 แห่ง เช่น
Arizona State University
University of Calfornia (Berkeley)
Cornell University University of Hawaii
University of Michigan **
University of Northern Illinois
Ohio University University of Oregon
University of Washingon
University of Wisconsin
University of Yale
** ศ.ดร. นิธิ เอียวศรีวงศ์ แห่งมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน อดีตศาสตราจารย์วิชาประวัติศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ก็จบสาขาด้านตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา (หรือจะเรียกว่าเป็นสาขาวิชาที่ว่าด้วยมลายูศึกษาก็คงไม่ผิด) จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน(University of Michigan) โดยท่านทำวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับประวัติศาสตร์อินโดเนเซีย จนถึงปัจจุบันท่านเองก็ส่งเสริมในมีการเรียนรู้เกี่ยวกับมลายูศึกษา ท่านเคยเสนอให้วิชามลายูศึกษาในประเทศไทยมีการขยายยกฐานะเป็น “สถาบันมลายูศึกษา” เพื่อนำองค์ความรู้เกี่ยวกับมลายูศึกษามาแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งประชากรส่วนใหญ่ของจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นคนมลายู และมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนของท่านก็มีการบรรยายเกี่ยวกับมลายูศึกษา โดยมีการเผยแพร่ทั้งในรูปแบบของหนังสือ, นิตยสาร, การบรรยายนอกสถานที่ รวมทั้งนำเข้าไปในเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน (www.midnightuniv.org).
มลายูศึกษาในประเทศออสเตรเลียและนิซีแลนด์
มีการจัดตั้งศูนย์ภาษามลายูขึ้นในประเทศออสเตรเลีย โดยรัฐบาลออสเตรเลียได้กำหนดให้มหาวิทยาลัย 3 แห่งมีการเรียนการสอนเกี่ยวกับมลายู/อินโดเนเซีย ในปี 1956 มหาวิทยาลัยดังกล่าวประกอบด้วย University of Sydney, University of Melbourne และ Canbera University College (ต่อมา Canbera University College ยกฐานะเป็น Australia National University) การเรียนการสอนเน้นภาษามลายูและวัฒนธรรมมลายู ต่อมาในปี 1964 Monash University และ University of Melbourne มีการจัดตั้งแผนกวิชามลายูศึกษา
สำหรับในประเทศนิวซีแลนด์ก็มีการเรียนการสอนเกี่ยวกับมลายูศึกษา ในมหาวิทยาลัยเวลลิงตัน มีการตั้ง Malay Studies Chair เพื่อการเรียนการสอนในประเทศนิวซีแลนด์
มลายูศึกษาในประเทศเนเธอร์แลนด์
มหวิทยาลัยไลเด็น(Leiden University) ประเทศเนเธอร์แลนด์ ตั้งขึ้นในปี 1575 เป็นแหล่งแรกที่กำเนิดของวิชามลายูศึกษา โดยเริ่มเกิดขึ้นในปี 1876 เน้นเกี่ยวกับภาษา วัฒนธรรม วรรณกรรมอินโดเนเซีย นอกจากนั้นยังมีการสอนเกี่ยวกับภาษาชวา ความรู้เกี่ยวกับชาติพันธุ์ในอินโดเนเซีย จนถึงปัจจุบันมหาวิทยาลัยเด็นแห่งนี้ก็ยังเปิดสอนระดับปริญญาโทด้านมลายูศึกษา แบ่งออกเป็นสาขาภาษาและวัฒนธรรมมลายู/อินโดเนเซีย ภาษาและวัฒนธรรมชวา นอกจากแผนกวิชาอินโดเนเซียศึกษาแล้ว ที่มหาวิทยาลัยไลเด็นยังมีอีกสถาบันที่เกี่ยวกับมลายู คือ Koninklik Koninklik Instituut voor Taal, Land, en Volkenkunde (Royal Institute of Linguistics and Anthropology) ซึ่งจัดตั้งในปี 1851 ถือเป็นแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับมลายูศึกษาที่ดีที่สุดในยุโรป
มลายูศึกษาในประเทศจีน
ในประเทศจีนนั้นได้มีการจัดตั้งศูนย์มลายูศึกษาขึ้นครั้งแรกเมื่อปี 1927 ที่มหาวิทยาลัยจีหนาน เมืองเซียงไห้ โดยเป็นส่วนหนึ่งของภาควิชาวัฒนธรรมโพ้นทะเล ในช่วงสงครามญี่ปุ่นนั้นทาง The South Sea Society ได้ย้ายศูนย์การทำงานออกจากสิงคโปร์ไปยังประเทศจีนในปี 1942 ถือได้ว่า The South Sea Society มีบทบาทสำคัญต่อจีนในเรื่องเกี่ยวกับภูมิภาคมลายู ในปี 1949 แผนกวิชามลายูได้เข้าเป็นส่วนหนึ่งของคณะภาษาตะวันออก มหาวิทยาลัยปักกิ่ง และเปลี่ยนชื่อเป็นแผนกวิชาภาษอินโดเนเซีย ซึ่งถือเป็นการเรียนเกี่ยวกับลายูศึกษาแรกที่เกิดขึ้น ภายหลังจากที่มีการจัดตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยเน้นการเรียนการสอนด้านภาษา วรรณกรรม วัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ของอินโดเนเซีย/มลายู ในปี 1988 มหาวิทยาลัยปักกิ่งได้จัดตั้งสถาบันวิจัยขึ้นมาชื่อว่า สถาบันวิจัยวัฒนธรรมอินโดเนเซีย/มลายู จนถึงปัจจุบันในประเทศจีนมีสถาบันที่มีการเรียนการสอนเกี่ยวกับมลายูศึกษาถึง 12 แห่ง ที่มีชื่อเสียงเช่น มหาวิทยาลัยปักกิ่ง, มหาวิทยาลัยเกียเหมิน, มหาวิทยาลัยจีหนาน, สถาบันวิจัยเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยูหนาน, สถาบันวิจัยเอเชีย-แปซิฟิก ปักกิ่ง และอื่นๆ
มลายูศึกษาในประเทศอิตาลี
สำหรับประเทศอิตาลีนั้น ความรู้เกี่ยวกับมลายูศึกษาได้รับความสนใจมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 โดยนาย Antonio Pigafetta เป็นชาวอิตาลีที่เดินทางมายังภูมิภาคมลายูพร้อมกับนักเดินเรือชาวโปร์ตุเกสที่มีกัปตันเรือชื่อนาย Fernao de Magalhaes การเรียนการสอนในประเทศอิตาลีนั้น มีการจัดตั้งแผนกวิชามลายูศึกษาขึ้นครั้งแรกในปี 1964 โดยนักบูรพาคดีที่ชื่อว่า Prof. Allesandro Bausani ในสถาบันที่ชื่อว่า Instituto Universitario Orientale ที่เมืองนาโปลี ประเทศอิตาลี สถาบันแห่งนี้เป็นสถาบันที่สอนเกี่ยวกับภาษาต่างประเทศ สำหรับแผนกมลายู/อินโดเนเซียที่สถาบันแห่งนี้ได้รับความสนใจจากคนรุ่นใหม่ที่ต้องการเรียนรู้เกี่ยวกับภูมิภาคมลายู
มลายูศึกษาในประเทศเยอรมัน
ในประเทศเยอรมันนั้น วิชามลายูศึกษามีการเรียนการสอนบางแห่ง ดำเนินการโดยมหาวิทยาลัย แต่ส่วนหนึ่งดำเนินการโดยพิพิธภัณฑ์สถาน มีการจัดตั้งแผนกวิชามลายูศึกษาขึ้นครั้งแรกที่มหาวิทยาลัยฮัมเบิร์ก (Hamburge University) เรียกว่าแผนกวิชาภาษาอินโดเนเซียและภาษาโอซีเนีย (Indonesian Language and Oseania Languages) นอกจากนั้นในมหาวิทยาลัยบอนน์ (Bonn University) ก็มีการเรียนการสอนภาษาอินโดเนเซีย ส่วนในมหาวิทยาลัยปาซาว (Passau University) เริ่มมีการเรียนการสอนเกี่ยวกับมลายูศึกษาในต้นทศวรรษที่ 1980
การเรียนการสอนเกี่ยวกับมลายูศึกษาในปัจจุบันดำเนินการในคณะมนุษยศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยโคโลน และที่คณะสังคมวิทยา มหาวิทยาลัยบีเลฟิลด์ (Bielefeld University) ในมหาวิทยาลัยโคโลนมีสถาบันที่ชื่อว่า Institut fur Volkerkunde ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับชุมชนชาวเลเผ่าโอรักลาโวย ชาวเลเผ่ามอแกน และชุมชนชาวมลายู รวมทั้งชุมชนอื่นๆในภูมิภาคมลายู ส่วนมหาวิทยาลัยบีเลฟิลด์นั้น ประมาณปี 2543 ทางคณะสังคมวิทยาของมหาวิทยาลัยดังกล่าวได้ประสานงานกับแผนกวิชาสังคมวิทยา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี นำนักศึกษาปริญญาโทของมหาวิทยาลัยบีเลฟิลด์ลงภาคสนามในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จำนวน 12 คน โดยนักศึกษาดังกล่าวได้ลงทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับมลายูศึกษาในประเทศมาเลเซีย โดยใช้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เป็นฐานในการศึกษาวิจัยครั้งนั้น
มลายูศึกษาในประเทศฝรั่งเศส
ในประเทศฝรั่งเศสนั้นมีการจัดตั้งศูนย์ศึกษาภาษามลายูขึ้น โดยตั้งผู้อำนวยการศึกษาภาษามลายูในยุโรป ขึ้นในสถาบันที่ชื่อว่า Ecole des Languages Orientes เมื่อวันที่ 2 กันยายน ปี 1844 มีนาย Edmund Dulaurier เป็นผู้อำนวยการ โดยมีการแปลหนังสือภาษามลายูที่ชื่อว่า Kitab Pelayaran Abdullah ในปี 1850 และมีการผลิตพจนานุกรมภาษามลายู-ฝรั่งเศส แต่ไม่เสร็จสมบูรณ์
นอกจากนั้นสถาบันวิชาการที่ศึกษาเกี่ยวกับมลายูศึกษา เช่น สถาบันที่ชื่อว่า Ecole Francais d’Extreme Orient มีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับชนชาวจามในกลุ่มประเทศอินโดจีน, สถาบันที่ชื่อว่า Institut National des Languaes et civilizations orientales เป็นสถานที่ศึกษาเกี่ยวกับภาษาและวัฒนธรรมตะวันออก ตั้งอยู่ในกรุงปารีส โดยสถาบันนี้เริ่มสอนภาษามลายูในปี 1841 มีการจัดตั้งฝ่ายภาษามลายูขึ้นในมหาวิทยาลัย La Havre และมหาวิทยาลัย La Rochelle โดยในมหาวิทยาลัย La Rochelle มีการจัดตั้งสถาบันโลกมลายู หรือ Maison du Monde Malais มีชื่อเป็นภาษามลายูว่า Wisma Dunia Melayu มีผู้อำนวยการชื่อ Philippe Grange’ ซึ่งมีความชำนาญเกี่ยวกับชนชาวบาจาว ทั้งในประเทศมาเลเซีย, อินโดเนเซีย และฟิลิปปินส์
มีสถาบันการศึกษาที่สอนเกี่ยวกับภาษาและวัฒนธรรมมลายูอีกหลายแห่งในประเทศฝรั่งเศส เช่น Ecole des Hautes etudes en sciences sociales (ประวัติศาสตร์และมนุษยวิทยา) ของคณะสังคมวิทยาและมนุษยวิทยามหาวิทยาลัยปารีส และคณะมานุษยวิทยาของมหาวิทยาลัย Aix-en-Provence และมีสถาบันที่ทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับภูมิภาคมลายูที่มีชื่อเสียงคือ Centre national de la recherché scientifique, Musee Guimet, Musee d’Histoire naturelle Musee del Homeme โดยสถาบันนี้ผลิตวารสารที่เกี่ยวกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วย มีชื่อว่า Archipel ตั้งแต่ปี 1973
มลายูศึกษาในประเทศรุสเซีย
ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง เริ่มมีการเรียนการสอนเกี่ยวกับมลายูศึกษา โดยเริ่มการสอนเกี่ยวกับภาษามลายูที่สถาบันที่ชื่อว่า สถาบันตะวันออกกรุงมอสโก มีนาย L. Mervart เป็นผู้นำ และมีผู้ช่วยเป็นชาวอินโดเนเซียคือ นายMuso นาย Semaoen การเรียนการสอนภาษาและวัฒนธรรมมลายูในปัจจบันดำเนินการโดย สถาบันความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมอสโก ซึ่งสถาบันตะวันออกกรุงมอสโก เข้าเป็นส่วนหนึ่งสถาบันนี้ในปี 1954 และสถาบันภาษาตะวันออก ซึ่งปัจจุบันชื่อว่า สถาบันประเทศเอเชียและอัฟริกา อยู่ภายใต้มหาวิทยาลัยมอสโก นอกจากนั้นมีการเรียนการสอนในคณะตะวันออก(Faculty of Oriental) ของมหาวิทยาลัยเซนต์ปีเตอร์เบิร์ก (University of St.Petersburg)อีกด้วย กลุ่มนักวิชาการรุสเซียที่สนใจเกี่ยวกับภูมิภาคมลายูได้จัดตั้งสมาคมขึ้นมาเมื่อวันที่ 10 มกราคม 1990 เพื่อศึกษาวิจัยเกี่ยวกับภูมิภาคมลายู โดยสมาคมดังกล่าวมีชื่ว่า Nusantara Society มีประธานชื่อ Dr. Boris Parnickel ซึ่งเขาเสียชีวิตในปี 2007 ขณะมีอายุได้ 69 ปี ประธานคนใหม่ชื่อ Prof. Villen Sikorsky และ รองประธานชื่อ Prof. Dr. Alexander Ogloblin จากมหาวิทยาลัยเซนต์ปีเตอร์เบิร์ก
มลายูศึกษาในประเทศอังกฤษ
ประเทศอังกฤษถือเป็นอีกประเทศหนึ่งที่มีความสำคัญด้านมลายูศึกษา ด้วยประเทศเนเธอร์แลนด์ หรือ ฮอลันดานั้นเป็นเจ้าอาณานิคมอินโดเนเซีย ดังนั้นเอกสาร ข้อมูล วัตถุทางประวัติศาสตร์ สิ่งของสำคัญของอินโดเนเซีย ถูกนำไปเก็บรักษายังประเทศเนเธอร์แลนด์ ส่วนประเทศอังกฤษนั้นเป็นเจ้าอาณานิคมของมาเลเซีย ดังนั้นเอกสาร ข้อมูล วัตถุทางประวัติศาสตร์ สิ่งของสำคัญของประเทศมาเลเซีย บรูไน ปัตตานี ส่วนหนึ่งจึงถูกนำไปเก็บรักษาไว้ในประเทศอังกฤษ ดังนั้นเอกสาร ข้อมูล งานวิจัย งานที่เกี่ยวข้องกับมลายูศึกษาจึงถูกเก็บรักษาไว้ในประเทศทั้งสองเป็นจำนวนมาก นักวิชาการมหาวิทยาลัยมาลายาที่ชื่อ Prof. Dato’ Dr. Abu Hassan Mohd. Sham ผู้ทำศึกษาวิจัยเกี่ยวกับเอกสารมลายูศึกษาที่มหาวิทยาลัยไลเด็นเป็นเวลา 1 ปี ได้กล่าวว่ามีเอกสารจำนวนมากเก็บไว้ที่ประเทศเนเธอร์แลนด์
ชาวอังกฤษเริ่มศึกษาเกี่ยวกับมลายูศึกษาโดยเฉพาะเรื่องภาษามลายูมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 มีการผลิตพจนานุกรมภาษาอังกฤษ-ภาษามลายูตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 เช่น Spalding (1614), Bowrey (1701), Marden (1812), Wilkinson (1901) การศึกษาเกี่ยวกับมลายูศึกษาในประเทศอังกฤษนั้น แรกเริ่มเป็นเรื่องของปัจเจกบุคคลมากกว่าจะเป็นของสถาบันวิชาการ นักวิชาการที่ศึกษาเกี่ยวกับมลายูศึกษา เช่น Blagden, Clifford, Crawfurd, Stamford Raffles, Gimlette, Leyden, Logan, Marden, Maxwell, Newbold, Shellabear, William Skeat, Swettenham และWinstedt การศึกษาด้านมลายูศึกษาที่เริ่มเกี่ยวข้องกับสถาบันวิชาการนั้น เมื่อมีการจัดตั้งสถาบันที่ชื่อว่า School of Oriental and African Studies อยู่ภายใต้ University of London จึงมีการศึกษาด้านมลายูศึกษาภายใต้สถาบันดังกล่าว และเอกสาร ข้อมูล งานวิจัย งานที่เกี่ยวข้องกับมลายูศึกษาจำนวนหนึ่งถูกเก็บรักษาไว้ที่ School of Oriental and African Studies นอกจากสถาบันข้างต้นแล้ว ยังมีการเรียนการสอนเกี่ยวกับมลายูศึกษาที่มหาวิทยาลัยฮัลล์ (University of Hull) โดยสถาบัน School of Oriental and African Studies จะเน้นด้านสังคมวิทยา ส่วนมหาวิทยาลัยฮัลล์จะเน้นด้านมานุษยวิทยา
มลายูศึกษาในประเทศญี่ปุ่น
การเรียนการสอนภาษาและวัฒนธรรมมลายูเริ่มมีขึ้นนานแล้วในประเทศญี่ปุ่น กล่าวกันว่าภาษามลายูเริ่มมีการเรียนการสอนในประเทศญี่ปุ่นตั้งแต่ปี 1908 ที่ Tokyo University of Foreign Studies (TUFS) อย่างไรก็ตามนักวิชาการบางคน กล่าวว่าประเทศญี่ปุ่นมีการเรียนการสอนภาษามลายูตั้งแต่ปี 1925 ที่ Tenri University
คนญี่ปุ่นเป็นคนที่ผลิตและแปลหนังสือวรรณกรรมภาษามลายูจำนวนมาก ตามรายงานการวิจัยของ Yamaguchi Masao นักวิชาการจาก Setsunan University กล่าวว่าหนังสือที่เก่าแก่ที่สุดคือ พจนานุกรมภาษามลายู-ญี่ปุ่นในปี 1908และหนังสือการฝึกพูดภาษามลายูที่ได้รับการแปลเป็นภาษาญี่ปุ่นในปี1910 ภายในสงครามโลกครั้งที่สอง มีงานเขียนมากกว่า 100 เล่ม ทั้งที่เป็นหนังสือไวยกรณ์ หนังสืออ่านเล่น ตำราภาษา การฝึกพูด ภาษาศาสตร์ พจนานุกรม และอื่นๆ
ในปัจจุบันมีการเรียนการสอนวิชามลายู/อินโดเนเซียศึกษาในระดับปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยต่างๆ เช่น Tokyo University of Foreign Studies (TUFS), Tenri University, Osaka University of Foreign Studies (OUFS), Kyoto Sanyo University (KSU) และ Setsunan University (SU)
สำหรับระดับปริญญาโทนั้นมีการเปิดสอนในมหาวิทยาลัยต่างๆ เช่น TUFS, Tenri University dan OUFS
ส่วนการเรียนการสอนเกี่ยวกับภาษามลายูนั้นมีมหาวิทยาลัยที่เปิดสอน ประมาณ 20 แห่ง
มลายูศึกษาในประเทศเกาหลี
สำหรับประเทศเกาหลีมีการเรียนการสอนเกี่ยวกับภาษาและวัฒนธรรมมลายในหลายมหาวิทยาลัย เพราะประเทศเกาหลีก็จำเป็นต้องธุรกิจการค้ากับกลุ่มประเทศภูมิภาคมลายู ในประเทศเกาหลีได้มีการจัดตั้งสมาคมที่ศึกษาเกี่ยวกับภาษาและวัฒนธรรมมลายู มีชื่อว่า สมาคมเกาหลีเพื่อมลายูศึกษา (Korea Association of Malay Studies) มหาวิทยาลัยที่สอนเกี่ยวกับภาษาและวัฒนธรรมมลายูที่มีชื่อเสียง เช่น Hankuk University of Foreign Studies (HUFS), Pusan University of Foreign Studies(PUSF)
มลายูศึกษาในละตินอเมริกา
นอกจากประเทศที่กล่าวมาแล้วข้างต้น การเรียนการสอนเกี่ยวกับมลยูศึกษายังมีอีกในหลายประเทศ เช่น ประเทศอาร์เจนตินา ในภาควิชาบูรพาศึกษา (School of Oriental Studies)ของคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัย เดล ซัลวาดอร์ (Universidad Del Salvador) ภายใต้การนำของ ดร. อิสมาแอล ควีเลส (Dr. Ismail Quiles)
ความรู้เบื้องต้นมลายูศึกษา
โดย นิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน
แผนกวิชามลายูศึกษาที่จัดตั้งขึ้นในภาควิชาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี อาจเป็นแผนกวิชาที่บิดเบี้ยวจากความเป็นจริงนั้นก็ด้วยก่อนการมีแผนกวิชามลายูศึกษา ทางภาควิชาภาษาตะวันออกได้มีแผนกวิชาภาษามลายูมาก่อนแล้ว เมื่อแผนกวิชามลายูศึกษาได้รับการจัดตั้ง ทางภาควิชาภาษาตะวันออกจึงแผนกวิชาที่ว่าด้วยเกี่ยวกับภาษามลายู 2 แผนกด้วยกัน คือ แผนกวิชาภาษามลายู และ แผนกวิชามลายูศึกษา แผนกวิชาภาษามลายูนั้นเป็นการศึกษาในเรื่องของภาษา ส่วนแผนกวิชามลายูศึกษาจะเป็นการศึกษาในเรื่องสังคมวัฒนธรรมมลายู (Malay Socio-Culture) สำหรับในประเทศมาเลเซียนั้น เช่น สถาบันอารยธรรมและโลกมลายู มหาวิทยาลัยแห่งชาติมาเลเซีย (Institut Alam dan Tamadun Melayu, Universiti Kebangsaan Malaysia) ซึ่งได้เปลี่ยนชื่อเมื่อปี 1993 จากชื่อเดิมว่าสถาบันภาษา, วรรณกรรมและวัฒนธรรมมลายู หรือ Institut Bahasa, kesusasteraan dan kebudayaan Melayu จะเห็นได้ว่าสถาบันดังกล่าวได้แบ่งวิชามลายูศึกษาออกเป็น 3 ส่วน นั้นคือ ภาษามลายู, วรรณกรรมมลายู และวัฒนธรรมมลายู ส่วนสถาบันมลายูศึกษา มาหวิทยาลัยมาลายา (Akademi Pengajian Melayu, Universiti Malaya) นั้นได้ แบ่งวิชามลายูศึกษาออกเป็น 4 ส่วน คือ ภาษามลายู, ภาษาศาสตร์มลายู, วรรณกรรมมลายู และ สังคมวัฒนธรรมมลายู
สำหรับภาควิชาภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เมื่อกล่าวถึงแผนกวิชาภาษามลายู ก็หมายถึงการศึกษาเกี่ยวกับภาษามลายู และ วรรณกรรมมลายู ส่วนแผนกวิชามลายูศึกษาก็จะหมายถึงการศึกษาเกี่ยวกับสังคม วัฒนธรรมมลายู ในปี 2551 ทั้งสองแผนกวิชาได้มีการรวมตัวกันเป็นแผนกวิชาภาษามลายูและมลายูศึกษา ถึงอย่างไรก็ตาม สิ่งเหล่านี้ก็ยังคงแตกต่างไปจากประเทศมาเลเซีย
ความสัมพันธ์ระหว่างมลายูศึกษา, อิสลามศึกษา และ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา
วิชามลายูศึกษาคือวิชาที่ว่าด้วยการศึกษาเกี่ยวกับภาษา วรรณกรรม ประวัติศาสตร์ การเมืองการปกครอง กฎหมาย เศรษฐกิจ สังคม ของชาติพันธุ์มลายูกว่า 340 ล้านคน ที่อาศัยกระจัดกระจายอยู่ทั้งในทวีปเอเชีย, ทวีปอัฟริกา, ทวีปอเมริกาใต้ และอื่นๆ เช่น ในประเทศมาเลเซีย, อินโดเนเซีย, บรูไน, สิงคโปร์, ตีมอร์เลสเต้, ฟิลิปปินส์, สุรีนาม, อัฟริกาใต้, ศรีลังกา, เกาะโคโคส และออสเตรเลียตะวันตก, มาดากัสการ์, ตะวันออกกลาง, ยุโรป และ สหรัฐ เป็นต้น วิชามลายูศึกษานั้นเป็นวิชาที่มีความสัมพันธ์กับวิชาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา และ วิชาอิสลามศึกษา จากวงกลมข้างต้นจะเห็นว่า วงกลมทั้งสาม ซึ่งประกอบด้วย วงกลมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา, วงกลมอิสลามศึกษา และ วงกลมมลายูศึกษา จะมีพื้นที่ทับซ้อนกัน พื้นที่ดังกล่าวถือเป็นพื้นที่ที่วิชาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา วิชาอิสลามศึกษา และวิชามลายูศึกษามีความสัมพันธ์ต่อกัน พื้นที่ที่ทับซ้อนกันนั้นส่วนใหญ่จะเป็นองค์ความรู้เกี่ยวกับศาสนาอิสลาม ด้วยชนชาวมลายูที่เป็นประชากรกลุ่มใหญ่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้นนับถือศาสนาอิสลาม
ความสัมพันธ์ของวิชามลายูศึกษา วิชาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา และวิชาอิสลามศึกษา
ความสัมพันธ์ของวิชามลายูศึกษากับวิชาอิสลามศึกษานั้น ก็ด้วยชนชาวมลายูส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม ดังนั้นการศึกษาค้นคว้า องค์ความรู้ของชนชาวมลายูในส่วนนี้ จึงจำเป็นต้องมีวิชาอิสลามศึกษาเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ส่วนที่การศึกษาค้นคว้าองค์ความรู้ของชนชาวมลายูที่ไม่เกี่ยวข้องกับวิชาอิสลามศึกษานั้น จะเป็นในส่วนของการศึกษาเกี่ยวกับชาวบาหลี ที่เกาะบาหลี อินโดเนเซีย ซึ่งนับถือศาสนาฮินดู ชาวชวาบางส่วน ชาวบาตัก และชนเผ่าอื่นๆที่บางส่วนไม่ได้นับถือศาสนาอิสลาม รวมทั้งการศึกษาที่เกี่ยวกับชาวมลายู-เมริน่า (Merina)ที่ประเทศมาดากัสการ์ ซึ่งนับถือศาสนาคริสต์
สำหรับความสัมพันธ์ของวิชามลายูศึกษากับวิชาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้น ด้วยชนชาวมลายูส่วนใหญ่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือที่วิชามลายูศึกษาเรียกว่าภูมิภาคมลายู (Nusantara) ดังนั้นการจะศึกษา ค้นคว้าองค์ความรู้ของชนชาวมลายูในส่วนนี้ จึงจำเป็นต้องสัมพันธ์กับวิชาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา ส่วนการศึกษาค้นคว้า องค์ความรู้ของชนชาวมลายูที่ไม่สัมพันธ์กับวิชาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษานั้น จะเป็นการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับชนชาวมลายูที่อยู่นอกภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นั้นคือ ชนชาวมลายูที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในประเทศศรีลังกา, มาดากัสการ์, อัฟริกา, สุรีนาม, ตะวันออกกลาง, ยุโรป และ สหรัฐอเมริกา
ความสัมพันธ์วิชามลายูศึกษากับวิชามานุษยวิทยาและสังคมวิทยา
วิชามลายูศึกษาเกิดขึ้นมานานแล้ว วิชามลายูศึกษาเริ่มมีขึ้นครั้งแรกในทวีปยุโรปที่มหาวิทยาลัยไลเด็น (Leiden University) ประเทศเนเธอร์แลนด์ เมื่อปี 1876 ต่อมาวิชามลายูศึกษาจึงได้แพร่หลายยังมหาวิทยาลัยต่างๆทั้งในทวีปยุโรปและสหรัฐ เรามาดูถึงความสัมพันธ์ของวิชามลายูศึกษากับวิชามนุษยวิทยาและสังคมวิทยา ในประเทศมาเลเซีย ซึ่งเป็นต้นแบบของแผนกวิชามลายูศึกษา ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี สำหรับภาควิชามลายูศึกษาได้รับการจัดตั้งขึ้นในมหาวิทยาลัยมาลายา (ขณะนั้นตั้งอยู่ที่สิงคโปร์) เมื่อปี 1953 เป็นผลจากการเสนอรายงานของ Carr-Saunders เมื่อมีการจัดตั้งวิทยาเขตของมหาวิทยาลัยมาลายาที่กัวลาลัมเปอร์ เมื่อปี 1959 ทางภาควิชามลายูศึกษากลายเป็นภาควิชาที่ใหญ่ที่สุดของคณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมาลายาในขณะนั้น
แรกเริ่มภาควิชามลายูศึกษาได้ทำการเปิดสอนในวิชาที่ค่อนข้างเสรี นั้นคือการนำความหลากหลายของวิชามารวมในวิชาเกี่ยวกับมลายูศึกษา ดังนั้นนักศึกษาวิชามลายูศึกษาจึงสามารถทำการวิจัย ค้นคว้าในระดับที่สูงขึ้น โดยใช้หลักวิชามานุษยวิทยาและสังคมวิทยา ต่อมากลางทศวรรษที่ 1960 ภาควิชามลายูศึกษาได้ปรับโครงสร้างใหม่ โดยแยกออกมาเป็น 3 แผนกวิชา คือ แผนกวิชาภาษาศาสตร์, แผนกวิชาวรรณกรรม และ แผนกวิชามนุษยวิทยาและสังคมวิทยา และหลังจากนั้นการพัฒนาการของภาควิชามลายูศึกษาจึงมีมากขึ้น
ในทศวรรษที่ 1960 ได้มีการเรียกร้องให้มีการผลิตบุคคลที่เรียกว่า “Manusia Perkasa” ขึ้นในประเทศมาเลเซีย Manusia Perkasa คือมนุษย์ที่สามารถต่อสู้กับความเป็นจริงของสังคมที่มีความหลากหลายรูปแบบ ความคิดนี้ นายตักดีร์ อาลีชาห์บานา (Takdir Alisjahbana) เป็นผู้จุดประกาย ขณะนั้นเขาเป็นศาสตราจารย์และสอนด้านปรัชญาสังคมที่มหาวิทยาลัยมาลายา เขาเป็นชาวอินโดเนเซีย ต่อมาภายหลังเขาได้ตั้งมหาวิทยาลัยเอกชนขึ้น ใช้ชื่อว่า “มหาวิทยาลัยแห่งชาติ – Universitas Nasional” มหาวิทยาลัยนี้ตั้งในกรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดเนเซีย ความคิดในการผลิต “Manusia Perkasa” นั้นมีอิทธิพลไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อมต่อนักศึกษาของเขา และมีนักวิชาการอื่นๆเข้ามามีส่วนร่วมในการเสวนาวิชาการในเรื่องการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงของสังคมในมุมมองของวิชามนุษยวิทยาและสังคมวิทยา นักวิชาการเหล่านั้น เช่น สัยยิด ฮุสเซ็น อัลอัตตัส (Syed Hussein Al-Attas), สัยยิด ฮุเซ็น อาลี (Syed Husin Ali), อิสกันดาร์ การีย์ (Iskandar Carey), อับดุลกาฮาร์ บาโดร์ (Abdul Kahar Bador) และม๊อคซานี อับดุลราฮิม (Mokhzani Abdul Rahim) กิจกรรมของพวกเขาทำให้แผนกวิชาสังคมวัฒนธรรมของภาควิชามลายูศึกษา มหาวิทยาลัยมาลายา มีชื่อเสียง และได้รับความสนใจจากนักศึกษาทั่วไป
สำหรับแผนกวิชามานุษยวิทยาและสังคมวิทยามลายูของภาควิชามลายูศึกษา มหาวิทยาลัยมาลายา นั้น รู้จักกันในนามของแผนกวิชาสังคมวัฒนธรรม (Socio-Culture Department) หรือในภาษามลายูเรียกว่า Jabatan Sosio-Budaya ทางแผนกวิชาสังคมวัฒนธรรมมลายูของภาควิชามลายูศึกษา มหาวิทยาลัยมาลายาถือเป็นผู้ก่อตั้งวิชามานุษยวิทยาและสังคมวิทยาในประเทศมาเสเซีย ภาควิชามานุษยวิทยาและสังคมวิทยาของมหาวิทยาลัยแห่งชาติมาเลเซีย (Universiti Kebangsaan Malaysia) ซึ่งจัดตั้งขึ้นในปี 1970 นั้นคณาจารย์ล้วนจบจากแผนกวิชาสังคมวัฒนธรรมมลายู ของมหาวิทยาลัยมาลายา ไม่เพียงเท่านั้น แม้แต่ภาควิชามานุษยวิทยาและสังคมวิทยาที่จัดตั้งขึ้นในมหาวิทยาลัยมาลายา เมื่อปี 1971-72 ส่วนใหญ่ของอาจารย์ก็จบจากแผนกวิชาสังคมวัฒนธรรมมลายูของมหาวิทยาลัยมาลายา ในชั้นต้นนั้นการเกิดขึ้นของภาควิชามนุษยวิทยาและสังคมวิทยามีการทับซ้อนกันในเรื่ององค์ความรู้ เพราะล้วนมีรากฐานมาจากชำนาญในเรื่องของสังคมมลายู
จากที่กล่าวมาแล้วข้างต้นจะเห็นถึงความสัมพันธ์ของวิชามลายูศึกษากับวิชามานุษยวิทยาและสังคมวิทยา วิชามลายูศึกษาต้องใช้หลักการวิจัยของวิชามานุษยวิทยาและสังคมวิทยา ในการวิจัย ค้นคว้าองค์ความรู้เกี่ยวกับสังคมมลายู ซึ่งอาจกล่าวอีกอย่างหนึ่งว่าวิชามลายูศึกษาเป็นวิชามานุษยวิทยาและสังคมที่ศึกษา วิจัย ค้นคว้า เกี่ยวกับสังคมมลายูก็คงจะได้
แผนกวิชามลายูศึกษาที่จัดตั้งขึ้นในภาควิชาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี อาจเป็นแผนกวิชาที่บิดเบี้ยวจากความเป็นจริงนั้นก็ด้วยก่อนการมีแผนกวิชามลายูศึกษา ทางภาควิชาภาษาตะวันออกได้มีแผนกวิชาภาษามลายูมาก่อนแล้ว เมื่อแผนกวิชามลายูศึกษาได้รับการจัดตั้ง ทางภาควิชาภาษาตะวันออกจึงแผนกวิชาที่ว่าด้วยเกี่ยวกับภาษามลายู 2 แผนกด้วยกัน คือ แผนกวิชาภาษามลายู และ แผนกวิชามลายูศึกษา แผนกวิชาภาษามลายูนั้นเป็นการศึกษาในเรื่องของภาษา ส่วนแผนกวิชามลายูศึกษาจะเป็นการศึกษาในเรื่องสังคมวัฒนธรรมมลายู (Malay Socio-Culture) สำหรับในประเทศมาเลเซียนั้น เช่น สถาบันอารยธรรมและโลกมลายู มหาวิทยาลัยแห่งชาติมาเลเซีย (Institut Alam dan Tamadun Melayu, Universiti Kebangsaan Malaysia) ซึ่งได้เปลี่ยนชื่อเมื่อปี 1993 จากชื่อเดิมว่าสถาบันภาษา, วรรณกรรมและวัฒนธรรมมลายู หรือ Institut Bahasa, kesusasteraan dan kebudayaan Melayu จะเห็นได้ว่าสถาบันดังกล่าวได้แบ่งวิชามลายูศึกษาออกเป็น 3 ส่วน นั้นคือ ภาษามลายู, วรรณกรรมมลายู และวัฒนธรรมมลายู ส่วนสถาบันมลายูศึกษา มาหวิทยาลัยมาลายา (Akademi Pengajian Melayu, Universiti Malaya) นั้นได้ แบ่งวิชามลายูศึกษาออกเป็น 4 ส่วน คือ ภาษามลายู, ภาษาศาสตร์มลายู, วรรณกรรมมลายู และ สังคมวัฒนธรรมมลายู
สำหรับภาควิชาภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เมื่อกล่าวถึงแผนกวิชาภาษามลายู ก็หมายถึงการศึกษาเกี่ยวกับภาษามลายู และ วรรณกรรมมลายู ส่วนแผนกวิชามลายูศึกษาก็จะหมายถึงการศึกษาเกี่ยวกับสังคม วัฒนธรรมมลายู ในปี 2551 ทั้งสองแผนกวิชาได้มีการรวมตัวกันเป็นแผนกวิชาภาษามลายูและมลายูศึกษา ถึงอย่างไรก็ตาม สิ่งเหล่านี้ก็ยังคงแตกต่างไปจากประเทศมาเลเซีย
ความสัมพันธ์ระหว่างมลายูศึกษา, อิสลามศึกษา และ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา
วิชามลายูศึกษาคือวิชาที่ว่าด้วยการศึกษาเกี่ยวกับภาษา วรรณกรรม ประวัติศาสตร์ การเมืองการปกครอง กฎหมาย เศรษฐกิจ สังคม ของชาติพันธุ์มลายูกว่า 340 ล้านคน ที่อาศัยกระจัดกระจายอยู่ทั้งในทวีปเอเชีย, ทวีปอัฟริกา, ทวีปอเมริกาใต้ และอื่นๆ เช่น ในประเทศมาเลเซีย, อินโดเนเซีย, บรูไน, สิงคโปร์, ตีมอร์เลสเต้, ฟิลิปปินส์, สุรีนาม, อัฟริกาใต้, ศรีลังกา, เกาะโคโคส และออสเตรเลียตะวันตก, มาดากัสการ์, ตะวันออกกลาง, ยุโรป และ สหรัฐ เป็นต้น วิชามลายูศึกษานั้นเป็นวิชาที่มีความสัมพันธ์กับวิชาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา และ วิชาอิสลามศึกษา จากวงกลมข้างต้นจะเห็นว่า วงกลมทั้งสาม ซึ่งประกอบด้วย วงกลมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา, วงกลมอิสลามศึกษา และ วงกลมมลายูศึกษา จะมีพื้นที่ทับซ้อนกัน พื้นที่ดังกล่าวถือเป็นพื้นที่ที่วิชาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา วิชาอิสลามศึกษา และวิชามลายูศึกษามีความสัมพันธ์ต่อกัน พื้นที่ที่ทับซ้อนกันนั้นส่วนใหญ่จะเป็นองค์ความรู้เกี่ยวกับศาสนาอิสลาม ด้วยชนชาวมลายูที่เป็นประชากรกลุ่มใหญ่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้นนับถือศาสนาอิสลาม
ความสัมพันธ์ของวิชามลายูศึกษา วิชาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา และวิชาอิสลามศึกษา
ความสัมพันธ์ของวิชามลายูศึกษากับวิชาอิสลามศึกษานั้น ก็ด้วยชนชาวมลายูส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม ดังนั้นการศึกษาค้นคว้า องค์ความรู้ของชนชาวมลายูในส่วนนี้ จึงจำเป็นต้องมีวิชาอิสลามศึกษาเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ส่วนที่การศึกษาค้นคว้าองค์ความรู้ของชนชาวมลายูที่ไม่เกี่ยวข้องกับวิชาอิสลามศึกษานั้น จะเป็นในส่วนของการศึกษาเกี่ยวกับชาวบาหลี ที่เกาะบาหลี อินโดเนเซีย ซึ่งนับถือศาสนาฮินดู ชาวชวาบางส่วน ชาวบาตัก และชนเผ่าอื่นๆที่บางส่วนไม่ได้นับถือศาสนาอิสลาม รวมทั้งการศึกษาที่เกี่ยวกับชาวมลายู-เมริน่า (Merina)ที่ประเทศมาดากัสการ์ ซึ่งนับถือศาสนาคริสต์
สำหรับความสัมพันธ์ของวิชามลายูศึกษากับวิชาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้น ด้วยชนชาวมลายูส่วนใหญ่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือที่วิชามลายูศึกษาเรียกว่าภูมิภาคมลายู (Nusantara) ดังนั้นการจะศึกษา ค้นคว้าองค์ความรู้ของชนชาวมลายูในส่วนนี้ จึงจำเป็นต้องสัมพันธ์กับวิชาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา ส่วนการศึกษาค้นคว้า องค์ความรู้ของชนชาวมลายูที่ไม่สัมพันธ์กับวิชาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษานั้น จะเป็นการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับชนชาวมลายูที่อยู่นอกภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นั้นคือ ชนชาวมลายูที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในประเทศศรีลังกา, มาดากัสการ์, อัฟริกา, สุรีนาม, ตะวันออกกลาง, ยุโรป และ สหรัฐอเมริกา
ความสัมพันธ์วิชามลายูศึกษากับวิชามานุษยวิทยาและสังคมวิทยา
วิชามลายูศึกษาเกิดขึ้นมานานแล้ว วิชามลายูศึกษาเริ่มมีขึ้นครั้งแรกในทวีปยุโรปที่มหาวิทยาลัยไลเด็น (Leiden University) ประเทศเนเธอร์แลนด์ เมื่อปี 1876 ต่อมาวิชามลายูศึกษาจึงได้แพร่หลายยังมหาวิทยาลัยต่างๆทั้งในทวีปยุโรปและสหรัฐ เรามาดูถึงความสัมพันธ์ของวิชามลายูศึกษากับวิชามนุษยวิทยาและสังคมวิทยา ในประเทศมาเลเซีย ซึ่งเป็นต้นแบบของแผนกวิชามลายูศึกษา ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี สำหรับภาควิชามลายูศึกษาได้รับการจัดตั้งขึ้นในมหาวิทยาลัยมาลายา (ขณะนั้นตั้งอยู่ที่สิงคโปร์) เมื่อปี 1953 เป็นผลจากการเสนอรายงานของ Carr-Saunders เมื่อมีการจัดตั้งวิทยาเขตของมหาวิทยาลัยมาลายาที่กัวลาลัมเปอร์ เมื่อปี 1959 ทางภาควิชามลายูศึกษากลายเป็นภาควิชาที่ใหญ่ที่สุดของคณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมาลายาในขณะนั้น
แรกเริ่มภาควิชามลายูศึกษาได้ทำการเปิดสอนในวิชาที่ค่อนข้างเสรี นั้นคือการนำความหลากหลายของวิชามารวมในวิชาเกี่ยวกับมลายูศึกษา ดังนั้นนักศึกษาวิชามลายูศึกษาจึงสามารถทำการวิจัย ค้นคว้าในระดับที่สูงขึ้น โดยใช้หลักวิชามานุษยวิทยาและสังคมวิทยา ต่อมากลางทศวรรษที่ 1960 ภาควิชามลายูศึกษาได้ปรับโครงสร้างใหม่ โดยแยกออกมาเป็น 3 แผนกวิชา คือ แผนกวิชาภาษาศาสตร์, แผนกวิชาวรรณกรรม และ แผนกวิชามนุษยวิทยาและสังคมวิทยา และหลังจากนั้นการพัฒนาการของภาควิชามลายูศึกษาจึงมีมากขึ้น
ในทศวรรษที่ 1960 ได้มีการเรียกร้องให้มีการผลิตบุคคลที่เรียกว่า “Manusia Perkasa” ขึ้นในประเทศมาเลเซีย Manusia Perkasa คือมนุษย์ที่สามารถต่อสู้กับความเป็นจริงของสังคมที่มีความหลากหลายรูปแบบ ความคิดนี้ นายตักดีร์ อาลีชาห์บานา (Takdir Alisjahbana) เป็นผู้จุดประกาย ขณะนั้นเขาเป็นศาสตราจารย์และสอนด้านปรัชญาสังคมที่มหาวิทยาลัยมาลายา เขาเป็นชาวอินโดเนเซีย ต่อมาภายหลังเขาได้ตั้งมหาวิทยาลัยเอกชนขึ้น ใช้ชื่อว่า “มหาวิทยาลัยแห่งชาติ – Universitas Nasional” มหาวิทยาลัยนี้ตั้งในกรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดเนเซีย ความคิดในการผลิต “Manusia Perkasa” นั้นมีอิทธิพลไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อมต่อนักศึกษาของเขา และมีนักวิชาการอื่นๆเข้ามามีส่วนร่วมในการเสวนาวิชาการในเรื่องการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงของสังคมในมุมมองของวิชามนุษยวิทยาและสังคมวิทยา นักวิชาการเหล่านั้น เช่น สัยยิด ฮุสเซ็น อัลอัตตัส (Syed Hussein Al-Attas), สัยยิด ฮุเซ็น อาลี (Syed Husin Ali), อิสกันดาร์ การีย์ (Iskandar Carey), อับดุลกาฮาร์ บาโดร์ (Abdul Kahar Bador) และม๊อคซานี อับดุลราฮิม (Mokhzani Abdul Rahim) กิจกรรมของพวกเขาทำให้แผนกวิชาสังคมวัฒนธรรมของภาควิชามลายูศึกษา มหาวิทยาลัยมาลายา มีชื่อเสียง และได้รับความสนใจจากนักศึกษาทั่วไป
สำหรับแผนกวิชามานุษยวิทยาและสังคมวิทยามลายูของภาควิชามลายูศึกษา มหาวิทยาลัยมาลายา นั้น รู้จักกันในนามของแผนกวิชาสังคมวัฒนธรรม (Socio-Culture Department) หรือในภาษามลายูเรียกว่า Jabatan Sosio-Budaya ทางแผนกวิชาสังคมวัฒนธรรมมลายูของภาควิชามลายูศึกษา มหาวิทยาลัยมาลายาถือเป็นผู้ก่อตั้งวิชามานุษยวิทยาและสังคมวิทยาในประเทศมาเสเซีย ภาควิชามานุษยวิทยาและสังคมวิทยาของมหาวิทยาลัยแห่งชาติมาเลเซีย (Universiti Kebangsaan Malaysia) ซึ่งจัดตั้งขึ้นในปี 1970 นั้นคณาจารย์ล้วนจบจากแผนกวิชาสังคมวัฒนธรรมมลายู ของมหาวิทยาลัยมาลายา ไม่เพียงเท่านั้น แม้แต่ภาควิชามานุษยวิทยาและสังคมวิทยาที่จัดตั้งขึ้นในมหาวิทยาลัยมาลายา เมื่อปี 1971-72 ส่วนใหญ่ของอาจารย์ก็จบจากแผนกวิชาสังคมวัฒนธรรมมลายูของมหาวิทยาลัยมาลายา ในชั้นต้นนั้นการเกิดขึ้นของภาควิชามนุษยวิทยาและสังคมวิทยามีการทับซ้อนกันในเรื่ององค์ความรู้ เพราะล้วนมีรากฐานมาจากชำนาญในเรื่องของสังคมมลายู
จากที่กล่าวมาแล้วข้างต้นจะเห็นถึงความสัมพันธ์ของวิชามลายูศึกษากับวิชามานุษยวิทยาและสังคมวิทยา วิชามลายูศึกษาต้องใช้หลักการวิจัยของวิชามานุษยวิทยาและสังคมวิทยา ในการวิจัย ค้นคว้าองค์ความรู้เกี่ยวกับสังคมมลายู ซึ่งอาจกล่าวอีกอย่างหนึ่งว่าวิชามลายูศึกษาเป็นวิชามานุษยวิทยาและสังคมที่ศึกษา วิจัย ค้นคว้า เกี่ยวกับสังคมมลายูก็คงจะได้
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)